ก.พ. ออกกฏคุ้มครองขรก.สาว ป้องกันล่วงละเมิดทางเพศ

ก.พ. ออกกฏคุ้มครองขรก.สาว ป้องกันล่วงละเมิดทางเพศ

ก.พ. ออกกฏคุ้มครองขรก.สาว ป้องกันล่วงละเมิดทางเพศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (31 ส.ค.) ในวันนี้คณะรัฐมนตรีจะรับพิจารณากฏ ก.พ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ โดยออกภายใต้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล โดยระบุถึงพฤติกรรมของข้าราชการพลเรือนที่เข้าข่ายความผิดล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ 5 ประการ

1 กระทำด้วยการสัมผัสทางกายลักษณะส่อไปทางเพศ เช่น การจูบ การโอบกอด การจับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
2.การกระทำด้วยวาจาที่ส่อไปในทางเพศ เช่นวิจารณ์รูปร่าง พูดจาหยอกล้อ พูดหยาบคาย เล่าเรื่องที่มีเนื้อหาสองแง่สองง่าม
3.กระทพการด้วยกิริยาที่ส่อไปทางเพศ เช่นใช้สายตาลวนลาม
4.การแสดงที่ส่อไปทางเพศ เช่นรูปลามกอนาจาร ส่งข้อความหรือฟอร์เวิร์ดเมล์ลามก
5.การแสดงพฤติกรรมอื่นที่ส่อไปทางเพศ ซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์หรือเดือดร้อนรำคาญ

ทั้งนี้ 'นายพิรุณ เพียรล้ำ'  นิติกรผู้เชี่ยวชาญ ก.พ. กล่าวว่า กฏ ก.พ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ระหว่างข้าราชการต่อข้าราชการด้วยกัน หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กับผู้ร่วมปฏิบัติงาน เช่นลูกจ้างองค์กรต่าง ๆ  ข้าราชการท่านใดที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำทั้ง 5 ข้อ สามารถร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการบรรจุได้

ด้าน 'นางเบญจวรรณ สร่างนิทร' เลขาก.พ. กล่าวเพิ่มเติมว่า กฏก.พ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนทั่วประเทศจำนวน 381,000 คน อาทิ ข้าราชการของทั้ง 19 กระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น แต่จะไม่รวมครู อาจารย์ บุคคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย ทหาร ตำรวจ ผู้พิพากษา ตุลาการเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ก.พ.รู้สึกภูมิใจที่สามารถุผลักดันกฎนี้ออกมาใช้ได้เป็นครั้งแรก ที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากว่าข้าราชสุภาพสตรี ถูกละเมิดทางเพศ แต่ไม่กล้าร้องเรียน เพราะกลัวเสื่อมเสียชื่อเสียง เคยทำกล่องให้ใส่จดหมายร้องเรียนแต่ไม่มีใครกล้าบอกชื่อของตัวเอง แต่เมื่อกฏนี้มีผลบังคับใช้เชื่อว่าผู้ที่เสียหายจะกล้าออกมาร้องเรียนมากขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook