จู่ๆ สัมภาษณ์งานให้เลือก "เพื่อนกับเจ้านาย" หนุ่มตอบตรงไม่ไว้หน้า แต่ได้คะแนนเต็มร้อย!

จู่ๆ สัมภาษณ์งานให้เลือก "เพื่อนกับเจ้านาย" หนุ่มตอบตรงไม่ไว้หน้า แต่ได้คะแนนเต็มร้อย!

จู่ๆ สัมภาษณ์งานให้เลือก "เพื่อนกับเจ้านาย" หนุ่มตอบตรงไม่ไว้หน้า แต่ได้คะแนนเต็มร้อย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำถามสัมภาษณ์งาน "เพื่อนกับเจ้านาย จะให้ใครยืมรถ?" เหมือนแค่เรื่องพื้นๆ แต่สาวขอไม่ประจบ ใช้เหตุผลตอบตรงสุดๆ ชนะคู่แข่งแบบสวยๆ

เว็บไซต์  SOHU ได้แบ่งปันกรณีสัมภาษณ์งานที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียในช่วงที่ผ่านมา เมื่อผู้สมัครต้องเผชิญกับคำถามที่ดูไร้สาระ แต่จริงๆ แล้วกลับมีความหมายที่ลึกซึ้งซ่อนอยู่

คำถามดังกล่าวมีอยู่ว่า "ถ้าเจ้านายของคุณ และเพื่อนร่วมชั้นของคุณ ขอยืมรถยนต์คันเดียวกันในวันเดียวกัน คุณจะให้ใครยืม?"

ผู้สมัครคนแรกตอบอย่างรวดเร็วว่า "ฉันจะเลือกให้เพื่อนที่คบกันมาตั้งแต่ในชั้นเรียน เพราะเป็นความสัมพันธ์อันดีที่ยาวนานหลายปีแล้ว"

ในขณะที่ผู้สมัครรายที่สองเลือกที่จะให้เจ้านายยืม  เนื่องจากคิดว่าหลังจากเริ่มทำงานแล้ว คนที่สามารถช่วยเหลือเขาได้มากที่สุดคือเจ้านาย ไม่ใช่เพื่อนร่วมชั้นอีกต่อไป

ผู้สมัครคนที่สามคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดว่า "เบื้องต้นผมคงเลือกที่จะไม่ให้ใครยืม รถยนต์ไม่ใช่สิ่งที่สามารถให้ยืมได้ง่ายๆ ถ้ายืมแล้วไม่มีปัญหาอะไรก็ดี แต่ถ้าเกิดอะไรขึ้น บุคคลที่จะได้รับผลกระทบก็คือผมที่เป็นเจ้าของรถ"

ผู้สมัครคนที่สี่เลือกที่จะไม่ให้ใครยืมเช่นกัน โดยเขาให้เหตุผลว่า "การให้เพื่อนร่วมชั้นยืม จะทำให้เจ้านายขุ่นเคืองและจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต แต่หากให้เจ้านายยืม มันจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ดังนั้นอย่าให้ใครยืมจะดีกว่า”

ส่วนผู้สมัครคนที่ห้าตอบว่า "มันขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ฉันจะเลือกให้คนที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับฉันมากกว่า"

ผู้สมัครคนที่ 6 ครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วตอบอย่างละเอียดว่า “สำหรับผมจะพิจารณาว่าใครขอยืมรถก่อน ถ้าผมสัญญาว่าจะให้เพื่อนยืมรถ แม้ว่าเจ้านายจะมาขอยืมรถก็ตาม ผมก็ต้องอธิบายสถานการณ์ให้เข้าใจ และถามเจ้านายว่ามีวิธีอื่นใดที่จะช่วยเขาแก้ปัญหาได้หรือไม่ แต่ถ้าเจ้านายเป็นฝ่ายขอยืมก่อน ผมก็จะให้เจ้านาย เพราะการรักษาสัญญานสำคัญมาก

อย่างไรก็ตาม หากเจ้านายมีปัญหากับผมเพียงเพราะเรื่องนี้ ก็พิสูจน์ได้ว่าเจ้านายคนนี้ไม่เหมาะกับการร่วมงานในระยะยาวผมจะมองหางานที่อื่น ในทำนองเดียวกัน ถ้าเพื่อนถอยห่างจากผมเพราะเรื่องนี้ แสดงว่าเพื่อนคนนี้ไม่เหมาะกับความสัมพันธ์ระยะยาว ผมก็เลือกที่จะอยู่ห่างๆ เช่นกัน”

หลังจากฟังคำตอบของผู้สมัครชายคนสุดท้ายแล้ว  ตัวแทนฝ่ายนายจ้างก็กล่าวชื่นชมเขาว่ามี EQ ที่สูง อีกทั้งยังมีมุมมองที่เป็นอิสระ รู้วิธีการรักษาสัญญา ไว้วางใจได้ จึงเชื่อว่าอาชีพการงานจะราบรื่นในอนาคต สุดท้ายจีงตัดสินใจประกาศทันทีว่าเขาคือผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมงาน เรียกว่าได้ความพึงพอใจและการยอมรับแบบ 100 คะแนนเต็ม

เนื่องจากในการคัดเลือกพนักงานเข้าร่วมองค์กร ไม่ได้มองเพียงคุณสมบัติและความสามารถทางวิชาชีพเท่านั้น เพราะสภาวะการทำงานที่ดีที่สุดของบุคคลคือ คิดเร็ว ไม่หลีกหนีปัญหา สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างอิสระ มีความฉลาดทางอารมณ์สูง รวมทั้งทำงานอย่างมีหลักการและมีศักดิ์ศรี

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook