เขมรโต้ข่าวนายกบอกตึงเครียดจากกัมพูชาล้ำ
กัมพูชา ออกแถลงการณ์ โต้นายกฯ บอก สถานการณ์ชายแดนตึงเครียด เพราะกัมพูชาล้ำเขตแดน - ละเมิด MOU ขู่ ไทยจำเหตุการณ์ปะเดือด ตุลา 51 - เมษา 52 ไว้
หน่วยข่าวสารและโตตอบเร็ว (PRU) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ เพื่อตอบโต้การเผยแพร่ข่าวของ INN NEWS ในวันที่ 15 สิงหาคม 2553 เกี่ยวกับ แถลงการของ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าปัญหาชายแดน ระหว่างไทยและกัมพูชา เกิดจากการละเมิด MOU 2553 โดยกัมพูชา มีการรุกล้ำเข้ามาในอาณาเขตดินแดนของประเทศไทย และการรายงานของ มติชน ออนไลน์ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2553 ที่มีการรายงานอ้างคำกล่าวของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กล่าวว่า รัฐบาลไทย ควรใช้ทั้งมาตรการทางการทูตและการทหาร เพื่อใช้ขับไล่ชาวกัมพูชา ออกจาากพื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหาร
โดยตามแถลงการณ์ อ้างว่า วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ พื้นที่หมู่บ้านตลาดใกล้ปราสาทพระวิหาร อยู่ภายใต้อำนาจบริหารของกัมพูชาและประชาชนชาวกัมพูชา ก็อาศัยมาก่อน MOU 2543 เสียอีก ขณะที่ การปรับปรุงพื้นที่ ทั้งถนนและสิ่งก่อสร้าง ทางตะวันตกของพระวิหาร รวมทั้ง ศูนย์ซื้อขายของสำนักท่องเที่ยวทางทิศเหนือ ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดหลักปฏิบัติ ในข้อ 5 ของ MOU ตามที่ ไทย กล่าวหาแต่อย่างใด และไม่ใช่ประชาชนชาวไทยฝ่ายเดียว ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาอย่างช้านาน ตามที่ไทยกล่าวอ้างอีกด้วย อีกทั้ง ข้อกล่าวหาจากไทยว่า มีความไม่ชอบมาพากลจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา เพียงฝ่ายเดียว ในวันที่ 7 กรกฎาคม ปี 2551 ที่ประเทศแคนาดา เป็นสาเหตุของความรุนแรงในพื้นที่ชายแดน ระหว่างกัมพูชาและไทย ความจริงก็คือ
1. ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา และประเทศไทย ได้รับการยอมรับอย่างจริงจังแล้ว ที่ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ จะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ตามคำตัดสินของศาลโลก (ICJ) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ปี 2505 นอกจากนี้ ทางกัมพูชา คิดว่าไทยคงจะทราบดีถึง ภายใต้ "อนุสัญญาคุ้มครอง มรดกโลก" (The World Heritage Convention) ที่ระบุให้ประเทศภาคีที่เป็นเจ้าของมรดกทางธรรมชาติ หรือ วัฒนธรรม มีสิทธิที่จะส่งมรดกนั้น เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แล้วไทยจะมิสิทธิ์อันใดในการกล่าวอ้างกับประชาคมโลกว่า เป็นของประเทศไทย
2.ความรุนแรงมากที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ปี 2551 ที่บริเวณ"ลานอินทรี" (Veal Entry) ใกลกับ วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระและเหตุการณ์ในเดือนเมษายน ปี 2552 ในพื้นที่ตลาดใกล้กับ บันไดทางขึ้นฝั่งเหนือของปราสาทพระวิหาร อันเนื่องมาจากการบุกรุกของกองกำลังทหารไทย และความพยายามที่จะครอบครองดินแดนของกัมพูชา ซึ่งได้รับบทเรียนอันแข็งกร้าวจากกัมพูชา จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิต แต่ดูเหมือนว่า นักการเมืองไทยโดยเฉพาะคนในรัฐบาลนายรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ จะไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทเรียนอันขมขื่นนั้นเลย แม้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่แสดงให้ประชาคมโลกรู้ว่า ประเทศไทย มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี ต่อกรณีประสาทพระวิหาร ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา
3. ความตั้งใจซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทย ต้องการเข้ามาเป็นเจ้าปราสาทพระวิหารร่วมกับกัมพูชา หรือ เข้าร่วมแผนการจัดการมรดกโลกกับกัมพูชา ซึ่งวัดในประเทศไทย ก็มีอยู่มากมาย และไทยกลับไม่ให้ความสนใจอันใด แต่กลับมาให้ความพยายามทั้งหมด รวมทั้ง แผนการอย่างเอาเป็นเอาตาย รวมถึง คุกคามทางการทหาร เพื่อให้สามารถถือครองพื้นที่ ที่ไทยเรียกว่า "พื้นที่ทับซ้อน" ต่อไปได้