คนไทยทำประจำ! แพทย์ชี้ "อาหารค้างคืน 4 ประเภทนี้" ทำลายไต เสี่ยงมะเร็ง อย่าเสียดาย ทิ้งเลย!

คนไทยทำประจำ! แพทย์ชี้ "อาหารค้างคืน 4 ประเภทนี้" ทำลายไต เสี่ยงมะเร็ง อย่าเสียดาย ทิ้งเลย!

คนไทยทำประจำ! แพทย์ชี้ "อาหารค้างคืน 4 ประเภทนี้" ทำลายไต เสี่ยงมะเร็ง อย่าเสียดาย ทิ้งเลย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ hk01 นำเสนอบทความทางการแพทย์ สำหรับใครชอบทานอาหารเหลือข้ามคืน ควรระวังให้ดี เนื่องจากมีผลต่อการทำลายไต แถมเสี่ยงเป็นมะเร็งอีกด้วย

คำถามที่ว่า "อาหารค้างคืน" กินได้หรือไม่? ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาของไต้หวัน "จ้าวหมิงเว่ย" แนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ "อย่ารับประทาน" เพราะแบคทีเรียในอาหารถ้าทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วมันจะผลิตสาร "เอนโดทอกซิน" และหากจะทำลายเอนโดทอกซิน อาจต้องใช้อุณหภูมิความร้อนที่สูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยไมโครเวฟ, การต้มหรือนึ่งแบบธรรมดาทั่วไป

คนทั่วไปเข้าใจกันว่า "โรคติดต่อทางปาก" แน่นอนต้องเกี่ยวข้องกับอาหาร รวมไปถึงนิสัยการกินที่ไม่เหมาะสมนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือ มะเร็ง หากวัตถุดิบสดใหม่ย่อมปลอดภัย แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าวัตถุดิบนั้นสดจริงหรือไม่? และหากถ้ากินมื้อเดียวไม่หมดจะกินมื้อต่อไปได้ไหม?

จ้าวหมิงเว่ย ได้โพสต์วิดีโอเตือนว่า อาหารค้างคืน 4 ประเภทที่ไม่ควรกินเด็ดขาด นั่นก็คือ อาหารค้างคืนที่ไม่ได้เก็บในภาชนะปิดสนิท, ผักใบเขียวที่มีไนเตรทสูง, อาหารที่แช่เย็นค้างคืนเกิน 2 คืน และ อาหารค้างคืนที่ความร้อนอุ่นแล้วไม่ทั่วถึง
dru8wadda2-wmnd0svfn5hwov5xcm1. อาหารค้างคืนที่ไม่ได้เก็บในภาชนะปิดสนิท

จ้าวหมิงเว่ย อธิบายว่า ผลไม้ต่างๆ เช่น แตงโม และอาหารที่ปรุงแบบเย็น ไม่เหมาะที่จะนำมาอุ่นกิน ถ้าเก็บในตู้เย็นโดยไม่ห่อด้วยพลาสติกแรปให้มิดชิด อาจเกิดการปนเปื้อนข้ามกับเชื้อแบคทีเรียในตู้เย็น ซึ่งทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย

ในฤดูร้อน มักจะมีผู้ป่วยด้วยอาการกระเพาะลำไส้อักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย จากการกินแตงโมค้างคืน ซึ่งวิธีที่ถูกต้องคือ ก่อนหั่นแตงโม ควรล้างผลให้สะอาดก่อน ใช้มีดและเขียงที่สะอาด ส่วนที่ยังไม่กินให้ห่อด้วยพลาสติกแรปทันทีแล้วแช่ตู้เย็น โดยต้องแยกเก็บจากเนื้อสดและผักสด และควรกินภายในวันรุ่งขึ้นด้วย
gmqtowfebwsj1kwvskyc2dkmsork92. ผักใบเขียวที่มีไนเตรทสูง

สารไนเตรต-ไนไตรต์ (Nitrate-Nitrite) เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารกันเสีย โดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์จำพวกคลอสตริเดียมบอทูลินัม (Clostridium botulinum) และ คลอสตริเดียมเปอร์ฟรินเจน (Clostridium perfringens) ที่สามารถสร้างสารพิษรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ยกตัวอย่าง ผักปวยเล้ง อ้างถึงผลการทดลองว่า หลังจากลวกผักปวยเล้งแล้วแช่เย็นไว้ 16 ชั่วโมง ปริมาณไนไตรท์จะเกินมาตรฐาน และถ้าเป็นผักที่เหลือจากการคีบด้วยตะเกียบ ระดับไนไตรท์จะยิ่งเกินมาตรฐานหนักกว่าเดิม ดังนั้น ผักใบเขียวจึงควรปรุงแล้วกินทันที

3. อาหารที่แช่เย็นค้างคืนเกิน 2 คืน

ตู้เย็นไม่ใช่ตู้นิรภัย แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น แต่แบคทีเรียก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้ และในสภาพที่ชื้นก็เหมาะกับการเจริญเติบโตของสารพิษอะฟลาทอกซิน ซึ่งถ้าเกิดมีสารพิษนี้แล้ว แม้จะอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก็ไม่สามารถกำจัดมันออกได้ จึงแนะนำว่าอาหารที่แช่เย็นเมื่อวาน ควรกินให้หมดภายในวันรุ่งขึ้น
ykr18ncnejo_lfljxxczgza2tm4su4. อาหารค้างคืนที่อุ่นแล้วความร้อนไม่ทั่วถึง

อาหารที่กินเหลือมักจะมีน้ำลายปนเปื้อนเยอะ ซึ่งมีแบคทีเรียอยู่มาก ถ้าอุ่นไม่ร้อนพอที่จะฆ่าเชื้อโรค ก็อาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย ... แล้วการอุ่นให้ร้อนทั่วถึงต้องทำยังไง? จ้าวหมิงเว่ย บอกว่า ต้องอุ่นอาหารให้ร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส และต้องให้น้ำในอาหารเดือดต่อเนื่องอย่างน้อย 3 นาที จึงจะถือว่าอุ่นได้ถูกต้องปลอดภัย
8q1_hwhjiwpt9jo7rlbyso_cikbtqนอกจากนี้ จ้าวหมิงเว่ย บอกว่า ถ้าทำอาหารแล้วเห็นว่าเยอะเกินกว่าจะกินหมด อันดับแรกอย่าเพิ่งใช้ช้อนหรือตะเกียบสัมผัสอาหาร และไม่ควรวางทิ้งไว้ให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง เพราะระหว่างที่อาหารค่อยๆเย็นลงนั้น เชื้อจุลินทรีย์จะเจริญเติบโตไปพร้อมๆกัน

ทางที่กดีที่สุดคือ ควรรีบเก็บอาหารตอนที่ยังร้อนใส่กล่องที่ฆ่าเชื้อแล้ว ปิดฝาให้สนิท แล้วนำไปแช่ตู้เย็น เมื่อจะกินในวันรุ่งขึ้น ต้องอุ่นให้ความร้อนทั่วถึง จึงจะสามารถกินอาหารค้างคืนได้อย่างปลอดภัยที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook