นาซาแพร่ภาพกาแลกซี ชนกันอีกครั้ง

นาซาแพร่ภาพกาแลกซี ชนกันอีกครั้ง

นาซาแพร่ภาพกาแลกซี ชนกันอีกครั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อีกครั้งที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (National Aeronautics and Space Administration - NASA) ออกมาแพร่ภาพของกลุ่มดาวกาแลกซีที่กำลังจะชนกัน โดยกว่าจะได้ภาพนี้ทางทีมนักดาราศาสตร์ต้องอาศัย 3 ใน 4 เครื่องมือหลักที่อยู่ภายในหอดูดาวเอก (Great Observatories) ของพวกเขาร่วมกัน คือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์จันทรา (The Chandra X-ray Observatory) กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (The Hubble Space Telescope) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์(The Spitzer Space Telescope)
โดยกลุ่มดาวกาแลกซี ที่เรียกว่า แอนเทนนี (The Antennae galaxies) นี้ ตั้งอยู่ห่างจากโลกราว 62 ล้านปีแสง ด้วยรูปทรงของมันดูคล้ายแมลงที่มีหนวดโค้งจากการมองเห็นในภาพมุมกว้าง ซึ่งการรวมตัวของสองกาแล็กซีได้ให้กำเนิดดวงดาวใหม่ โดยภาพแสดงให้เห็นว่ามีกระจุกดาวเกิดใหม่จำนวนมาก และนักดาราศาสตร์ออกมาอธิบายว่า เมื่อกาแล็กซีรวมตัวกัน ดวงดาวจะไม่ชนกันเพราะพื้นที่ของกาแล็กซีมีที่ว่างเป็นอวกาศมาก แต่ก๊าซจะถูกกระแทกและอัดตัว จนเกิดการระเบิด หรือที่เรียกว่า 'Starburst'

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ ของ นาซาแพร่ภาพกาแลกซี ชนกันอีกครั้ง

กลุ่มดาวกาแลกซี แอนเทนนี ที่กำลังพัลวันกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook