รัฐบาลเตรียมประกาศแพ็กเกจแก้ปัญหาหนี้ 16 ส.ค

รัฐบาลเตรียมประกาศแพ็กเกจแก้ปัญหาหนี้ 16 ส.ค

รัฐบาลเตรียมประกาศแพ็กเกจแก้ปัญหาหนี้ 16 ส.ค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณ์เผยในวันที่ 16 ส.ค.นี้ รัฐบาลจะประกาศแผนการแก้ปัญหาหนี้ให้กับประชาชนเป็นแพ็คเกจรวม ครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อลดปัญหาหนี้และดูแลให้รายย่อยมีรายได้จากการประกอบอาชีพ

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังปาฐกถาพิเศษ "การส่งเสริมสนับสนุนสตรีให้มีส่วนร่วมในภาคเศรษฐกิจ" ว่า จากการสัมมนาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ช่วงที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในที่ประชุมว่า ในช่วงที่ยังเป็นรัฐบาลต้องเน้นแก้ปัญหาหนี้สินให้กับประชาชน และดูแลด้านรายได้เกษตรกร เช่น ผ่านโครงการประกันราคาสินค้าเกษตร ดังนั้น ในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ รัฐบาลจะประกาศแผนการแก้ปัญหาหนี้ให้กับประชาชนเป็นแพ็กเกจรวม ครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อลดภาระหนี้และดูแลให้รายย่อยมีรายได้จากการประกอบอาชีพ โดยแนวทางแก้ปัญหาจะดูแลทั้งหนี้เกษตรกร หนี้สินข้าราชการครู ภาระหนี้บัตรเครดิต หนี้นอกระบบของรายย่อยที่ยังไม่ได้รับการปล่อยสินเชื่อ

เพื่อให้ประชาชนที่ลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้รับการดูแลเข้าถึงระบบ การเงินได้ โดยมีเงื่อนไขต้องมีระเบียบวินัยในการชำระหนี้คืนสำหรับผู้ตั้งใจทำมาหากิน พร้อมทั้งเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ติดตามการทวงหนี้ที่เป็นธรรม เพื่อคุ้มครองลูกหนี้จากการติดตามลูกหนี้โหด และดูแลให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย นอกจากนี้สำนักงานกฤษฎีกาได้ส่งสัญญาในเบื้องต้นว่าคณะกรรมการ ธ.ก.ส.มีอำนาจในการตัดหนี้เหลือร้อยละ 50 จากวงเงินหนี้เดิมให้กับลูกหนี้เอ็นพีแอลที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา เกษตรกร เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวได้

และเพื่อให้มีหน่วยงานดูแลหนี้รายย่อยอย่างถาวรจึงต้องการให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน ตั้งเป็นบริษัทลูกหรือหน่วยงานเพิ่มเติมในการดูแลหนี้รายย่อย เช่น ธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน และพร้อมส่งเสริมผู้หญิงมีบทบาทในสถาบันการเงินหรือระบบการเงิน เหมือนกับกามีนแบงก์ของบังคลาเทศ ซึ่งให้แม่บ้านรวมตัวกันเป็นกลุ่มขอกู้เงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในครอบครัว เพราะเห็นว่าเพศหญิงมีระเบียบวินัยทางการเงินมากกว่าชาย นอกจากนี้ รัฐบาลยังเร่งผลักดันกฎหมายทางการเงินอีก 2 ฉบับ เสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจาณาให้ทันการประชุมสมัยนี้ คือ ร่าง พ.ร.บ.การออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา ได้รับคำตอบว่าอาจใช้เวลาอีก 1 เดือน จะนำเรื่องกลับเสนอ ครม.ได้ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีครั้งใหญ่จากทรัพย์สินจะต้องนำกลับมาเสนอ ครม.อีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook