กทม.เตรียมยกเว้น-ลดหย่อนค่าโดยสารรถ BRT

กทม.เตรียมยกเว้น-ลดหย่อนค่าโดยสารรถ BRT

กทม.เตรียมยกเว้น-ลดหย่อนค่าโดยสารรถ BRT
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รองโฆษก กทม. เผยหลังเก็บค่าโดยสาร 10 บาท ตลอดสายรถบีอาร์ทีสาทร-ราชพฤกษ์ พบนักเรียน นักศึกษาลดลงร้อยละ 25

นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารว่า หลัง กทม.เปิดบริการเดินรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที สายสาทร - ราชพฤกษ์ จำนวนสถานี 12 สถานี ระยะทางเส้นทางเดินรถ 15.8 กิโลเมตร (จากสาทร-ราชพฤกษ์) ความถี่ในการให้บริการผู้โดยสาร ในเวลาเร่งด่วน 06.30-09.00 น. และ 16.30-19.30 น. ทุก 5 นาที นอกเวลาเร่งด่วน ทุก 10 นาที จำนวนรถบีอาร์ทีวิ่งให้บริการ 25 คัน เวลาในการให้บริการ 06.00-24.00 น. ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการแบบไม่เก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม 2553 จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 15,000 คนต่อวัน จากนั้นเริ่มเก็บค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย ตั้งแต่ 1 กันยายน- 31 ธันวาคมนี้ มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 11,300 คนต่อวัน และตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จะเก็บค่าโดยสาร 12-18 บาท ตามระยะทาง จำนวนผู้โดยสารสะสมจากเริ่มเปิดให้บริการถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีจำนวน 505,908 คน

นายวสันต์ กล่าวว่า ผู้โดยสารที่ใช้บริการบีอาร์ทีลดลงหลังเก็บค่าโดยสารในวันทำการเฉลี่ย 6,287 คน ในวันหยุดเฉลี่ย 4,158 คน ผู้โดยสารที่หายไปคิดเป็นร้อยละ 33 ได้แก่ นักเรียน ประมาณร้อยละ 25 คนใช้เส้นทางระยะสั้นร้อยละ 5 และอื่น ๆ ร้อยละ 3 ซึ่งสำนักการจราจรและขนส่งพิจารณาแล้วเห็นว่าหากมีการยกเว้นหรือลดหย่อนค่า โดยสารเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถโดยสารบีอาร์ทีมากขึ้น จึงควรยกเว้นค่าโดยสารให้กับบุคคลทุพพลภาพ (คนพิการ) นักเรียนในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณร และลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคาให้กับนิสิตและนักศึกษาที่ศึกษาไม่เกินระดับ ปริญญาตรี และอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ ตั้งเป้าลดหย่อนในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อสถานีที่ 3 จากเดิมชื่อ "เย็นอากาศ" เปลี่ยนเป็น "เทคนิคกรุงเทพ"

รองโฆษก กทม.กล่าวด้วยว่า นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เสนอว่าหากเป็นไปได้จะลดหย่อนค่าโดยสารให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กทม. เพื่อจูงใจให้ใช้มากขึ้น โดยอาจประกาศเป็นนโยบายสวัสดิการข้าราชการ ลูกจ้าง กทม.

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook