อวสานหม้อไฟ สาวติดเชื้อเสี่ยงมะเร็ง หมอชี้พลาดที่ “วิธีใช้ตะเกียบ” รู้แล้วช็อก หลายคนก็ทำ!!!

อวสานหม้อไฟ สาวติดเชื้อเสี่ยงมะเร็ง หมอชี้พลาดที่ “วิธีใช้ตะเกียบ” รู้แล้วช็อก หลายคนก็ทำ!!!

อวสานหม้อไฟ สาวติดเชื้อเสี่ยงมะเร็ง หมอชี้พลาดที่ “วิธีใช้ตะเกียบ” รู้แล้วช็อก หลายคนก็ทำ!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 สาวกินหม้อไฟที่บ้านบ่อยๆ ติดเชื้อเสี่ยงมะเร็งซ้ำๆ ครอบครัวก็เสี่ยงด้วย หมอชี้พลาดที่ “วิธีใช้ตะเกียบ” เตือนหลายคนก็ทำ!

ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าว ctwant จากไต้หวัน เคสหญิงอายุ 30 ปี มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และตัวเธอเองเมื่อหลายปีก่อน ก็เคยเข้ารับการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือเรียกสั้นๆว่า เอชไพโลไร (H. Pylori) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร

กระทั่งในช่วงเดือนที่ผ่านมา เธอมักมีอาการปวดท้องและไม่สบายตัว สุดท้ายตรวจพบผลบวกของเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ปรากฎว่าสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำแล้วซ้ำเล่า คือเธอมักทานอาหารประเภทสุกี้หม้อไฟกับคนอื่นๆ ที่บ้าน และสันนิษฐานว่าไม่ได้ใช้ตะเกียบหรือช้อนแยกกันให้ถูกสุขลักษณะ ขณะที่แพทย์เตือนว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

อ้างอิงข้อมูลจาก แพทย์แผนกระบบทางเดินอาหารและตับ อธิบายว่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพียงครั้งเดียวหลังการรักษา และยังสามารถติดเชื้อซ้ำได้หากไม่ระวัง ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเชื้อเป็นปัจจัยของโรคต่างๆ ในกระเพาะอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ แผลในลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร ทั้งล้วนได้รับการยืนยันแล้วว่าเกี่ยวข้องกับเชื้อตัวนี้ และยิ่งการติดเชื้อนานเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากการปรากฏตัวของเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในเยื่อบุกระเพาะอาหารของมนุษย์แล้ว ยังพบร่องรอยของแบคทีเรียในน้ำลายและอุจจาระ โดยช่องทางหลักของการติดเชื้อคือทางปาก ดังนั้น หากไม่ใช้ตะเกียบส่วนตัว และช้อนกลางระหว่างมื้ออาหาร คนที่อยู่โต๊ะเดียวกันอาจติดเชื้อทางน้ำลายได้ หากไม่ล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ ก็มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อได้เช่นกัน ดังนั้น สมาชิกครอบครัวทุกคนที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกันกับผู้ป่วย ก็ต้องได้รับการทดสอบเชื้อด้วยเช่นกัน

คุณหมอเตือนว่า การใส่ใจสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของอาหารในชีวิตประจำวัน สามารถลดโอกาสการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์  ทั้งนี้ เนื่องจากการติดเชื้อชนิดนี้อาจเพิ่มอุบัติการณ์ของมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้นหากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือหากคนในครอบครัวติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ควรพิจารณาเข้ารับการตรวจรักษาเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อซ้ำหรือกระจายเชื้อ

  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook