พ่อไม่เข้าใจ ลูกคิดเลข 1.2+6.8=8 ทำไมตรวจว่า "ผิด" ครูเฉลยจุดเดียว ผิดจริงเถียงไม่ออก!

พ่อไม่เข้าใจ ลูกคิดเลข 1.2+6.8=8 ทำไมตรวจว่า "ผิด" ครูเฉลยจุดเดียว ผิดจริงเถียงไม่ออก!

พ่อไม่เข้าใจ ลูกคิดเลข 1.2+6.8=8 ทำไมตรวจว่า "ผิด" ครูเฉลยจุดเดียว ผิดจริงเถียงไม่ออก!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผิดตรงไหนครับครู?! พ่อถามครู ลูกคิดเลข 1.2+6.8=8 ทำไมตรวจว่า “ผิด” แต่ฟังเฉลยง่ายๆ เถียงไม่ออก เพราะผิดจริง!

คณิตศาสตร์ไม่เพียงทดสอบเรื่องการคำนวณเท่านั้น แต่บางครั้งก็ต้องใช้การคิดเชิงตรรกะด้วย มีหลายต่อหลายกรณีที่นักเรียนเขียนคำตอบมาผิดจนทำให้พลาดคะแนน หรือแม้แต่ผู้ปกครองก็ยังไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ ดังเช่นโจทย์คณิตศาสตร์เจ้าปัญหา 1.2+6.8=? ที่ทำให้คุณพ่อของเด็กประถมหัวจะปวด เมื่อพบว่า 8 คือคำตอบที่ผิด แล้วคำตอบของข้อนี้คืออะไร สุดท้ายถึงกับต้องสายตรงหาคุณครูเลยทีเดียว

ตามรายงานพบว่า พ่อชาวจีนคนหนึ่งได้โพสต์แชร์เรื่องราวลงใน Weibo บ่นว่าการบ้านของลูกชายในโรงเรียนประถมเริ่มซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากผลสอบครั้งล่าสุดออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นเขาจึงนำข้อสอบออกมาตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อดูว่าพลาดคะแนนในข้อใดไปบ้าง เพื่อดูว่าลูกขาดความรู้ความเข้าใจในส่วนไหน กระทั่งพบโจทย์ข้อหนึ่งที่ทำให้แม้แต่ตัวเขาเองยังงุนงง

คำถามข้อดังกล่าวคือ 1.2+6.8=? ซึ่งลูกชายของเขาคิดคำนวนและใส่คำตอบไปว่า 8 แต่คุณครูกลับใส่เครื่องหมายกากบาทว่า "ผิด" ทำให้พลาด 3 คะแนนในข้อดังกล่าวไป

เมื่อเกิดความสงสัยจึงตัดสินใจส่งข้อความเสียงไปสอบถามคุณครูทันที "คุณครูหมายถึงอะไร? นี่มันเกิดอะไรขึ้น?" เพียงไม่นานอีกฝ่ายก็อธิบายกลับมาว่า ถึงแม้ว่า 8 และ 8.0 จะมีค่าเท่ากัน แต่เนื่องจากคำถามข้อดังกล่าวทดสอบการบวกค่าด้วยจุดทศนิยม ดังนั้นจำเป็นต้องใส่จุดทศนิยมในคำตอบให้ชัดเจนด้วย ซึ่งคำตอบที่ถูกต้องของข้อนี้คือ 8.0

หลังจากฟังคำตอบของคุณครูแล้ว ผู้เป็นพ่อก็เข้าใจเหตุผลและพูดไม่ออกไปชั่วขณะ อย่างไรก็ดี เขายังคงเลือกที่จะแบ่งปันเรื่องราวนี้ลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งชาวเน็ตก็ได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกระตือรือร้น คนส่วนหนึ่งบอกว่า "ดูเหมือนว่าจะเป็นคำถามง่ายๆ ของโรงเรียนประถม..." , "ตามบทเรียนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนประถม หากเป็นโจทย์เรื่องจุดทศนิยม คำตอบก็ต้องเป็นจุดทศนิยมด้วย", "นี่คือจุดความรู้ที่สำคัญมาก เพราะบทเรียนนี้เกี่ยวกับจุดทศนิยม จึงต้องเก็บทศนิยมไว้”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook