เฮ! คนไทยผลิต ลูกตาเทียม เป็นผลสำเร็จ

เฮ! คนไทยผลิต ลูกตาเทียม เป็นผลสำเร็จ

เฮ! คนไทยผลิต ลูกตาเทียม เป็นผลสำเร็จ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมวิจัย "โครงการผลิตลูกตาเทียมโพลีเอทธิลีนแบบมีรูพรุนในประเทศไทย (ระยะที่ 2) : การศึกษาทางคลินิก" เพื่อทดสอบการใช้งานจริงลูกตาเทียมในผู้ป่วยของโรงพยาบาลตามที่ตกลงกัน ระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือน ส.ค. 2552 - เม.ย. 2553

น.พ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เปิดเผยว่า การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 2 ใกล้แล้วเสร็จ คาดว่าจะสรุปผลโครงการได้ภายในปีนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลการรักษาในผู้ป่วย 15 คน ชาย 9 คน หญิง 6 คน พบว่าผู้ป่วยมีสุขภาพดีหลังการผ่าตัด ไม่มีลูกตาเทียมเคลื่อนหลุด ไม่พบการติดเชื้อ มีเพียง 2 คนที่บางส่วนของลูกตาเทียมโผล่ แต่มีขนาดเล็กและหายเองหลังการรักษา ทั้งยังพบการงอกของเส้นเลือดและเนื้อเยื่อเข้าไปยังลูกตาเทียมโดยรอบอีกด้วย

ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าลูกตาเทียมไฮดรอกซีแอปาไทต์ ราคาลูกละประมาณ 2.9 หมื่นบาท และลูกตาเทียมโพลีเอทธิลีน ราคาลูกละประมาณ 2.2 หมื่นบาท ด้วยราคาดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงอุปกรณ์ดังกล่าว และเลือกใช้ลูกตาเทียมชนิดที่ผลิตจากซิลิโคนหรืออะครีลิคแทน เนื่องจากมีราคาในหลักไม่กี่ร้อยบาท แต่มีปัญหาเรื่องการเลื่อนหลุดง่าย ไม่สามารถกลอกตาได้เสมือนตาจริง

ส่วนการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างลูกตาเทียมโพลีเอทธิลีนที่นำเข้าจากต่างประเทศ กับลูกตาเทียมจากสารโพลีเอทธิลีนที่ผลิตขึ้นเองในไทย ในผู้ป่วย 120 คน เพื่อดูความคุ้มค่าของการรักษา ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นขอทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศิริราชพยาบาล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คาดว่าจะเริ่มโครงการได้ในเดือนม.ค. 2554

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook