ไม่อยาก "ท้องป่อง" นักโภชนาการเตือน 6 นิสัยการกิน "ดูดหลอด" ก็อยู่ในลิสต์!

ไม่อยาก "ท้องป่อง" นักโภชนาการเตือน 6 นิสัยการกิน "ดูดหลอด" ก็อยู่ในลิสต์!

ไม่อยาก "ท้องป่อง" นักโภชนาการเตือน 6 นิสัยการกิน "ดูดหลอด" ก็อยู่ในลิสต์!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ท้องป่อง" หลังกินมื้อใหญ่ นักโภชนาการเตือน 6 นิสัยการกิน “ดูดเหล้าด้วยหลอด” ก็อยู่ในลิสต์!

เทศกาลไหว้พระจันทร์เพิ่งผ่านไป ครอบครัวเชื้อสายจีนอาจจะมีการจัดรวมญาติ ร่วมทานอาหารมื้อใหญ่กับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง หลายคนคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ความรู้สึก “ท้องอืด” และแม้ว่าบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองจะผ่านไป แต่ความรู้สึกท้องอืดก็ยังคงอยู่…

ในเรื่องนี้เว็บไซต์ข่าว CTWANT ของไต้หวัน ได้แชร์ข้อมูลจากนักโภชนาการ ที่แบ่งปันผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก 好食課  แนะนำ 6 นิสัยการกินและพฤติกรรม ที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอาหารท้องอืด

6 อาหารและพฤติกรรม ที่ควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารที่มีโอลิโกแซ็กคาไรด์สูง เช่น มันเทศ ผักตระกูลกะหล่ำ (ได้แก่ บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี) หัวหอม ฯลฯ ล้วนเป็นอาหารที่มีโอลิโกแซ็กคาไรด์สูง ซึ่งย่อยได้ไม่ง่ายนัก และจะถูกแบคทีเรียในลำไส้นำไปใช้ การหมักนี้เองทำให้เกิดก๊าซ ซึ่งเป็นที่มาของอาการท้องอืด

2. อาหารที่มีฟรุคโตสสูง เช่น แอปเปิ้ล มะม่วง น้ำผึ้ง หรือเครื่องดื่มที่เติมฟรุคโตส ซึ่งการบริโภคที่อุดมไปด้วยฟรุกโตส ล้วนจะถูกแบคทีเรียในลำไส้ใช้ประโยชน์ จากการย่อยในทางเดินอาหารที่ไม่สมบูรณ์

3. อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูงมีแนวโน้มที่จะชะลอการขับถ่ายในกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารช้าลง และทำให้ท้องอืดในที่สุด

4. เครื่องดื่มอัดลม อย่างที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าการดื่มน้ำอัดลมเข้าไป แน่นอนว่าจะทำให้ท้องเต็มไปด้วยก๊าซ เพิ่มความรู้สึกแน่นท้องด้วย

5. ใช้หลอดดูดเครื่องดื่ม หลายคนเลือกที่จะซื้อเครื่องดื่มแบบมีฝาปิด จะได้จิบดื่มได้เรื่อยๆ ไม่ต้องทิ้งในครั้งเดียว และมักใช้หลอดดูดด้วย แต่ก่อนจะสูดเครื่องดื่มเข้าไป จะต้องสูดแก๊สเข้าไปก่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

6. การเคี้ยวหมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งก็เปรียบกรณีคล้ายการดื่มเครื่องดื่มผ่านหลอด เป็นเรื่องง่ายที่จะกลืนก๊าซส่วนเกินเข้าไปในกระเพาะเช่นกัน

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ไม่อยาก "ท้องป่อง" นักโภชนาการเตือน 6 นิสัยการกิน "ดูดหลอด" ก็อยู่ในลิสต์!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook