รู้ทัน “โรคที่พบบ่อยในสุนัขแต่ละช่วงวัย” คนรักหมาควรระวัง!

รู้ทัน “โรคที่พบบ่อยในสุนัขแต่ละช่วงวัย” คนรักหมาควรระวัง!

รู้ทัน “โรคที่พบบ่อยในสุนัขแต่ละช่วงวัย” คนรักหมาควรระวัง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“เลี้ยงน้องหมาให้อายุเกิน 15 ปีเป็นไปได้ไหม?” เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามที่คุณพ่อคุณแม่น้องหมาหลาย ๆ คนต่างสงสัย เพราะใคร ๆ ก็อยากให้น้องหมาที่เรารักอยู่กับเราไปนานๆ บอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เราใส่ใจสุขภาพน้องหมาในแต่ละช่วงวัย ด้วยการทำความรู้จักและเข้าใจโรคที่อาจเกิดขึ้นในน้องหมาแต่ละช่วงวัย ก็จะทำให้เราสามารถป้องกันและสังเกตอาการโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที 

วันนี้ Sanook จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักโรคที่พบบ่อยในสุนัขแต่ละช่วงวัย พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อที่จะได้ดูแลน้องหมาได้ถูกต้อง และเหมาะสม น้องจะได้อยู่สร้างความสุขให้กับเราไปนาน ๆ

โรคที่พบบ่อยในลูกสุนัข (อายุ 0 - 12 เดือน)

ลูกสุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่ารัก แต่ก็เปราะบางและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0-12 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากนัก โรคที่พบบ่อยในลูกสุนัขมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของลูกสุนัขได้อย่างรุนแรง

1. โรคไข้หัดสุนัข

เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ทางอากาศ รวมไปถึงสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย อุจจาระ ของสุนัขที่ป่วย ซึ่งสำหรับลูกสุนัขหากติดเชื้อก็อาจอันตรายถึงชีวิต
อาการของโรคหัดสุนัข:  ไข้สูง ซึม อ่อนเพลีย น้ำมูกไหล ตาแดง อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ชัก หรือเป็นอัมพาต

2. โรคลำไส้อักเสบ เชื้อพาร์ไวไวรัส

เป็นอาการลำไส้อักเสบที่รุนแรงมาก เกิดจากเชื้อพาร์ไวไวรัส ที่ติดต่อจากสุนัขสู่สุนัข  โดยสุนัขอาจถ่ายเยอะจนเสียชีวิตได้
อาการของโรคลำไส้อักเสบ เชื้อพาร์ไวไวรัส: อาเจียน ซึม มีไข้ ท้องเสียรุนแรงมีกลิ่นเหม็นและเลือดปน ในบางตัวอาจขาดน้ำจนเสียชีวิตได้

3. โรคลำไส้อักเสบ เชื้อโคโรน่าไวรัส

คล้ายกับโรคลำไส้อักเสบ จากเชื้อพาร์ไวไวรัส เพียงแต่เชื้อโคโรน่าไวรัส มีอาการรุนแรงน้อยกว่า โดยพบว่าในบางครั้งอาจจะมีการติดเชื้อร่วมกันระหว่างเชื้อพาโวไวรัสและโคโรน่าไวรัส ซึ่งจะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยที่รุนแรงมากขึ้นได้

4. โรคหลอดลมอักเสบ

เป็นโรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ติดต่อจากละอองน้ำมูล น้ำลายของสุนัข
อาการของโรคหลอดลมอักเสบ: ไอแห้ง ไอมีเสมหะ น้ำมูกไหล จาม และหายใจลำบาก

5. โรคพิษสุนัขบ้า

ติดต่อจากการโดนกัด ข่วน หรือเลียจากสุนัขที่ป่วย สัตว์ทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าเสียชีวิตเกือบทุกราย
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า: สุนัขมีพฤติกรรมแตกต่างไปจากเดิม ก้าวร้าว ดุร้ายมากขึ้น มีอาการกลัวน้ำ ประกอบกับอาการกระวนกระวาย น้ำลายไหลตลอดเวลา ซึ่งโรคนี้หากเป็นแล้วจะไม่มีทางรักษาให้หาย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

สำหรับวิธีป้องกันโรคต่าง ๆ ในช่วงวัยลูกสุนัข สามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่เด็ก และสำหรับสุนัขที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบ ควรเลี่ยงการออกจากบ้าน เพื่อไม่ให้ติดเชื้อจากสุนัขตัวอื่น นอกจากนี้เจ้าของสามารถเลือกอาหารที่เสริมภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขได้ อย่าง Lifemate สูตร Puppy&Mother Dog ที่มี Colostrum (น้ำนมเหลือง) ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

โรคที่พบบ่อยในสุนัขวัยเจริญพันธุ์ (1-6 ปี)

สำหรับในสุนัขวัยเจริญพันธุ์ หรือโตเต็มวัย เริ่มมีการได้ออกไปข้างนอกมากขึ้น ดังนั้นโรคส่วนใหญ่ที่ควรระวังมักเป็นโรคเกี่ยวกับปรสิต และภูมิแพ้จากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

1. โรคพยาธิหนอนหัวใจ

สำหรับโรคนี้มี “ยุง” เป็นพาหะ โดยหากยุงตัวที่กัดสุนัขมีตัวอ่อนหนอนหัวใจ ตัวอ่อนก็จะค่อย ๆ เจริญเติบโตเป็นตัวที่สมบูรณ์ และไปอาศัยอยู่ในห้องหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดของสุนัข จนอุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการปอดอักเสบ และหัวใจล้มเหลวได้
อาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจ: ส่วนมากจะแสดงอาการค่อนข้างน้อย ต้องเอกซเรย์ถึงจะเห็น อย่างไรก็ตามในบางตัวสามารถสังเกตได้จาก การมีปัญหาเรื่องการหายใจ ไอ หัวใจเต้นผิดปกติ เบื่ออาหาร
วิธีป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ: สำหรับวิธีการป้องกันเบื้องต้น คือ พบสัตวแพทย์เป็นประจำ เพื่อให้ยาสำหรับป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ และปรสิตอื่น ๆ อาจมีทั้ง หยอดยา ฉีดยา และกินยา เพื่อป้องกันโรคนี้ ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

2. โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังในสุนัข

สำหรับโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังในสุนัข พบได้ค่อนข้างบ่อย โดยอาจเกิดมาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะแพ้ละอองเกสร หญ้าต่าง ๆ หรืออาจแพ้อาหาร เช่น กลูเตนในข้าวโพด แป้งสาลี หรือเนื้อสัตว์บางชนิด เป็นต้น
อาการของโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังของสุนัข: ขนร่วงเยอะผิดปกติ มีอาการคัน ผิวหนังบวมแดง ในบางตัวอาจมีอาการอาเจียน ท้องเสียรวมอยู่ด้วย
วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังของสุนัข: สังเกตอาการสุนัข หากมีผิวหนังบวมแดง ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ นอกจากนี้ในกรณีที่สุนัขแพ้อาหาร ควรปรึกษากับสัตวแพทย์เรื่องอาหารชนิดไหนที่ควรเลี่ยง

สำหรับ Lifemate Care + สูตร Skin and Coat ที่เป็นสูตรพิเศษ ไม่ผสมเนื้อไก่ และกลูเตน ที่สุนัขส่วนใหญ่มักแพ้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับคุณพ่อหมาแม่หมาทั้งหลาย

โรคที่พบบ่อยในสุนัขสูงวัย (7 ปีขึ้นไป)

ในช่วงอายุ 7 ปีขึ้นไป ร่างกายสุนัขก็เหมือนมนุษย์ อวัยวะต่าง ๆ เริ่มเสื่อมโทรมลง รวมถึงสารอาหารที่ไม่ดีในร่างกายเริ่มสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนแสดงออกมาในโรคร้ายแรงต่าง ๆ

1. โรคข้อเสื่อม

เป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยในสุนัขสูงวัย เกิดจากกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อเสื่อมสภาพ ทำให้สุนัขเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวกเหมือนเดิม
อาการของโรคข้อเสื่อม: นอนเยอะกว่าปกติ ร้องกริ๊ดเวลาจับที่ข้อ เดินยกขา กระเผลก
วิธีป้องกันโรคข้อเสื่อม: สำหรับโรคข้อเสื่อมนอกจากมีสาเหตุจากอายุแล้ว เรื่องน้ำหนักก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักของสุนัขให้อยู่ในเกณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้

2.โรคไตวายเรื้อรัง

โรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสุนัขสูงวัย เกิดจากการที่ไตค่อยๆ เสื่อมสภาพและทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายตามมา นอกจากนี้อาจเกิดจากการสะสมอาหารที่มีโซเดียมสูง ก็สามารถทำให้เกิดโรคไตได้
อาการของโรคไตวายเรื้อรัง: ดื่มน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีกลิ่นปากเหม็นกว่าปกติ
วิธีป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง: ควบคุมปริมาณโซเดียมให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย รวมถึงไม่ให้สุนัขกินอาหารคน สำหรับอาหารสุนัข Lifemate ทุกสูตรมีการควบคุมปริมาณโซเดียมที่เหมาะสม ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคไตในสุนัขได้

3. โรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในสุนัขสูงวัย โดยเฉพาะโรคลิ้นหัวใจเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจ ทำให้เลือดรั่วไหลกลับหัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ 
อาการของโรคหัวใจ: เหนื่อยง่าย หอบ มีอาการอ่อนเพลีย ไอ ไม่สามารถทำกิจกรรมหนัก ๆ ได้ เป็นลม ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิต
วิธีป้องกันโรคหัวใจ: พาสุนัขไปตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

4.โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม หรือที่เรียกว่า Canine Cognitive Dysfunction (CCD) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในสุนัขสูงวัย คล้ายกับโรคอัลไซเมอร์ในคน ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้สุนัขมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อาการของสุนัขโรคสมองเสื่อม: สำหรับอาการโรคสมองเสื่อมในสุนัขมีมากมาย แต่จะมีอาการหลัก ๆ ตามตัวย่อ DISHAA ได้แก่

  • D (Disorientation) - มีอาการมึนงง เดินไม่ตรงทิศทาง
  • I (social interactions) - ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่างไปจากเดิม บางตัวอาจเขินอายกว่าปกติ บางตัวอาจดุร้ายกว่าเดิม
  • S (sleep/wake cycle) - มีวงจรการนอนที่ต่างไปจากเดิม อาจนอนเยอะขึ้น หรือตื่นกลางคืน นอนเช้า
  • H (House soiling) - ขับถ่ายไม่เป็นที่
  • A (activity) - มีความกระตือรือร้นน้อยลงจากเดิม ไม่สนใจที่จะเล่นอีกต่อไป
  • A (anxiety) - มีความวิตกกังวลมากขึ้น สังเกตได้จากอาการเซื่องซึม หรือขี้กลัว

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม: สำหรับอาการโรคสมองเสื่อม สามารถชะลอได้จากการพาสุนัขไปออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงกินอาหารที่ดีต่อสมอง เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน B เป็นต้น

สำหรับอาหารสุนัข Lifemate สูตร Senior 7+ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสุนัขสูงวัย เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสารอาหารช่วยบำรุงระบบประสาท สมอง ข้อต่ออีกด้วย

ดูแลสุนัขให้อายุยืนเริ่มต้นได้ง่าย ๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ โรคที่พบบ่อยในสุนัขแต่ละช่วงวัย มีเยอะแยะมากมายเลยใช่ไหมคะ? ถึงแม้จะมีโรคมากมาย แต่หากเราเข้าใจโรคต่าง ๆ ก็จะสามารถทำให้ดูแลสุนัขในแต่ละช่วงวัยได้ดีกว่าเดิมนะ! เพราะฉะนั้นหากเพื่อน ๆ อยากให้น้องหมาอยู่กับเราไปนาน ๆ ก็อย่าลืมหมั่นสังเกตอาการน้อง ๆ รวมถึงไปพบแพทย์ รับวัคซีนเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ

นอกจากนี้การเลือกอาหารที่ดี ก็ทำให้น้องหมาอยู่กับเราได้นาน ๆ นะ เพราะฉะนั้นควรเลือกอาหารที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและสารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงมีปริมาณโซเดียมที่พอดี อย่างอาหารสุนัข Lifemate ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนรักหมา เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกายสุนัข ไม่เค็มจนเกินไป รวมถึงยังมีสูตรให้เลือกมากมาย ให้เหมาะสมกับสายพันธุ์ ความต้องการของสุนัขด้วยนะ!

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook