ลูกสาวเซียนคณิต ชวดคะแนนเพราะตอบ 4+6+1=11 แม่ฟังเหตุผลครูแล้วบอก รำคาญ!!!

ลูกสาวเซียนคณิต ชวดคะแนนเพราะตอบ 4+6+1=11 แม่ฟังเหตุผลครูแล้วบอก รำคาญ!!!

ลูกสาวเซียนคณิต ชวดคะแนนเพราะตอบ 4+6+1=11 แม่ฟังเหตุผลครูแล้วบอก รำคาญ!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม่ฟังแล้วรำคาญ! ครูอธิบายทำไม 4+6+1=11 ถูกตรวจว่าผิด ทำเด็กเซียนคณิตชวดคะแนนเต็ม

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจมาก ช่วยฝึกการคิดและความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะของนักเรียน ปัจจุบันในระดับประถมศึกษา นอกจากปัญหาที่ต้องใช้การคำนวณตามปกติ การบวก การลบ การคูณ การหาร ยังมีปัญหายากๆ ที่แม้แต่ผู้ปกครองยังต้องเผชิญกับสถานการณ์หัวจะปวด

ยกตัวอย่างกรณีที่ถุกพูดถึงอย่างมากบนโซเชียลเน็ตเวิร์กของจีน ผู้ปกครองของเด็กชั้นประถมศึกษาคนหนึ่งเล่าว่า ลูกสาวของเธอเก่งคณิตศาสตร์มาก ได้คะแนนเต็มทุกครั้งที่เธอสอบปลายภาค อยู่ในอันดับต้นๆ ของชั้นเรียนเสมอ แค่ครั้งล่าสุดนี้ข้อสอบคณิตศาสตร์ได้เพียง 95 คะแนนเท่านั้น เมื่อเห็นลูกสาวนำกระดาษคำตอบกลับมาบ้านด้วยใบหน้าทุกข์ใจ ผู้เป็นแม่จึงช่วยตรวจดูและพบว่ามีบางอย่างผิดปกติ

โจทย์ข้อดังกล่าวระบุว่า "มีคนอยู่ข้างหน้าเปปป้าพิก (Peppa Pig)  4 คน ส่วนข้างหลังมี 6 คน รวมทั้งหมดกี่คน?" สำหรับคำถามนี้ เด็กหญิงเขียนคำตอบว่า "4+6+1=11(คน)" แต่ครูทำเครื่องหมายขีดฆ่าสีแดงว่า "ตอบผิด" ส่งผลให้ถูกหักไป 5 คะแนน

ในขณะที่แม่อ่านคำตอบของลูกสาวซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ไม่พบปัญหาใดๆ สุดท้ายจึงนำแบบทดสอบไปถามคุณครูเพื่อความชัดเจน เมื่อเห็นว่าผู้ปกครองแสดงความกังวล ทางด้านครูคณิตศาสตร์จึงอธิบายว่า “เปปป้าพิกเป็นเพียงตัวการ์ตูน แต่คำถามในข้อสอบถามว่ามีคนเข้าแถวทั้งหมดกี่คน จึงนับรวมตัวการ์ตูนหมูไม่ได้ ดังนั้นคำตอบต้องเป็น 4+6=10(คน)"

หลังจากฟังคำตอบจากคุณครูจบแล้ว ผู้ปกครองกลับยิ่งรู้สึกรำคาญมากกว่าเดิม และไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายดังกล่าว เธอถึงกับบอกว่า "ถ้าครูพูดแบบนี้ เปปป้าพิกก็คือหมูในการ์ตูน จะนำมาถามคำถามได้ยังไงล่ะ? แล้วเปปป้าพิกจะเข้าแถวได้ยังไง?" แต่ครูยังคงแย้งว่าจุดประสงค์ของปัญหานี้คือ เพื่อฝึกการคิดและความสามารถในการด้นสดของเด็ก

อย่างไรก็ดี ผู้เป็นแมายิ่งฟังก็ยิ่งไม่พอใจ โดยบอกว่าคำถามทดสอบคณิตศาสตร์ควรเข้มงวดและชัดเจน ไม่ใช่คำถามคลุมเครือที่พลิกแพลงได้เช่นนี้ ในขณะที่ผู้ปกครองคนอื่นๆ ก็แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน เชื่อว่าคำถามลักษณะเช่นนี้ไม่ควรถูกนำมาใช้ในการทดสอบคณิตศาสตร์ ควรใช้สำหรับเก็บคะแนนพิเศษในชั้นเรียนเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook