"ทนายนิด้า" ถาม "ท่าน ว.วชิรเมธี" ผิดอะไร แค่เทศน์ "อยากรวยเร็วก็ the icon แล้ว“

"ทนายนิด้า" ถาม "ท่าน ว.วชิรเมธี" ผิดอะไร แค่เทศน์ "อยากรวยเร็วก็ the icon แล้ว“

"ทนายนิด้า" ถาม "ท่าน ว.วชิรเมธี" ผิดอะไร แค่เทศน์ "อยากรวยเร็วก็ the icon แล้ว“
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภายหลังนายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความชื่อดัง มอบหมายให้น.ส.อำนวยพร มณีวรร์ หรือ ทนายกุ้ง เดินทางไปกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เพื่อแจ้งความดำเนินคดี พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ในคดีดิไอคอน

ด้าน น.ส.ศรันยา หวังสุขเจริญ หรือ ทนายนิด้า โพสต์ข้อความส่วนตัวตั้งคำถามกับสังคมว่า พระ ว. เทศน์ "อยากรวยเร็วก็ the icon แล้ว“ จะไปแจ้งความเอาผิดเรื่องอะไร ข้อหาอะไร ส่วนตัวยังไม่เห็นเข้าความผิดต่อกฎหมายอะไรเลย เอาไม่เหมาะสมกับไม่ถูกกฎหมายมาปนกันไปหมด หัวจะปวด

และอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในส่วนของพระวอ จะเอาผิดในฐานะตัวการแชร์ลูกโซ่หรือผู้สนับสนุนในแชร์ลูกโซ่ ต้องพิสูจน์เจตนาพระวอ ให้ได้ว่าในขณะพระพูดนั้นพระทราบว่า the icon คือแชร์ลูกโซ่ หากพูดไปโดยไม่ทราบว่า the icon คือแชร์ลูกโซ่ ต่อให้มีลักษณะเชิญชวนมาเป็นครอบครัว the icon ก็ไม่อาจผิดได้เพราะขาดเจตนา ซึ่งการกระทำความผิดอาญานั้นจะขาดเจตนาไปไม่ได้เลย เว้นแต่กฎหมายจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น

การที่พระวอ จะบอกว่าในขณะที่พูด ไม่มีเจตนาเพราะไม่รู้ว่าเป็นแชร์ลูกโซ่ ก็ค่อนข้างมีน้ำหนักว่าไม่ทราบได้ เพราะขนาดคนมีสี ข้าราชการทหาร ตำรวจ หรือแม้แต่ครอบครัวนักกฎหมายเองบางคนควรรู้ยิ่งกว่ายังไม่รู้เลยว่ามีลักษณะลูกโซ่จริงและไปเป็นเครือข่ายอยู่ และความก็เพิ่งมาแตกว่าเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่ เพราะเมื่อไม่นานมานี้มันมีคนมาให้ข้อเท็จจริงกันไปในทิศทางเดียวกันเป็นจำนวนมากออกสู่สาธารณะนี่เอง

ส่วนตัวไม่มองอะไรแบบไม่เป็นธรรม โดยจะไม่เอาความชอบหรือไม่ชอบมาบอกว่ากรณีใดเข้าข่ายผิดกฎหมายใดหรือไม่ผิด และไม่ยัดเยียดข้อเท็จจริงเกินไปกว่าความเป็นจริง แต่พิจารณาตามเหตุและผล และตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ
กรณีดังกล่าวพระวอเทียบได้กับพรีเซนเตอร์ที่ไม่ใช่ระดับบอสนะ

ในส่วนของบอสดารา ที่อ้างว่าเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วยและเป็นบอสด้วย จะมีหน้าที่ในการโปรโมทด้วย ชักชวนคน สนับสนุน the icon ต่อประชาชน เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกโดยมีวัตถุประสงค์คือผลประโยชน์จากส่วนแบ่งกำไรจากจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น จึงมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ยิ่งยวดขึ้นไปในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงเกี่ยวกับระบบภายในของ the icon ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มีลักษณะฉ้อโกงหลอกลวงหรือไม่ กลยุทธ์ของบริษัทคืออะไร

ส่วนพรีเซนเตอร์สินค้า จะมีหน้าที่แค่โฆษณาตัวผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก ดังนั้นเพียงการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็พอจะมองว่าสุจริตได้แล้ว ไม่ถึงขนาดว่าต้องรู้ว่ากลยุทธของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เป็นยังไง เพราะก็ไม่มีหน้าที่ชักชวนสมาชิกมาลงทุนและก็ไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรจากค่าตัวที่แน่นอนการจะเอาผิดพรีเซ็นเตอร์ที่ถือผลิตภัณฑ์ของ the icon แล้วกล่าวหาว่าเป็นตัวการร่วมในขบวนการแชร์ลูกโซ่หรือผู้สนับสนุนจึงเห็นว่าไกลไป

กลับมาในส่วนของพระวอ การรับเงินบริจาค 1,000,000฿ ก็ยังไม่มีข้อเท็จจริงว่าเป็นส่วนแบ่งรายได้จากการที่พระวอ ชักชวนสมาชิก ข้อความที่ปรากฏไม่ว่าจะรวยเร็วก็ the icon แล่ว ส่วนการอวยยศ the icon หรือการกล่าวหาว่าคนไม่เปิดใจ ไม่ปรับมายด์เซ็ท ไม่ลงคอร์สอบรมคือดักดาน ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่าเป็นคำชักชวน ยังไม่ถือเป็นการชักชวนโดยตรง แม้จะมีคำไม่เหมาะสม หรือไม่ใช่กิจของสงฆ์ก็เป็นคนละเรื่องกันกับคดีอาญา

ดังนั้นจึงเห็นว่าพระวอและดาราที่เป็นพรีเซ็นเตอร์เฉยๆ ยังไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนแชร์ลูกโซ่ของ the icon นั่นเอง

โพสต์ดังกล่าวทำให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดหลากหลาย ด้านทนายเดชายังคงโพสต์ข้อความตอบโต้กรณีดังกล่าวเป็นระยะ โดยระบุว่า "ถ้าท่าน ว.วชิรเมธี อวยดิไอคอนผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงประชาชนไม่ผิด ต่อไปพระก็รับจ้างรีวิวได้เลย จุ๊กกรู๊"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook