ชายวัย 53 ต้องตัดขาหลัง “อาบน้ำอุ่น” หมอชี้จุดพลาด ย้ำป่วยเบาหวานยิ่งต้องระวัง

ชายวัย 53 ต้องตัดขาหลัง “อาบน้ำอุ่น” หมอชี้จุดพลาด ย้ำป่วยเบาหวานยิ่งต้องระวัง

ชายวัย 53 ต้องตัดขาหลัง “อาบน้ำอุ่น” หมอชี้จุดพลาด ย้ำป่วยเบาหวานยิ่งต้องระวัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การอาบน้ำทำให้คุณสูญเสียขาไปตลอดกาลได้หรือ? มีกรณีที่เกิดขึ้นจริงกับผู้ชายวัย 53 ซึ่งแต่เดิมป่วยด้วยโรคเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไต้หวัน ETToday อาฉวน วัย 53 ปี มีแผลไหม้และแผลพุพองที่ขาหลังจากอาบน้ำอุ่น ดังนั้นเขาจึงทายาและพันผ้าพันแผลด้วยตัวเอง วันต่อมาแผลเริ่มเจ็บปวดมากขึ้นเรื่อยๆ มีสีคล้ำและมีหนองไหลออกมา จึงรีบไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วน

แพทย์พบว่าอาฉวนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ละเลยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมาเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดเล็กๆรอบเส้นประสาทที่เท้าของเขาเสียหายอย่างรุนแรง และแม้แต่บาดแผลเล็กๆ ที่เกิดจากน้ำซึ่งมีความร้อน ก็ทำให้เกิดแผลสาหัสได้

แพทย์ถอดบาดแผลเดิมออก และรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่นิ้วเท้าทั้ง 4 นิ้ว และเนื้อร้ายที่ขาของเขาก็ยังรุนแรงต่อไป เมื่อมาถึงจุดนี้แพทย์จึงจำเป็นต้อง “ตัดขา” เพื่อรักษาชีวิตเขาไว้

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยของการเกิดแผลที่เท้า

Dr.Yu-Rui Chang แพทย์ประจำแผนกระบบเผาผลาญ โรงพยาบาลทหารผ่านศึกไต้หวัน  กล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า ได้แก่ โรคหลอดเลือดบริเวณส่วนปลาย โรคระบบประสาท การสูญเสียการปกป้องผิวหนัง หรือการมองเห็นที่ไม่ดี ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม การชนกัน

ขณะที่น้ำตาลในเลือดสูงในโรคเบาหวาน ก็สามารถทำลายหลอดเลือดได้ง่าย อาจทำให้เกิดโรคระบบประสาทและจอประสาทตาได้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าและการเสื่อมสภาพได้อย่างมาก ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การปกป้องผิวหนัง และทำการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เนิ่นๆ

แพทย์กล่าวว่า โรงพยาบาลมักจัดให้ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบการติดเชื้อที่เท้า ทำการเอ็กซเรย์บริเวณที่ได้รับผลกระทบเพื่อตรวจดูว่ากระดูกผิดรูปหรือเสียหายหรือไม่ และประเมินความผิดปกติอื่นๆ หากแผลติดเชื้อก็ให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เมื่อแผลที่เท้าที่เกิดจากเซลลูไลติมีขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. หรือมีอาการบวม ปวด มีกลิ่น มีของเหลวไหลออกมา และมีอาการอื่นๆ ถือว่ามีการติดเชื้อที่เท้าปานกลางหรือมาก

ในทางคลินิก มักจำเป็นต้องปรึกษาศัลยแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อประเมินว่าจำเป็นต้องมีการแทรกแซงการผ่าตัดเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงถึงชีวิตหรือไม่

การตรวจคัดกรองประจำปีสามารถช่วยป้องกันได้

แพทย์กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละครั้ง ประเมินว่ามีโรคหลอดเลือดส่วนปลายหรือไม่ เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้ การควบคุมน้ำหนัก ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด ก็เป็นสิ่งสำคัญ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่เกิน 8.5% สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณหมอเสริมว่า เนื่องจากโรคระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากไม่ไวต่อความเจ็บปวดหรืออุณหภูมิเพียงพอ และไม่สามารถจดจำอาการบาดเจ็บที่เท้าได้ง่าย ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า หรือสวมรองเท้าแตะที่มีพื้นรองเท้าบาง หากจำเป็น ให้เลือกรองเท้าสำหรับรักษาโรคหรือสั่งทำพิเศษ เนื่องจากแผ่นรองรองเท้าหรือแผ่นรองนิ้วเท้า สามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้าซ้ำได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook