ประวัติ พระขุนแผน พระเครื่องดังเมืองสุพรรณ เปิดที่มาของชื่อ เกี่ยวอะไรกับ ขุนช้าง-ขุนแผน

ประวัติ พระขุนแผน พระเครื่องดังเมืองสุพรรณ เปิดที่มาของชื่อ เกี่ยวอะไรกับ ขุนช้าง-ขุนแผน

ประวัติ พระขุนแผน พระเครื่องดังเมืองสุพรรณ เปิดที่มาของชื่อ เกี่ยวอะไรกับ ขุนช้าง-ขุนแผน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประวัติ พระขุนแผน พระเครื่องยอดนิยมเมืองสุพรรณ พุทธคุณล้ำเลิศ เปิดที่มาของชื่อ เกี่ยวอะไรกับ ขุนช้าง-ขุนแผน

ในบรรดาพระเครื่องชั้นนำของเมืองสุพรรณบุรี มักมีชื่อของ “พระขุนแผน” รวมอยู่ในพระกรุยอดนิยมต่างๆ จำนวนมาก หนึ่งในจำนวนนั้น คือ พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระกรุโบราณ มีอายุการสร้างมาหลายร้อยปี

พระกรุวัดบ้านกร่างมีพุทธคุณสูงในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพัน จึงเป็นที่นิยมและเสาะหากันมานาน ความนิยมนี้ยังคงสูงอย่างไม่เสื่อมคลาย

วัดบ้านกร่าง เป็นสถานที่ที่ถือเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง” ที่เลื่องชื่อ ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่องกรุวัดบ้านกร่างได้ถูกค้นพบในเจดีย์ด้านหลังวิหารเก่าภายในวัดบ้านกร่าง เมื่อราวปี พ.ศ. 2447

 พระขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ กรุวัดบ้านกร่างสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย พระขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ กรุวัดบ้านกร่าง

ที่มาของชื่อ พระขุนแผน

ในตอนที่พระกรุแตกออกมาใหม่ ๆ พระสงฆ์และชาวบ้านได้นำพระออกมาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร เด็กวัดในยุคนั้นนำพระไปเล่นโยนแข่งกันในลำน้ำสุพรรณบุรี เนื่องจากในสมัยนั้นพระจากวัดบ้านกร่างยังไม่มีมูลค่าและความนิยมอย่างในปัจจุบัน ชื่อ “พระขุนแผน” ถูกตั้งขึ้นภายหลัง เนื่องจากในสมัยโบราณไม่มีหลักฐานว่ามีการตั้งชื่อพระ คนรุ่นหลังที่ขุดพบเป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งหมด พระกรุวัดบ้านกร่างก็เช่นกัน เมื่อแตกกรุใหม่ ๆ ไม่มีชื่อ เรียกกันเพียงว่า “พระวัดบ้านกร่าง” ถ้าเป็นองค์เดียวเรียก “พระบ้านกร่างเดี่ยว” และถ้าเป็นพระคู่เรียก “พระบ้านกร่างคู่” ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อเป็น พระขุนแผน พระพลายเดี่ยว พระพลายคู่ โดยชื่อ "ขุนแผน" นั้นมีความเชื่อว่ามาจากวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ซึ่งเป็นที่รู้จักในพื้นที่สุพรรณบุรี

พระกรุวัดบ้านกร่างเชื่อว่ามีถึง 84,000 องค์ตามคติการสร้างพระในสมัยโบราณ ซึ่งแตกต่างกันไปในลักษณะพิมพ์ต่าง ๆ มากกว่า 30 พิมพ์ บางพิมพ์ได้รับความนิยม เช่น พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ พิมพ์ทรงพลใหญ่ พิมพ์แขนอ่อน เป็นต้น ส่วนพระพลายมีทั้งพิมพ์คู่เรียกว่า “พระพลายคู่” และพิมพ์เดี่ยวเรียกว่า “พระพลายเดี่ยว” ซึ่งแยกย่อยได้อีกหลายพิมพ์

จากศิลปะของพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง บ่งบอกว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนกลาง มีลวดลายที่อ่อนช้อยและงดงาม โดยเฉพาะ “พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่” ที่มีความคล้ายกับ “พระขุนแผนเคลือบ” ที่พบในกรุเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ซึ่งเจดีย์นี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ตามคำแนะนำของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเฉลิมพระเกียรติชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในการทำยุทธหัตถี ความคล้ายคลึงของพุทธศิลป์ระหว่างพระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคลกับพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่างทำให้น่าเชื่อว่าช่างที่แกะพิมพ์น่าจะเป็นช่างสกุลเดียวกัน หรืออาจแกะในคราวเดียวกัน แต่แยกบรรจุในเจดีย์ต่างกัน

พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล พิมพ์อกใหญ่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล พิมพ์อกใหญ่

ข้อมูลจาก สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ระบุว่า พระขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ เป็นพระที่สร้างพร้อม พระขุนแผนทรงพลใหญ่ เป็นพระต้นแบบของพระขุนแผน ได้สร้างก่อนพระขุนแผนเคลือบของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระพิมพ์เดียวกันทุกประการ จะผิดกันก็เพียงวัสดุที่นำมาสร้าง จะเป็นเนื้อดินหยาบมีแร่มาก ส่วนของกรุวัดใหญ่ชัยมงคล (ขุนแผนเคลือบ) วัสดุจะเป็นเนื้อผงสีขาวผสมดิน ส่วนด้านพุทธคุณนั้นเหมือนกันทุกประการ พระขุนแผนพิมพ์อกใหญ่ พระเกศจะยาวคล้านไส้กรอก พระศกจะเป็นเส้นตรงหักโค้งทั้งสองข้าง เกศจะทะลุซุ้ม ดวงพระเนตรทั้งสองข้างเป็นเม็ดยาว ด้านหางจะเชิงสูง พระโอษฐ์โค้ง พระกรรณด้านซ้ายจะยาวปลายจะงอนมากกว่าพระกรรณด้านขวา พระเพลาแข็งเหมือนต้นไม้ ปลายนิ้วพระหัตถ์ซ้ายงอนขึ้นบน

 พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ กรุวัดบ้านกร่างสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ กรุวัดบ้านกร่าง

 

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ ประวัติ พระขุนแผน พระเครื่องดังเมืองสุพรรณ เปิดที่มาของชื่อ เกี่ยวอะไรกับ ขุนช้าง-ขุนแผน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook