ธุรกิจขายตรง กับ แชร์ลูกโซ่ ต่างกันยังไง? กูรูมาเฉลย อ่านแล้วกระจ่างเลย!

ธุรกิจขายตรง กับ แชร์ลูกโซ่ ต่างกันยังไง? กูรูมาเฉลย อ่านแล้วกระจ่างเลย!

ธุรกิจขายตรง กับ แชร์ลูกโซ่ ต่างกันยังไง? กูรูมาเฉลย อ่านแล้วกระจ่างเลย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมาคมการขายตรงไทย มาบอกเอง!  ความแตกต่างระหว่าง "ธุรกิจขายตรง" กับ "แชร์ลูกโซ่" คืออะไร อ่านแล้วกระจ่างมาก 

เฟซบุ๊ก สมาคมการขายตรงไทย - TDSA ได้โพสต์เผยแพร่ข้อมูลความแตกต่างระหว่าง "ธุรกิจขายตรง" กับ แชร์ลูกโซ่

โดยระบุว่า "ธุรกิจขายตรงที่ดี" สร้างความยั่งยืนให้กับนักขายและลูกค้า แต่ "แชร์ลูกโซ่" สร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภค

ทำความรู้จักธุรกิจขายตรงที่ดี เพื่อไม่พลาดตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่"

 

นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจขายตรงที่ถูกต้อง ดังนี้

1.ผู้ประกอบธุรกิจต้องจดทะเบียนก่อนการประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

2.ค่าธรรมเนียมในการสมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงต้องมีความเหมาะสม เงินค่าสมัครจ่ายเพื่อคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และสินค้าตัวอย่างเท่านั้น

3.มีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง โดยมีแผนธุรกิจที่เป็นไปได้จริง และคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาว

4.การจ่ายผลตอบแทน รายได้ และตำแหน่ง ให้แก่ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่ใช่การระดมทุนหรือใช้เงินซื้อตำแหน่ง โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นแผนธุรกิจในการจ่ายผลตอบแทนเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาและอนุมัติ

5.เน้นการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ ยอดขายมาจากการจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยตรอ ไม่ได้มาจากการกักตุนสินค้าของผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

6.มีการรับประกันความพอใจของสินค้า โดยลูกค้าสามารถคืนสินค้ากับบริษัทได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

7.มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง และผู้บริโภค

8.ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องไม่กล่าวอ้างหรือโฆษณาสรรพคุณของสินค้าเกินจริง

สมาคมการขายตรงไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายอิสระให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ยึดมั่นจรรยาบรรณ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค อันเป็นพันธกิจที่สมาคมฯ ยึดถือปฏิบัติมากว่า 4 ทศวรรษ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook