คำเตือนที่จริงใจ! หมอย้ำ 3 เวลาที่ "ไม่ควร" ดื่มน้ำส้ม ไม่เกิดประโยชน์ แถมเสี่ยงโรคไม่รู้ตัว

คำเตือนที่จริงใจ! หมอย้ำ 3 เวลาที่ "ไม่ควร" ดื่มน้ำส้ม ไม่เกิดประโยชน์ แถมเสี่ยงโรคไม่รู้ตัว

คำเตือนที่จริงใจ! หมอย้ำ 3 เวลาที่ "ไม่ควร" ดื่มน้ำส้ม ไม่เกิดประโยชน์ แถมเสี่ยงโรคไม่รู้ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้หรือไม่ว่า... น้ำส้ม ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและเพิ่มความต้านทานของร่างกาย แต่หากดื่มผิดเวลาก็จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง

ตามที่ Dr.Bui Dac Sang แพทย์จากสมาคมการแพทย์แผนตะวันออกฮานอ ยกล่าวว่า ส้มอุดมไปด้วยวิตามินซี เอ และแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ส้มขนาดกลางมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15.4 กรัม แคลอรี่ 60 กรัม น้ำตาล 12 กรัม เส้นใย 3 กรัม วิตามินซี 70 มก. โพแทสเซียม 237 มก. การดื่มน้ำส้มช่วยเพิ่มความต้านทานของร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง และต่อสู้กับวัยชรา

อย่างไรก็ดี แม้ว่าน้ำส้มจะอุดมไปด้วยสารอาหารและเพิ่มความต้านทานของร่างกาย แต่การดื่มผิดเวลาจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณอย่างมาก และช่วงเวลาต่อไปนี้เป็น 3 เวลาที่ไม่ควรดื่มน้ำส้ม


เมื่อหิว หรือท้องว่าง

การดื่มน้ำส้มเมื่อหิวทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อกระเพาะอาหาร ปริมาณวิตามินซีในน้ำส้มอาจทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ ทำให้เกิดแผลหากรับประทานในปริมาณมาก

ตอนเย็น หรือก่อนนอน

ช่วงเย็นเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนและไม่เปลืองแรง หากดื่มน้ำส้มในเวลานี้จะทำให้ร่างกายมีพลังงานส่วนเกิน สะสมน้ำและไขมันในช่องท้อง การดื่มน้ำส้มตอนกลางคืนอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และกรดในส้มส่งผลต่อเคลือบฟันได้ง่าย อีกทั้งการดื่มก่อนนอนยังส่งผลต่อไต เสี่ยงต่อแร่ธาตุส่วนเกิน และทำให้เกิดนิ่ว

หลังจากเพิ่งดื่มนม

ไม่ควรดื่มน้ำส้มหลังดื่มนม เพราะโปรตีนในนมจะทำปฏิกิริยากับกรดทาร์ทาริกและวิตามินซีในส้ม ส่งผลต่อกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำส้มขณะรับประทานยาด้วยเช่นกัน โดยควรดื่มก่อนหรือหลังรับประทานยา 1-2 ชั่วโมง

เพื่อความปลอดภัยควรดื่มน้ำส้มในตอนเช้าหลังอาหารเพื่อดูดซึมสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และพลังงานให้เพียงพอตลอดทั้งวัน นี่เป็นช่วงเวลาที่กระเพาะดูดซึมสารอาหารได้ง่ายที่สุดโดยสามารถดื่มน้ำส้มได้ 1-2 ชั่วโมงหลังอาหาร

ทั้งนี้ ผู้ที่แพ้ส่วนผสมในน้ำส้ม เช่น วิตามินซี ก็ควรจำกัดการดื่ม รวมทั้งกลุ่มที่เป็นโรคกระเพาะหรือปัญหาระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากน้ำส้มมีรสเปรี้ยวและมีกรดในปริมาณที่อาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองได้ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ตับ และไตวาย ควรพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook