แตกหักเพราะ "กำไล" ซื้อร้านเพื่อน 8.8 หมื่น ฉุนฟ้องศาลได้ "ของเก๊" แต่คำตัดสินยิ่งอับอาย!

แตกหักเพราะ "กำไล" ซื้อร้านเพื่อน 8.8 หมื่น ฉุนฟ้องศาลได้ "ของเก๊" แต่คำตัดสินยิ่งอับอาย!

แตกหักเพราะ "กำไล" ซื้อร้านเพื่อน 8.8 หมื่น ฉุนฟ้องศาลได้ "ของเก๊" แต่คำตัดสินยิ่งอับอาย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาวทุ่มเงิน 8.8 หมื่น ซื้อ “กำไลหยก” ฟ้องศาลได้ของปลอม แต่ผู้ขายยกเหตุผลพื้นๆ พลิกชนะคดี!

ตามรายงานพบว่า คุณเหมย และคุณหลี่ เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน ทั้งสองรู้จักกันมานานกว่า 8 ปี และมีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยิ่ง หลังจากสำเร็จการศึกษา คุณหลี่ได้ทำธุรกิจขายเครื่องประดับหยกบนแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก กลุ่มเป้าหมายของบริษัทของเธอคือลูกค้าวัยรุ่นที่ต้องการซื้อเครื่องประดับสำหรับตนเองและครอบครัว 

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 คุณเหมยเริ่มสนใจกำไลหยกที่ร้านของเพื่อน เธอจึงขอให้ส่งสินค้าบางรุ่นมาให้เลือก โดยกำหนดให้มีราคาต่ำกว่า 20,000 หยวน (ประมาณ 93,300 บาท) เนื่องจากเป็นเพื่อนกันมานาน คุณหลี่จึงตอบรับคำขอทันที เธอนำแบบสร้อยข้อมือมากกว่า 10 แบบมาให้ดู หลังจากได้เห็นสินค้าด้วยตาของตัวเองและเลือกอย่างดีแล้ว คุณเหมยก็ "ปิดคำสั่งซื้อ" กำไลหยกราคา 19,000 หยวน (ประมาณ 88,600 บาท) โดยคุณหลี่ยังได้มองใบรับรองการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฉบับสมบูรณ์ให้ก่อนทำการซื้อขายด้วย

อย่างไรก็ดี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 หลังจากซื้อกำไลหยกมาได้ 4 เดือน จู่ๆ คุณเหมยก็ต้องการขอคืนสินค้า เพราะสงสัยว่ากำไลนั้นมีการผสมกับหยกของปลอม และราคาจริงไม่น่าจะสูงถึง 19,000 หยวน แต่ทางด้านคุณหลี่ปฏิเสธคำขอนั้น และยืนยันว่าทางร้านไม่รองรับการคืนสินค้า การเจรจาล้มเหลวและเกิดความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่าย 

หลังจากนั้น คุณเหมยตัดสินใจยื่นฟ้องต่อศาล เรียกร้องให้คุณหลี่คืนเงินจำนวน 19,000 หยวน และจ่ายชดเชยเพิ่มอีก 19,000 หยวน ฝ่ายของคุณหลี่แย้งว่าทางร้านได้มอบใบรับรองการประเมินกำไลหยกให้แล้ว และ “เธอเลือกผลิตภัณฑ์นี้โดยไม่ได้ถูกบังคับ” ดังนั้นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงไม่มีมูลความจริง

บทสรุปช้ำกว่าเดิม ทนายยังรีบเบรก

เมื่อได้รับและตรวจสอบเอกสารทั้งหมดแล้ว ศาลกล่าวว่า ในกรณีนี้สัญญาซื้อขายกำไลหยกระหว่างโจทย์และจำเลย ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายอย่างแท้จริง ไม่ขัดต่อกฎหมาย และยังคงมีผลใช้บังคับ

ในส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ในการเปิดเผยความจริง และกระทำการฉ้อโกงโดยเจตนา แต่ในการตอบกลับ ฝ่ายอีกฝ่ายยืนยันว่าได้ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วนแล้ว แม้แต่อนุญาตให้โจทก์เลือกโดยเห็นสินค้าจริงด้วย แสดงให้เห็นว่าได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ในการแจ้งและให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในธุรกรรมการขายครบถ้วนแล้ว 

ในส่วนที่โจทก์อ้างว่าธุรกรรมนี้ไม่ยุติธรรม แต่ศาลถือว่าโจทย์ประเมินมูลค่าของสินค้าเองผ่านการตรวจสอบทางกายภาพ และบรรลุข้อตกลงการทำธุรกรรมกับผู้ขายแล้ว นอกจากนี้ ในระหว่างการทำธุรกรรมก็ไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติและขาดวิจารณญาณ แม้ขณะนี้โจทก์จะมี "ความรู้สึก" ส่วนตัวว่ามูลค่าของสร้อยข้อมือน้อยกว่า 19,000 หยวน แต่หากไม่มีหลักฐานในเรื่องนี้ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ความไม่สมดุลของผลประโยชน์ในการทำธุรกรรม

ทั้งนี้ คุณเหมยยังได้ยื่นคำร้องขอประเมินมูลค่ากำไลหยกด้วย อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประเมินเฉพาะคุณภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น ไม่ใช่มูลค่าของของผลิตภัณฑ์ และศาลยังกล่าวอีกว่า การประเมินไม่สามารถแก้ไขข้อพิพาทในกรณีนี้ได้ และถือว่าไม่จำเป็นเลยจริงๆ

สุดท้าย ศาลสรุปว่าข้อเรียกร้องของโจทก์ไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งหมดตามกฎหมาย ขณะที่ทนายความยังแนะนำด้วยว่า คุณเหมยเสี่ยงที่จะแพ้คดีและอาจต้องจ่ายค่าชดเชย หากคุณหลี่ตั้งใจจะโต้แย้งหรือฟ้องคืน ดังนั้น เธอจึงตัดสินใจถอนตัวและไม่ยื่นอุทธรณ์อีกต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook