กัมพูชา แถลงโต้ จม.ไทยถึง UN เป็นเรื่องโกหก
แถลงการณ์จากหน่วยข้อมูลข่าวสารและโต้ตอบเร็ว สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในวันนี้ (11 ส.ค.) เพื่อชี้แจงความสัมพันธ์ล่าสุดระหว่างไทยและกัมพูชา ต่อสาธารณชนทั้งใน และต่างประเทศ มีดังนี้
1. สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี แห่งประเทศกัมพูชา กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ออกมาพูดจามากเกินไป เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา พร้อมทั้งได้รุกรานและสร้างความขุ่นเคืองให้กับกัมพูชา ดังนั้น สมเด็จฮุน เซน จึงมีการแสดงการกระทำที่ชัดเจน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศกัมพูชาอย่างสุดกำลัง ตามบรรทัดฐานสากล และ ความเป็นจริง
2. นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ไม่มีลักษณะของความเป็นผู้นำรัฐบาล , สมาชิกอาเซียน และ สหประชาชาติ
- โดยมีการเข้าร่วมกับกลุ่มคนไทย ที่มีการประพฤติตัวเป็นปรปักษ์กับกัมพูชา กล่าวคือ เครือข่าย "คนไทยรักชาติ" และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (คนเสื้อเหลือง) แม้กระทั่งมีการรวมตัวกันภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งโจมตี และคุกคาม เพิกถอน MOU 2543 ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ ที่สัมพันธ์กับเอกสารสากล และ ใช้กำลังทหารรุกรานประเทศกัมพูชา
- มีการสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดขึ้นอีกครั้งกับกัมพูชา โดยการกล่าวผ่านสื่อว่า "ผลการตัดสินโดยศาลโลก เมื่อปี 1962 (2505) เพียงตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา แต่พื้นที่โดยรอบเป็นของประเทศไทย "
- มีการพลิกแพลงในการกระทำเพื่อประสบผลสำเร็จของ MOU 2543 โดยเฉาะอย่างยิ่ง ในการกำหนดเขตแดน ซึ่งมาจากการกระทำของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา JBC พร้อมทั้งมีความตั้งใจ ที่จะหยุดกระบวนการทำงานของ JBC
3. เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการคุกคามทางการทหารจากประเทศไทย สมเด็จ ฮุน เซน ได้ส่งจดหมายด่วน 2 ฉบับไปยัง ฯพณฯ วิตาลี ชูร์เกีย ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และ ฯพณฯ อาลี อับดุลซาลัม ประธานสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เพื่อการชี้แจงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติที่ประเทศไทย เป็นฝ่ายสร้างขึ้นในพื้นที่ชายแดนระหว่างไทย และกัมพูชา ใกล้กับปราสาทพระวิหาร
4. เพื่อตระหนักในความเป็นจริง ที่ต้องการก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของนานาชาติ โดย นายอภิสิทธิ์ ได้เบี่ยงเบนคำพูดเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สมเด็จ ฮุนเซน ด้วยการกล่าวว่า "เขา (สมเด็จ ฮุน เซน)ได้อ้างประโยคนั้นมาจากหนังสือพิมพ์ซึ่งไม่ใช่คำพูดของตน "
นอกจากนี้ หน่วยข้อมูลข่าวสารและโต้ตอบเร็ว ยังประสงค์ที่จะแจ้ง ต่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อกรุณารับทราบ ดังต่อไปนี้
1 ยังไม่มีคำพูดที่แน่นอน ว่าทำไม นายอภิสิทธิ์ ถึงยังไม่มีการเรียกร้องให้หนังสือพิมพ์ทำการแก้ไข และเปิดเผยขอ้มูลอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งนั้นมีความหมายโดยนัย ในความมั่นคงของชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2. แต่ละคำ และในทุกๆคำพูด โดยนายอภิสิทธิ์ เกี่ยวกับปัญหาปราสาทพระวิหาร , เส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ใกล้ปราสาทพระวิหาร , คำขู่ที่จะยกเลิก MOU 2543 และคำขู่ว่าจะใช้กำลังทางทหาร ที่นำเสนอผ่านสื่อทุกๆ สื่อในประเทศไทย เช่น ASTV , ATNN online และ the Nation ที่ได้นำเสนอต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 7 ส.ค. รวมไปถึงหนังสือพิมพ์ภาคภาษาไทยมติชน และ ไทยรัฐ ซึ่งตีพิมพ์ลงวันที่ 8 ส.ค. ได้ถูกบันทึกเอาไว้โดย หน่วยข้อมูลข่าวสารและโต้ตอบเร็วแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่เชื่อถือได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ต้องการจะรับรู้หรืออ่านสื่อต่างๆ เหล่านั้นหรือไม่ ทางหน่วยงานจะแสดง และ/หรือ จัดส่งไปให้ถึงเขา
3. โดยคำชี้แจงของนายอภิสิทธิ์เอง ได้แสดงให้เห็นถึงการขาดความน่าเชื่อถือทั้งหมดของสื่อไทย ขณะเดียวกัน หากการนำเสนอของสื่อไทยมีความถูกต้อง ก็จะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นจริง ว่านายอภิสิทธิ์เป็นคนโกหก หลอกลวงด้วยความช่ำชอง
4. นายอภิสิทธิ์มีการเล่นคำ ที่แฝงด้วยแผนการโดยมีจุดมุ่งหมายในการรุกรานอาณาเขตของกัมพูชา พื้นที่ใกล้กับปราสาทพระวิหาร จากการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ จากคำว่า "พื้นที่ทับซ้อน" หรือ "พื้นที่พิพาท" ให้กลายเป็น "อาณาเขตของไทย"
5. โดยคำชี้แจงของนายอภิสิทธิ์เอง ได้ยืนยันว่าประเทศไทยในช่วงระหว่างปี 1975-1979 (2518-2522) ได้กำหนดเส้นเขตแดนใหม่ หรือบริเวณ "พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร" ซึ่งรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของกัมพูชา โดยแผนที่ที่มีเงื่อนงำ , เขียนขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากลซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว ก็ไม่ต่างกับการกระทำของพรรคนาซี ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ และพรรคฟาสซิสต์ภายใต้การนำของมุสโซลินี เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในความต้องการเหยียบย่ำ และ ยึดครองดินแดนต่างชาติ
โดยสรุป โฆษกของหน่วยข้อมูลข่าวสารและโต้ตอบเร็ว สังกัดสำนักงานคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ขอย้ำอีกครั้งว่า รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กระทำสิ่งที่เป็นการมอมเมา และพยายามจูงใจให้สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ ยอมรับการใช้กำลังของประเทศไทยต่อประเทศกัมพูชา และเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด และความทุกข์ของผู้บริสุทธิ์ทั้งชาวไทยและกัมพูชา สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จึงได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติ และร้องขอให้มีการจัดประชุมระดับระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา แต่เขามีปัญญาและรู้ว่าประเทศไทย จะไม่ยอมรับข้อเรียกร้องดังกล่าว และยืนยันว่าจะใช้วิธีการในระดับทวิภาคี ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ยืนยันจะทำตามแผนการที่จะใช้กัมพูชาเป็นตัวประกันทางการเมือง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศไทย