เตือนคนที่รัก! หยุดความเชื่อ "นอนหมอนสูง" แล้วอายุยืน หมอเผยชัดๆ แบบไหนไม่เสี่ยงโรค
ผลการวิจัยพบว่า การนอน “หมอนที่สูงเกินไป” เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ หมอระบุตัวเลขชัดๆ ไม่ควรเกินกี่เซนติเมตร
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ อาซาฮี ชิมบุน จากประเทศญี่ปุ่น นักวิจัยจากศูนย์หัวใจและสมองแห่งชาติของญี่ปุ่น ระบุว่า ตำแหน่งการนอนหลับนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้ เนื่องมาจากจากการงอคอขณะนอนหลับ
การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ Spontaneous vertebral artery dissection (SVAD) เป็นการฉีกขาดของผนังหลอดเลือดแดงกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถนำไปสู่การแตกของหลอดเลือดที่ด้านหลังคอและโรคหลอดเลือดสมอง sVAD คิดเป็นประมาณ 2% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด แต่อัตรานี้เพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 10% ในผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-45 ปี
การศึกษาใหม่นี้ดำเนินการกับผู้ป่วย 53 รายที่มีอายุระหว่าง 45-56 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการ sVAD ที่ศูนย์หัวใจและสมองแห่งชาติระหว่างปี 2561-2566 ผลลัพธ์จากกลุ่มนี้เปรียบเทียบกับผู้ป่วยอีก 53 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหลอดเลือดสมองหรือเลือดออกในสมอง
จากการจัดหมวดหมู่ของทีมวิจัยตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม หมอนจะแบ่งตามความสูงดังนี้ หมอนที่มีขนาด 12 ซม. ขึ้นไปถือว่า "สูง" และหมอนที่มีขนาด 15 ซม. ขึ้นไปถือว่า "สูงมาก"
จากข้อมูลของ Asahi Shimbun การศึกษาพบว่าผู้ป่วย sVAD มากถึง 34% ใช้หมอนที่มีขนาด 12 ซม. ขึ้นไป ในขณะที่อีกกลุ่มมีเพียง 15% เท่านั้นที่ใช้หมอนประเภทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 17% ของผู้ป่วย sVAD ใช้หมอนที่มีความสูง 15 ซม. ขึ้นไป ในขณะที่อัตรานี้ในอีกกลุ่มมีเพียง 1.9%
ทีมวิจัยเน้นย้ำว่าความเสี่ยงของ sVAD ที่เพิ่มขึ้นตามความสูงของหมอน โดยการศึกษาสรุปได้ว่าหมอนที่สูงสามารถงอคอ และดึงคางเข้าหาหน้าอกได้ ซึ่งหากผู้ใช้หมุนคอขณะนอนหลับก็อาจทำให้หลอดเลือดฉีกขาดได้
ศัลยแพทย์ระบบประสาท “โทโมทากะ ทานากะ” สมาชิกทีมวิจัย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้หมอนที่สูงเกิน 15 ซม. เพราะถึงแม้หมอนจะนุ่มแต่ก็อาจทำให้คอโค้งงออย่างรุนแรงได้
เมื่ออ้างอิงวรรณกรรมจากกลางศตวรรษที่ 19 มีการบรรยายว่าหมอนที่มีความสูงประมาณ 12 เซนติเมตรนั้นสบาย และยังระบุด้วยว่าหมอนเตี้ยที่มีความสูงประมาณ 9 เซนติเมตร มีประโยชน์ต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า ดังนั้น หมายความว่านิสัยการนอนดูเรียบง่ายกลับส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไม่คาดคิด
- เอาให้ชัด! ควรเปลี่ยน "หมอนหนุน" บ่อยแค่ไหน? เรื่องใกล้หัวอย่ารู้เมื่อสายไป
- รู้ไว้ดีกว่า! ทำไมไม่ควรพับผ้าห่ม-เก็บหมอน ก่อนเช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรม?