ธารน้ำแข็งปีเตอร์มันน์ขั้วโลกกรีนแลนด์แตกตัว
พบแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ เป็น 4 เท่า ของเกาะแมนฮัตตัน แตกออกจาก 1 ใน 2 ธารน้ำแข็งหลัก ของ กรีนแลนด์ นับเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญ ในขั้วโลกเหนือ ในรอบเกือบ 50 ปี
มีรายงานว่า เกาะน้ำแข็ง ที่เพิ่งแตกออกจากธารน้ำแข็งปีเตอร์มันน์ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุด ที่ยัง เหลืออยู่ในกรีนแลนด์ เคลื่อนตัวเข้าในพื้นที่ ที่เรียกว่า แนร์ส สเตรท ซึ่งอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือ ระหว่างเกาะกรีนแลนด์กับ แคนาดา ประมาณ 1,000 กิโลเมตร แล้ว
อันเดรียส มูนเชาว์ ศาสตราจารย์ด้านสมุทรศาสตร์ และวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเดลาแวร์ เปิดเผยว่า แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ นี้ มีพื้นที่ 260 ตารางกิโลเมตร และมีความหนาเกือบเท่าครึ่งหนึ่งของความสูงตึกเอ็มไพร์ สเตท
ทั้งนี้ มูนเชาว์ ระบุว่า เป็นการยากที่จะสรุปว่า เหตุการณ์นี้ เกิดจากภาวะโลกร้อนหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับทะเลรอบธารน้ำแข็ง เพิ่งมีการบันทึกในปี 2003 เท่านั้น รวมถึงการไหลของน้ำทะเลใต้ธารน้ำแข็ง ก็อาจเป็นสาเหตุหลัก
ของการแตกตัวของแผ่นน้ำแข็งจากกรีนแลนด์ ก็ได้