หนุ่มอินฟลูฯ วัย 32 บ่นปวดหัวระหว่างไลฟ์ ผ่านไปไม่กี่วันดับสลด ลูก 4 คนกำพร้าพ่อ

หนุ่มอินฟลูฯ วัย 32 บ่นปวดหัวระหว่างไลฟ์ ผ่านไปไม่กี่วันดับสลด ลูก 4 คนกำพร้าพ่อ

หนุ่มอินฟลูฯ วัย 32 บ่นปวดหัวระหว่างไลฟ์ ผ่านไปไม่กี่วันดับสลด ลูก 4 คนกำพร้าพ่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อินฟลูฯ หนุ่มวัย 32 ผู้ติดตามเป็นล้าน บ่นปวดหัวระหว่างไลฟ์ ผ่านไปไม่กี่วันเสียชีวิตด้วยสาเหตุสุดช็อก ลูก 4 คนกำพร้าพ่อ

"ยูนนาน อาคุย" (Yunnan Akui) อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีผู้ติดตามกว่าล้านคน เสียชีวิตอย่างกะทันหันในวัย 32 ปี ระหว่างการไลฟ์สดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาบ่นว่าปวดหัวและรู้สึกเหมือนจะเป็นลม จากนั้นจึงหยุดการไลฟ์ทันที ล่าสุดวันนี้ (14 ตุลาคม) มีรายงานข่าวว่าอาคุยได้เสียชีวิตลงแล้ว

อาคุยมีลูก 4 คน โดยลูกคนเล็กเป็นแฝดอายุเพียง 5 เดือน ภรรยาวัย 26 ปีของเขา "ถัง ซานเหมย" (Tang Sanmei) อยู่ในสภาพเสียใจอย่างมาก โดยกล่าวว่า "ฉันจะทำยังไงกับลูก 4 คน"

ทีมของ "ยูนนาน อาคุย" ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ว่าสถานการณ์ของเขานั้นไม่ดี แต่ครอบครัวและทีมงานยังไม่ละทิ้งความหวัง อย่างไรก็ตาม อาคุยได้เสียชีวิตลงแล้วในวันที่ 14 ตุลาคม ผู้ติดตามหลายคนได้แสดงความเสียใจและส่งกำลังใจให้กับครอบครัวของเขา รวมถึงศิษย์ของเขา "มาสเตอร์เฟิงเอเค" (Master Feng AK) ที่ร้องไห้และกล่าวว่า "ทำไมคุณถึงจากไปอย่างโหดร้าย ทิ้งครอบครัวทั้งหมดไว้ข้างหลัง"

จากรายงาน อาคุยมีอาการปวดหัวและเวียนศีรษะขณะไลฟ์สดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม หลังจากเขาบ่นว่า "ผมไม่ไหวแล้ว ผมกำลังจะเป็นลม" การไลฟ์สดก็ถูกยุติลงอย่างเร่งด่วน และไม่นานนักก็มีข่าวว่าเขาประสบภาวะเลือดออกในสมองอย่างรุนแรงและต้องเข้ารับการผ่าตัดสมอง ซึ่งยังไม่มีรายงานสาเหตุของเลือดออกในสมองที่แน่ชัด

โรคเลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage)        

เป็นภาวะที่หลอดเลือดในสมองหรือหลอดเลือดระหว่างกระดูกและสมองแตกออก ทำให้เลือดไปสะสมและกดอัดเนื้อเยื่อสมอง ถือเป็นภาวะที่อันตรายและร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้อาการโรคเลือดออกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีเลือดออก ความรุนแรงและจำนวนเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบ อาการบ่งบอกมีดังนี้

  1. ปวดหัวรุนแรงขึ้นมาเฉียบพลัน
  2. มีอาการชัก โดยไม่เคยมีประวัติโรคลมชักมาก่อน
  3. คลื่นไส้หรืออาเจียนอย่างรุนแรง
  4. แขนหรือขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
  5. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สับสน เพ้อ ไม่ตอบสนอง มีการตื่นตัวน้อยลง เซื่องซึม
  6. สูญเสียการทรงตัวและการประสานงานกันของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
  7. ตาพร่ามัว การตอบสนองของรูม่านตาไม่เท่ากัน
  8. พูดสื่อสารไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด มีปัญหาในการเขียนหรืออ่านหนังสือ
  9. กลืนลำบาก ลิ้นรับรสชาติผิดแปลกไปจากปกติ
  10. เวียนศีรษะ
  11. ความดันโลหิตสูงขึ้น
  12. อาการปวดคล้ายเข็มทิ่มหรือชา
  13. การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กมีปัญหา เช่น มีอาการมือสั่น

สาเหตุของโรคเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองมีสาเหตุและปัจจัยการเกิดที่หลากหลาย สาเหตุหลักที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  1. ศีรษะได้รับบาดเจ็บ เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีลงไป ทั้งนี้อาจเป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน การพลัดตก อุบัติเหตุทางกีฬา และการถูกทำร้าย เป็นต้น
  2. ความดันโลหิตสูง ถือเป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอลงเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองตามมา
  3. หลอดเลือดโป่งพอง ผนังหลอดเลือดที่บวมและอ่อนแอลงจากภาวะนี้ สามารถแตกออกจนเกิดเลือดสะสมในสมอง และยังนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมองได้ด้วย
  4. มีหลอดเลือดสมองผิดปกติหรือโรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม (Arteriovenous Malformation) ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มหลอดเลือดในสมอง โดยเกิดความผิดปกติของรอยต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ และทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ง่าย มักมีตั้งแต่กำเนิดแต่อาจมาวินิจฉัยหรือพบในภายหลังเมื่อมีอาการผิดปกติ
  5. เส้นเลือดในสมองมีสารอะไมลอยด์สะสม เป็นความผิดปกติชนิดหนึ่งของผนังหลอดเลือด มีปัจจัยมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูง อาจเริ่มจากการมีเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ หลายจุด ก่อนจะกลายเป็นบริเวณที่มีเลือดออกขนาดใหญ่
  6. ภาวะเลือดออกผิดปกติ ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่จะส่งผลให้เลือดออกง่าย จนเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้
  7. โรคตับ ซึ่งเป็นโรคที่จะส่งผลให้เลือดออกมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อภาวะนี้ยิ่งขึ้น
  8. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด การมีเนื้องอกที่มีเลือดออกในสมอง การใช้สารเสพติดอย่างโคเคนที่สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook