หมอเฉลยแล้ว ง่วงนอน-ท้องอืดหลังกินข้าว มักพบในคน "เลือดไม่สมบูรณ์" สรุปจริงหรือมั่ว?!

หมอเฉลยแล้ว ง่วงนอน-ท้องอืดหลังกินข้าว มักพบในคน "เลือดไม่สมบูรณ์" สรุปจริงหรือมั่ว?!

หมอเฉลยแล้ว ง่วงนอน-ท้องอืดหลังกินข้าว มักพบในคน "เลือดไม่สมบูรณ์" สรุปจริงหรือมั่ว?!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรุปจริงหรือมั่ว?! อาการง่วงนอน-ท้องอืดทุกครั้งหลังกินข้าว มักพบในคน "เลือดไม่สมบูรณ์" หมอตอบแบบนี้


จากที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องอาการง่วงนอน ท้องอืดทุกครั้งหลังกินข้าวมักพบในผู้ที่เลือดไม่สมบูรณ์ ซึ่งทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น "เป็นข้อมูลเท็จ"

จากกรณีที่มีผู้โพสต์ระบุว่า หนังท้องตึง หนังตาหย่อน ท้องอืด แน่นท้อง ง่วงนอนทุกครั้งหลังกินข้าว มักพบในผู้ที่เลือดไม่สมบูรณ์ ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร หรือศัพท์เทคนิก “Postprandial somnolence เป็นกลไกที่พบได้ปกติไม่ถือว่า เป็นพยาธิสภาพ แม้ว่ากลไกที่อธิบายปฏิกริยาดังกล่าวนั้นยังไม่ได้ข้อสรุป แต่สมมติฐานที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสมองสูงขึ้นไปกระตุ้นสมองบางตำแหน่ง การหลั่งสารประเภท interleukin หรือ cytokine บางชนิด เป็นต้น

นอกจากนี้อาหารหมู่ คาร์โบไฮเดรท และไขมัน พบว่า สัมพันธ์กับการเกิดภาวะง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวจึงควรรับประทานอาหารแต่เพียงพอ ไม่มากจนเกินไป และเลี่ยงอาหารไขมันสูง แต่เน้นอาหารประเภทเส้นใย เป็นต้น เนื่องจากไม่ได้เป็นพยาธิสภาพปัจจุบันหลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับด้านนี้นั้นพบน้อยถึงน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามภาวะ Postprandial somnolence หรือภาวะง่วงหลังรับประทานอาหารจึงไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดไม่สมบูรณ์

ส่วนอาการท้องอืด แน่นท้องหลังกินข้าวที่กล่าวถึงนั้น โดยปกติมักไม่เกิด หากพบท้องอืด แน่นท้อง หลังรับประทานอาหาร ย่อมต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ ส่วนสาเหตุของอาการนี้ มีสาเหตุจากอวัยวะได้หลายที่ เช่น ความผิดปกติของกระเพาะอาหาร ความผิดปกติของลำไส้เล็ก ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ความผิดปกติของตับอ่อน ตับ และระบบท่อน้ำดี แต่ถ้าระบุเป็นโรคแล้ว ยิ่งมากกว่านี้มาก เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคนิ่วในถุงน้ำดีชนิดอุดตัน โรคของลำไส้เล็ก ภาวะลำไส้อุดตัน โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดไม่สมบูรณ์เช่นกัน

ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rajavithi.go.th หรือโทร. 02 206 2900

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันหลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับด้านนี้นั้นพบน้อยถึงน้อยมาก ภาวะง่วงหลังรับประทานอาหารจึงไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดไม่สมบูรณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook