สื่อเขมร ขอไทยหยุดค้านพระวิหารฟื้นมิตรภาพ!!!

สื่อเขมร ขอไทยหยุดค้านพระวิหารฟื้นมิตรภาพ!!!

สื่อเขมร ขอไทยหยุดค้านพระวิหารฟื้นมิตรภาพ!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ สำนักข่าว ดึม อัม ปืล สื่อที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลกัมพูชา รายงานระบุให้ไทยหยุดพูดเพื่อคัดค้าน แผนการจัดการเขาพระวิหาร พร้อมแนะแนวทางเพื่อฟื้นความสัมพันธ์อันดี ขณะที่นายกฯ อภิสิทธิ์ ยอมรับเจรจากัมพูชากรณีเขาพระวิหารเป็นเรื่องยาก

ตามรายงาน ระบุว่า ประเทศไทยยังมีทางเลือกสำหรับการเจรจาปัญหาชายแดนกับกัมพูชา หากไทย หยุดพูดถึงการคัดค้านแผนการจัดการเขาพระวิหารของกัมพูชา และหยุดอ้างว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนของประเทศไทย และหากไทยต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา ฝ่ายไทยควรจะมีการชักนำเพื่อแบ่งเขตแดนพื้นที่ใกล้กับปราสาทพระวิหาร โดยใช้ "บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก" หรือ MOU 2000 และ "สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเสศ 1904-1907" และยอมรับว่า "พระวิหารเป็นของกัมพูชา"

นอกจากนี้ การที่กัมพูชาไม่มีการจัดประชุมเพื่อแก้ปัญหาชายแดนกับประเทศไทย เพราะ...ไทยทำการต่อต้านแผนจัดการพระวิหารและไม่มีผู้แทนประเทศ หรือ เอกอัครราชทูต แต่แท้จริงแล้วกัมพูชาประสงค์จะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาชายแดน แต่อุปสรรค เกิดจากประเทศไทย เนื่องจากปัญหาชายแดน และ การคัดค้านแผนจัดการพระวิหาร

และการที่คณะบริหารในกรุงพนมเปญ ไม่ได้ให้สัญญาณตอบกลับ ต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย ที่วางแผนจะส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้แทนการเจรจา เพราะเจ้าหน้าที่ไทยบางคน พูดจาคัดค้านแผนจัดการเขาพระวิหาร รวมถึงปัญหาชายแดนมากเกินไป อีกทั้งจนถึงขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่มีการอนุมัติข้อตกลงปักปันเขตแดน
ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทยยังคงหวังว่าจะมีการเจรจาทวิภาคี

และเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับกัมพูชา ประเทศไทยควรปฏิบัติดังนี้

1. ไทยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาการแบ่งเขตแดน ที่ตกลงกับคณะกรรมการชายแดน รวมถึงเข้าร่วมกับคณะกรรมการชายแดนกัมพูชาเพื่อวางแผนการวางหลักปักปันเขตแดนตามความเป็นจริง
2. ไทยควรหยุดคัดค้านแผนจัดการพระวิหาร แต่ไทยต้องแสดงความประสงค์ดีในการจัดการปัญหาชายแดน โดยใช้ MOU 2000และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 1904-1907 พร้อมหยุดใช้แผนที่ที่วาดขึ้นเองจากเจ้าหน้าที่ทหารของฝ่ายไทย
3. ไทยควรหยุดใช้ปัญหาข้อพิพาทชายแดน เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
4. ไทยควรจะเชื่อว่า แผนจัดการเขาพระวิหาร อยู่ในดินแดนของกัมพูชาเท่านั้น
5. ไทยควรมีการส่งตัวเอกอัครราชทูตกลับมายังกัมพูชา โดยไม่ต้องรอจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งนั้นจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน และ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ขณะนี้อยู่ห่างไกลกับกัมพูชา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติใช้อธิปไตยของกัมพูชเป็นที่มั่น เพื่อต่อสู้กับอำนาจของประเทศอื่นๆ
6. ไทยควรจะมีการ ขอร้องจีนเพื่อช่วยเหลือในการเชื่อมความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชา
7. จดหมายจาก เจ้าสิสุวัฒน์ ธุมมิโก (Sisowath Thomico) ซึ่งขณะนี้ประทับยู่ ณ กรุงปักกิ่งนั้น เพียงพอสำหรับทำให้ไทยเข้าใจ
เกี่ยวกับปัญหาชายแดน

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่ สมเด็จฮุนเซน มีท่าทีไม่ประนีประนอม กรณีปราสาทเขาพระวิหารว่า เป็นเรื่องยาก เพราะความรู้สึกของประชาชน ทั้ง 2 ฝ่าย กังวลในสิทธิ ซึ่งเป็นธรรมดา ที่จะต้องรักษาสิทธิ์ของตนเอง รวมทั้งคงไม่ง่ายในสถานการณ์ขณะนี้ ขณะที่ต้องให้กัมพูชา ทราบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการผลักดันแผนการจัดการปราสาทเขาพระวิหาร ขณะเดียวกันย้ำว่าการที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล นั้น ไม่มีการทำข้อตกลงกันแต่อย่างใด ซึ่งยืนยันว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องกลัว

ส่วน กรณีที่คณะกรรมการมรดกโลก เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก อีกทีปีหน้า จึงทำให้ไทยมีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น และไม่ใช่เรื่องการเสียหน้า กรณีที่ไม่เลิก MOU ปี 2543 ตามที่มีข้อเรียกร้อง เพราะเห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงกรณีที่กลุ่มภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์กรณีเขาพระวิหาร นัดชุมนุมกันในวันที่ 7 ส.ค. นี้ว่า ไม่ควรมีกลุ่มใด ผูกขาดว่าถูกต้อง หรือปกป้องประเทศเพียงฝ่ายเดียว เพราะความเห็นที่แตกต่างกันนั้น สามารถหารือกันได้ ซึ่งขณะนี้มีหลายเวทีที่เปิดกว้าง สามารถให้แสดงคาวมคิดเห็น อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธไม่ทราบกรณีที่พรรคการเมืองใหม่ เคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook