ไปสัมภาษณ์งาน จู่ๆ ถูกทดสอบ “น้ำแก้วไหนมียาพิษ?” หนุ่มโต้ตอบฉลาด ได้งานทันที!

ไปสัมภาษณ์งาน จู่ๆ ถูกทดสอบ “น้ำแก้วไหนมียาพิษ?” หนุ่มโต้ตอบฉลาด ได้งานทันที!

ไปสัมภาษณ์งาน จู่ๆ ถูกทดสอบ “น้ำแก้วไหนมียาพิษ?” หนุ่มโต้ตอบฉลาด ได้งานทันที!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 สัมภาษณ์งานรอบสุดท้าย จู่ๆ ถามให้เลือก “บนโต๊ะมีน้ำผลไม้สองแก้ว แก้วหนึ่งมียาพิษ อีกแก้วหนึ่งไม่มียาพิษ คุณจะเลือกดื่มแก้วไหน?” ชี้ชะตาใครได้งานไปครอง

การสัมภาษณ์งาน เป็นกระบวนการที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในขั้นตอนการสมัครงาน และด้วยการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดแรงงาน นายจ้างจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีคำถามที่ "ไม่เหมือนใคร" และอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสายงานเลยด้วยซ้ำ

การถามคำถามที่ดู "แปลก" ไปบ้างนั้น ไม่ใช่เพื่อสร้างปัญหาให้กับผู้สมัคร แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาผู้ที่ไม่เพียงแต่มีความเป็นเลิศในวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังต้องมี EQ สูงอีกด้วย เป็นการทดสอบความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมการทำงานได้อย่างยืดหยุ่น

โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่ทำงานร่วมกับลูกค้าเป็นประจำ ทักษะนี้ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ดังเช่นกรณีตัวอย่างที่ถูกแบ่งกันผ่านทางเว็บไซต์ SOHA หลังจากผ่านรอบความรู้ทางวิชาชีพมาแล้ว มีผู้สมัครจำนวนเพียง 3 คนเท่านั้น ที่ถูกคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้าย ซึ่งเป็นรอบทักษะการแก้ปัญหา

ทั้งสามคนถูกเชิญเข้าไปในห้องสัมภาษณ์พร้อมกัน และได้รับคำถามเดียวกันว่า “บนโต๊ะมีน้ำผลไม้สองแก้ว แก้วหนึ่งมียาพิษ อีกแก้วหนึ่งไม่มียาพิษ คุณจะเลือกดื่มแก้วไหน?”

ผู้สมัครคนแรกอาสาตอบก่อนว่า "เมื่อพิจารณาจากสีและกลิ่น คุณจะแยกแยะได้ว่าแก้วไหนมีพิษ และแก้วไหนไม่มีพิษ" เมื่อได้ยินดังนั้นตัวแทนฝ่ายนายจ้างจึงถามต่อว่า “ถ้ายาไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เราจะแยกแยะได้อย่างไร?”

ในระหว่างที่เขากำลังคิด ตัวแทนนายจ้างก็ฟังไปคำตอบจากผู้สมัครคนต่อไป ที่พูดว่า "เราสามารถไปที่ห้องทดลองได้โดยตรง เพื่อให้นักวิจัยช่วยแยกแยะความแตกต่างให้ได้" ซึ่งคำตอบนี้ก็ได้รับเพียงรอยยิ้มเท่านั้น

ในขณะที่ผู้สมัครคนสุดท้ายเลือกที่จะตอบว่าผมเลือกที่จะไม่ดื่ม การแยกแยะระหว่างน้ำสองแก้วต้องใช้ความพยายามและเสียเวลาอย่างมาก แทนที่จะหาวิธีสร้างความแตกต่าง ผมสามารถใช้เวลาและพลังงานของตัวเอง เพื่อหาเงินเพื่อซื้อน้ำเพิ่มสักแก้วดีกว่า เพราะเวลาคือเงิน"

หลังจากฟังคนสุดท้ายจบแล้ว ตัวแทนฝ่ายนายจ้างก็ระเบิดเสียงหัวเราะออกมา และพยักหน้าซ้ำๆ กับคำตอบที่น่าเชื่อถือและจริงใจ ด้วยคำตอบที่ชาญฉลาดอย่างยิ่งนี้ ผู้สมัครรายนี้จึงได้รับการติดต่อในวันรุ่งขึ้น เพื่อแจ้งให้เข้าเซ็นสัญญาเป็นพนักงานของทางบริษัท

จริงๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่มีคำตอบของผู้สมัครคนใดที่ผิดเลย แต่สิ่งสำคัญที่นายจ้างใช้เป็นตัววัดคือความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหา เพียงคำถามเดียวก็สามารถบอกได้ว่า ผู้สมัครคนไหนมีศักยภาพที่จะรับตำแหน่งนั้นไปครองครอง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook