บอสโปรดทราบ! "ลูกรัก" ในที่ทำงาน ต้นเหตุพนักงานหมดไฟ วิจัยชี้ "ผล" ร้ายแรงกว่าที่คิด

บอสโปรดทราบ! "ลูกรัก" ในที่ทำงาน ต้นเหตุพนักงานหมดไฟ วิจัยชี้ "ผล" ร้ายแรงกว่าที่คิด

บอสโปรดทราบ! "ลูกรัก" ในที่ทำงาน ต้นเหตุพนักงานหมดไฟ วิจัยชี้ "ผล" ร้ายแรงกว่าที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานวิจัยชี้ "ลูกรักในที่ทำงาน" มีอยู่จริง ทำให้พนักงานคนอื่นหมดไฟ ผลกระทบร้ายแรงกว่าที่คิด

ลูกรักหัวหน้า ในที่ทำงาน กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นปัญหาใต้พรม ไม่มีใครกล้าพูดถึงอย่างตรงไปตรงมาในที่ทำงานแต่มันกลับส่งผลร้ายต่อทีมไปเรื่อย ๆ 

ลูกรัก ในองค์กรมีหลายประเภท คงพูดได้ว่าไม่ใช่เรื่องประหลาดกับการที่มีลูกรักในองค์กรเพราะในมุมของ ‘เจ้านาย’ บางครั้งก็ต้องการคัดเลือกคนที่ไว้ใจได้มาเป็นเหมือนมือขวา หากเลือกจากความสามารถคงไม่ใช่ปัญหาสักเท่าไหร่ 

แต่ ‘เจ้านายหรือหัวหน้า’ หลายคนกลับเลือกจากคนที่ประจบประแจงเก่ง จนเกิดการเมืองในองค์กร พาลไปถึงคนที่ไม่ใช่ทำอะไรก็ดูขวางหูขวางตา ทำดีแค่ไหนก็ผิด ไม่ได้คำชม ผิดกลับลูกรักที่วัน ๆ ไม่ทำอะไรเลย กลับได้รับคำชม ทำผิดก็ถูกปกป้องอย่างไม่ลืมหูลืมตา 

งานวิจัยชี้งานเลือกปฏิบัติกับลูกรักมีอยู่จริง 

ข้อมูลจาก Harvard Business Review ชี้ว่า ในรายงานหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ระดับหัวหน้างาน 56% จะเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงานที่ชอบก่อนที่จะพิจารณาความสามารถของพนักงานคนนั้นๆ เสียอีก โดยการคัดเลือกแบบนี้จะเรียกว่าความสัมพันธ์ส่วนตัวคงไม่ผิด อาจจะเรียกว่า Unconscious Bias หรือความมีอคติโดยไม่รู้ตัว 

ลูกรักทำให้เกิดปัญหาตามมา 

ลูกรักหลายคนพอได้สิทธิพิเศษจากหัวหน้ามักจะหลงในอำนาจ ปล่อยตัวไม่กระตือรือรนกับงาน อีกทั้งชอบคาบข่าวไปฟ้องพร้อมปรุงใส่ไข่ให้เสร็จสรรพ เกิดเป็นการเมืองในที่ทำงาน ที่ต่างคนต่างไม่ไว้ใจกัน กลิ่นดราม่าคลุ้งไปทั่ว

เรื่องนี้ส่งผลร้ายแรงกว่าที่คิด แน่นอนว่าพนักงานคนอื่น ๆ ต้องรู้สึกไม่โอเคจนกระทบไปถึงการทำงาน ขวัญกำลังใจลดลง อัตราการลาออกของพนักงานสูงขึ้น หลายคนเจอปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงาน มองไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ เลวร้ายที่สุดคือสุดท้ายทีมพัง

รับมือ "ลูกรัก" อย่างไรในโลกความเป็นจริง

ลูกรักในที่ทำงาน ในชีวิตจริงเป็นเหมือนมินิบอสที่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร คำแนะนำโดยสรุปที่อ่านเจอมาจากหลาย ๆ ที่นั้นเห็นตรงกันว่า เริ่มจากจัดการอารมณ์ของตัวเองก่อนอย่าไปเครียดหรือเสียสมาธิกับลูกรักมากจนทำให้งานเราแย่ลง หลังจากนั้นลองเพิ่มทักษะความสามารถของตัวเองเพื่อให้เข้าตา ปรึกษาสอบถามความต้องการจากหัวหน้า ลองเตือนลูกรักในบางครั้งหากทำได้  สุดท้ายปัญหาเกินแก้ลองคุยกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด

ลูกรักในที่ทำงาน ปัญหาที่สุดท้ายก็ไม่แน่ใจจะแก้ได้หรือไม่ เลยอยากฝากเพื่อนพนักงานด้วยกัน หากทำเต็มที่แล้ว ไม่มีอะไรต้องเสียใจอย่าโทษตัวเอง หากสังคมการทำงาน Toxic มากจนทนไม่ไหว การลาออก เป็นหนึ่งในเส้นทางที่ควรพิจารณาไม่ใช่เพราะเราอ่อนแอ แต่เราเลือกสิ่งที่ดีให้แก่ตัวเองและหาเส้นทางที่จะเติบโตต่อไป การฝืนอยู่ต่อไปอาจไม่มีอะไรดีขึ้นมาเพราะในสายตาหัวหน้าบางคน ‘ไม่มีใครเก่งเท่าลูกรัก’ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook