3, 5, 7, 9, 11 ... ทำไมช่องโทรทัศน์ยอดฮิตสมัยก่อนถึงไม่มี "เลขคู่" กันนะ?

3, 5, 7, 9, 11 ... ทำไมช่องโทรทัศน์ยอดฮิตสมัยก่อนถึงไม่มี "เลขคู่" กันนะ?

3, 5, 7, 9, 11 ... ทำไมช่องโทรทัศน์ยอดฮิตสมัยก่อนถึงไม่มี "เลขคู่" กันนะ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากย้อนกลับไปราว 4-5 ทศวรรษที่แล้ว เชื่อว่าคนที่ผ่านยุคสมัยนั้นมาคงจะจำกันได้ดีว่า ช่องโทรทัศน์ยอดนิยมในบ้านเราจะมี ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9 และ ช่อง 11 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น "เลขคี่" ทั้งสิ้น แล้วทำไมถึงไม่มีช่อง "เลขคู่" กันหนอ? เราไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับพื้นฐานเรื่องการรับสัญญาณโทรทัศน์ก่อน คือ การรับสัญญาณภาพคล้ายกับการรับสัญญาณเสียง แต่การรับสัญญาณภาพมีรายละเอียดมากกว่า ยกตัวอย่าง เช่น การรับสัญญาณวิทยุจากปีกอากาศมีสัญญาณเครื่องส่งที่ส่งไปสะท้อนกับตึกหรือภูเขาแล้วกลับมาเข้าเครื่องสัญญาณมี 3 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางที่ 1 จากเครื่องส่งตรงเข้าเครื่องรับ, เส้นทางที่ 2 และ 3 จากเครื่องส่งไปสะท้อนกับตึกและภูเขา แล้วค่อยเข้าไปยังเครื่องรับ

ทั้งนี้ จะเห็นว่าระยะทางของคลื่นสะท้อนมีระยะทางมากกว่า จึงทำให้เดินทางไปถึงเครื่องรับช้ากว่า สมมติว่าคลื่นตรงระยะทาง 20 กิโลเมตร และระยะทางคลื่นสะท้อนมีระยะทาง 25 กิโลเมตร การเดินทางของคลื่น 300,000 กิโลเมตร/วินาที ระยะทางที่เดินทางต่างกันน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของคลื่นที่เดินทาง แต่มนุษย์เราแยกไม่ออก เพราะเสียงที่สะท้อนและเข้ามาทีหลังมีสัญญาณที่คล้ายกัน

ขณะที่การรับสัญญาณภาพ หากมีคลื่นสะท้อนจะปรากฏเป็นภาพซ้อนขึ้น ซึ่งดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ดังนั้น การส่งและรับสัญญาณภาพจึงต้องจัดระบบและอุปกรณ์ในการรับสัญญาณที่มีทิศทางในการรับที่แน่นอน โดยต่อมาได้มีการพัฒนาระบบการรับของปีกอากาศในการรับในแบบทิศทางเดียว
ov0axpp42r4mpuinibf-oและเพื่อป้องกันความสับสนในการรับส่งช่องสัญญาณ ประเทศไทยจึงปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณใหม่จากส่งสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ผ่านความถี่ VHF แบ่งช่องสัญญาณออกมาเป็นช่องๆ คือ ช่อง 2 ความถี่ 47-54 MHz, ช่อง 3 ความถี่ 54-61 MHz ถึงช่อง 5 ความถี่ 174-181 MHz เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าช่องสัญญาณแต่ละความถี่แบ่งออกเป็นแต่ละช่อง ช่องโทรทัศน์ก็เลยเอาชื่อของช่องผ่านความถี่ VHF ตั้งชื่อช่องโทรทัศน์ 3-5-7-9-11 ปัญหาก็คือ เมื่อช่องต่างๆจะส่งสัญญาณในต่างจังหวัด ก็จะต้องมีการสลับช่องส่ง เช่น ช่อง 3 ในกรุงเทพฯ เมื่อออกต่างจังหวัดอาจต้องย้ายความถี่ไปส่งเป็นช่อง 6 หรือ ช่อง 7 ที่กรุงเทพฯ อาจจะต้องย้ายไปส่งช่อง 12 ในต่างจังหวัด จึงเกิดความสับสนว่าทำไมจูนความถี่ 224 MHz เป็นช่อง 12 แต่มีโลโก้ของช่อง 7 ออกมา เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดแล้ว เพราะโทรทัศน์ทุกวันนี้เป็นระบบ Auto-Tune ค้นหาช่องเอง และเรียงช่องให้อัตโนมัติ ถึงเวลาก็เปลี่ยนช่อง ไม่ต้องไปสนใจว่าความถี่อะไรเป็นช่องอะไรนั่นเอง แต่หลายสถานีก็ยังยึดเลขช่องที่กลายเป็นภาพจำของคนไทยมาตลอดใช้แทนเป็นชื่อองค์กรอยู่ และสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยออกอากาศหลากหลายรูปแบบ มีทั้งโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก, ระบบดิจิทัล, โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม, โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล และโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook