ด่วน! ตำรวจคอนเฟิร์มแล้ว จ่อออกหมายจับ บรรดา "บอสใหญ่" ดิ ไอคอน กรุ๊ป ใน 48 ชม.

ด่วน! ตำรวจคอนเฟิร์มแล้ว จ่อออกหมายจับ บรรดา "บอสใหญ่" ดิ ไอคอน กรุ๊ป ใน 48 ชม.

ด่วน! ตำรวจคอนเฟิร์มแล้ว จ่อออกหมายจับ บรรดา "บอสใหญ่" ดิ ไอคอน กรุ๊ป ใน 48 ชม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พ.ต.อ.อุเทน นุ้ยพิน รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์ หลังจากที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดปฏิบัติการร่วมกันเข้าตรวจค้น โกดังของ the icon group ซึ่งการตรวจค้น เป็นอำนาจของเจ้าพนักงาน สคบ. เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่มีเพียง 15 รายการ แต่กลับพบว่ามีรายได้ของบริษัท บางปีได้รายได้ไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท รวมถึงหาข้อมูลทางธุรกิจว่าได้รับอนุญาตจาก สคบ. เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ และค้นหาข้อมูลการทำธุรกิจทั้งหมด ว่ามีสต๊อกสินค้าให้ประชาชนนำไปขายหรือเป็นการหลอกอ้างว่ามีผลิตภัณฑ์แล้วให้มาลงทุนกันแน่

วันนี้ ได้ส่งสมุดบัญชีธนาคาร จำนวนกว่า 120 บัญชี ให้ ปปง. ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่ง จะเป็นบัญชีตั้งแต่กลุ่มลูกข่ายดาวน์ไลน์  ดารานักแสดง และผู้บริหาร ไปตรวจสอบ ว่ามีความเชื่อมโยงอย่างไรและเข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่

พ.ต.อ. อุเทน ระบุ ตอนนี้ตำรวจและหน่วยงานเกี่ยวข้องทำงานกันตลอด นับเป็นรายชั่วโมง เพื่อรวบรวมหลักฐาน และยืนยันภายใน 48 ชั่วโมงจะมีการออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน เมื่อถามต้องออกหมายเรียกก่อนหรือไม่ พ.ต.อ. อุเทน ระบุความผิดมีโทษเกิน 3 ปีสามารถออกหมายจับได้เลยทันทีและหมายจับที่ออกอาจจะเป็นกลุ่มผู้บริหารหรือดาราที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดย เข้าองค์ประกอบการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นความผิดในมูลฐานฟอกเงิน และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ส่วนทรัพย์สินของ กลุ่ม the icon group ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินขนาดใหญ่ เช่นอสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถยักย้าย หรือขายต่อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตำรวจสามารถยึดอายัดมา เฉลี่ยทรัพย์คืนให้ผู้เสียหายได้ ซึ่งขั้นตอนการเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ผู้เสียหายต้องดูขั้นตอนของ ปปง.

พ.ต.อ. อุเทน ระบุเพิ่มว่า การขายตรงสินค้ามันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ขายตรง คือการนำสินค้าไปขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงอาจจะเป็นการเคาะหน้าบ้านหรือขายตามร้าน และอีกแบบคือ ขายตลาดตรง คือ การทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ใช่เป็นการเคาะประตู ซึ่งธุรกิจทั้ง 2 แบบสามารถทำให้ถูกกฎหมายตามข้อกำหนดของ สคบ.  แต่ก็จะมีเส้นบางๆระหว่างธุรกิจคลาดตรงและแชร์ลูกโซ่ คือ ต้องตรวจสอบว่าวิธีจำหน่ายสินค้าเป็นการโปรโมทหรือการระดมทุน ซึ่งเมื่อไหร่ที่มีการระดมทุนจะเข้าข่ายความผิดแชร์ลูกโซ่ หรือ พ.ร.ก. กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดตามมูลฐานการฟอกเงิน ส่วนที่มีการรวบรวมผู้เสียหายให้ได้ 200 คนขึ้นไปนั้น พ.ต.อ. อุเทน มองว่า เป็นการรวบรวมผู้เสียหายให้เข้าหลักเกณฑ์ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษรับเป็นคดีพิเศษ

ล่าสุด มีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ตั้งแต่เมื่อวานและวันนี้จำนวน 161 คนมูลค่าความเสียหายกว่า 62 ล้านบาท และคาดว่าจะมีผู้เสียหายเข้ามาแจ้งความเพิ่มเกิน 200 คนแน่นอนโดยสามารถเข้ามาแจ้งความได้ที่กองบังคับการปราบปรามได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่หยุดเสาร์-อาทิตย์ รวมถึงตำรวจก็ทำงานร่วมกันตลอดทั้ง บก.ปคบ สคบ. Dsi และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจากกระทรวงการคลัง และ ปปง.ในการทำคดีดังกล่าวโดยเฉพาะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook