หมอตอบตรงกัน! อาบน้ำอุ่น-ร้อน ในฤดูหนาว "ปลอดภัยหรืออันตราย?" หลายคนเข้าใจผิด

หมอตอบตรงกัน! อาบน้ำอุ่น-ร้อน ในฤดูหนาว "ปลอดภัยหรืออันตราย?" หลายคนเข้าใจผิด

หมอตอบตรงกัน! อาบน้ำอุ่น-ร้อน ในฤดูหนาว "ปลอดภัยหรืออันตราย?" หลายคนเข้าใจผิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอตอบให้ครบ อาบน้ำอุ่นในฤดูหนาว "ดีหรือไม่?" ควรอาบไม่เกินกี่โมง ตั้งอุณหภูมิเท่าไหร่?

ในวันที่อากาศหนาวเย็น คนส่วนใหญ่มีนิสัยชอบอาบน้ำอุ่นไปจนถึงร้อน เพราะไม่เพียงแค่ทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ยังช่วยให้ผ่อนคลายและลดความเหนื่อยล้าหลังจากการทำงานหนักในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม การอาบน้ำร้อนเป็นเวลานานอาจทำลายเกราะป้องกันธรรมชาติของผิวหนัง ทำให้ผิวแห้งและเกิดการระคายเคือง ข้อความนี้ได้รับการยืนยันจาก ดร. ทรินิแดด มอนเทโร-วิลเชซ แพทย์ผิวหนังที่ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยVirgen de las Nieves ในกรานาดา ประเทศสเปน ซึ่งได้ทำการศึกษาระบุผลตั้งแต่ปี 2022

ทางด้าน รองศาสตราจารย์วิคตอเรีย บาร์บอสา แพทย์ผิวหนังจากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวเพิ่มเติมว่า การอาบน้ำร้อนเป็นเวลานานยังทำให้ผิวหมองคล้ำหรือซีดเซียวขึ้น ดังนั้นฃจึงมองว่าการอาบน้ำร้อนควรเป็นการรักษาหรือการบำบัด ไม่ใช่กิจวัตรประจำวันที่ทำทุกวัน

เช่นเดียวกับที่น้ำร้อนมีผลต่อผิวหนัง น้ำร้อนก็สามารถทำให้เส้นผมแห้งและหลุดร่วงได้ ดร. ซาเยด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ศัลยแพทย์ตกแต่ง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมที่คลินิก Royal Lush ในกรุงนิวเดลี (อินเดีย) อธิบายว่า น้ำร้อนจะทำให้ชั้นน้ำมันธรรมชาติของผิวหนังหายไป ส่งผลให้หนังศีรษะแห้งและระคายเคือง นอกจากนี้ยังทำให้โครงสร้างของเส้นผมเสียหาย ซึ่งอาจทำให้เส้นผมขาดง่ายและหลุดร่วงได้

แม้ว่าจะมีหลายความคิดเห็นที่กล่าวว่าการอาบน้ำร้อนช่วยเสริมสุขภาพหัวใจ แต่เว็บไซต์สุขภาพ Boldsky แนะนำว่าผู้ที่มีปัญหาหัวใจอยู่แล้ว เช่น ความดันโลหิตสูง “ควรหลีกเลี่ยง” การอาบน้ำร้อน เพราะความร้อนจากน้ำอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงแย่ลงได้

ทางด้าน ดร. อลานา บิ๊กเกอร์ส จากมหาวิทยาลัยการแพทย์ชิคาโก กล่าวว่า การอาบน้ำร้อนอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ แต่ก็มีอันตรายแฝงอยู่เช่นกัน ดังนั้น คำแนะนำที่ดีที่สุดคือการอาบน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 37-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ป้องกันหวัด และยังให้ความรู้สึกสดชื่นโดยไม่ทำให้ผิวแห้งในช่วงฤดูหนาว

เช่นเดียวกับ ดร. อัมรูธา โฮซาลี คาร์โจล ที่ปรึกษาและแพทย์ผิวหนังอาวุโส จากศูนย์ผิวหนังและคลินิกศัลยกรรม Vrudhii กล่าวยืนยันว่า “หากต้องการเสริมสุขภาพ เช่น ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด คุณอาจพิจารณาปิดท้ายการอาบน้ำด้วยน้ำเย็นประมาณ 10-15 วินาที เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด โดยไม่ทำให้รู้สึกหนาว”

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิของน้ำเท่านั้น แต่ควรใส่ใจสิ่งอื่นๆ รวมทั้งการปฏิบัติตัวหลังการอาบน้ำในช่วงฤดูหนาว เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพหรือแม้กระทั่งอันตรายถึงชีวิต

ไม่ควรอาบน้ำหลัง 4 ทุ่ม

ยิ่งดึกอากาศยิ่งหนาวเย็น ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างสภาพแวดล้อมและร่างกายจะมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรอาบน้ำก่อน 20.00 น. การอาบน้ำตอนกลางคืนหรือเช้าตรู่ เพราะการอาบน้ำในตอนดึกเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหอบหืด มีอาการหนักขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย

ไม่ควรอาบน้ำเกินไปนาน

เวลาที่เหมาะสมในการอาบน้ำคือประมาณ 10 นาที เนื่องจากการอาบน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำ  ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจทำให้เกิดภาวะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ การขาดออกซิเจน และการหดตัวของหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่เลือดคั่ง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตฉับพลัน

ควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังการอาบน้ำ

ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายเปียกชื้นหลังจากออกจากห้องน้ำ เพราะในขณะนี้ร่างกายจะเย็น และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่าผมเพื่อเป่าตัวให้แห้ง เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ผิวสูญเสียน้ำและแห้งแตก ดังนั้น ควรรักษานิสัยการเช็ดตัวให้แห้งหลังการอาบน้ำ และเลือกใช้ผ้าขนหนูผืนหนานุ่มในการเช็ดตัว

หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว

ควรควบคุมให้อุณหภูมิระหว่างในห้องน้ำและภายนอกไม่แตกต่างกันเกินไป โดยควรให้อยู่ในช่วง 2-3 องศาเซลเซียสเท่านั้น และไม่ว่าจะอาบน้ำด้วยวิธีใด (ฝักบัว อ่างอาบน้ำ อาบน้ำในท่านั่ง หรือยืน) ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยแนะนำว่าเริ่มจากการสัมผัสน้ำทีละส่วน เริ่มจากเท้า มือ หลัง ศีรษะ และลำตัว (หลังและท้อง) แล้วค่อยสัมผัสน้ำทั่วร่างกาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook