รีบชิ้งฉ่องทันทีอาจไม่ดี! แพทย์แนะนำ ช่วง "เวลาทอง" ที่เหมาะสมในการปัสสาวะ

รีบชิ้งฉ่องทันทีอาจไม่ดี! แพทย์แนะนำ ช่วง "เวลาทอง" ที่เหมาะสมในการปัสสาวะ

รีบชิ้งฉ่องทันทีอาจไม่ดี! แพทย์แนะนำ ช่วง "เวลาทอง" ที่เหมาะสมในการปัสสาวะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รีบปัสสาวะทันทีอาจไม่ดี! แพทย์เผย "ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปัสสาวะ" เพื่อสุขภาพกระเพาะปัสสาวะที่ดียิ่งขึ้น

ผู้ที่เคยประสบปัญหาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มักจดจำคำแนะนำจากแพทย์ว่า "อย่ากลั้นปัสสาวะ" และอาจพัฒนานิสัย "ปวดปัสสาวะเมื่อไรก็รีบไปทันที"

แต่คุณหมอโหวเจิ้นปัง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ เปรียบกระเพาะปัสสาวะกับหลอดยาสีฟัน โดยแนะนำว่าการกลั้นปัสสาวะในระดับเหมาะสม รอให้รู้สึกว่ากระเพาะปัสสาวะเต็มประมาณ 70% แล้วจึงปัสสาวะ จะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะทำงานได้ดียิ่งขึ้น และลดโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ขณะที่การปัสสาวะทันทีเมื่อมีปริมาณน้อย อาจเพิ่มภาระให้กระเพาะปัสสาวะแทน

หมอโหวเจิ้นปังโพสต์ให้ความรู้ในเพจสุขภาพล้ำหน้า กับหมอโหวเจิ้นปัง ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเผยว่าในระหว่างการตรวจรักษา เขามักแนะนำให้ผู้ป่วย "ฝึกกลั้นปัสสาวะ" แทนที่จะปัสสาวะทันทีที่รู้สึกปวด แม้คำแนะนำนี้จะฟังดูขัดกับสัญชาตญาณ และแตกต่างจากสิ่งที่ครูสอนสุขศึกษาตั้งแต่เด็ก ทำให้ผู้ป่วยหลายคนมักแสดงความสงสัยออกมา

หมอโหวเจิ้นปัง อธิบายว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยาที่ซับซ้อนของกระเพาะปัสสาวะ และกลไกการทำงานของทางเดินปัสสาวะ โดยเปรียบกระเพาะปัสสาวะกับหลอดยาสีฟัน และตั้งคำถามว่า “หลอดยาสีฟันที่เต็มหรือเกือบหมด อันไหนบีบง่ายกว่า?”

คำตอบชัดเจนว่าหลอดที่เต็มง่ายกว่า เช่นเดียวกับกระเพาะปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะในช่วงที่กระเพาะปัสสาวะเต็มพอเหมาะ จะช่วยให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะเป็นไปอย่างราบรื่น ในทางกลับกัน หากรีบปัสสาวะในปริมาณเล็กน้อยบ่อยๆ กลับจะเพิ่มภาระให้กระเพาะปัสสาวะแทน

ทำไมการปัสสาวะเมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มประมาณ 70% จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด?

หมอโหวเจิ้นปัง อธิบายว่า ในช่วงนี้ความดันภายในกระเพาะปัสสาวะจะพอดี เปรียบเสมือน "โซนทองคำ" ของความตึงของผนัง

หากปัสสาวะมีปริมาณน้อยแล้วรีบไปปัสสาวะจะเพิ่มภาระให้กระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากผนังกระเพาะปัสสาวะไม่ได้ถูกยืดออกอย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อเบ่งปัสสาวะจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับปัสสาวะออกให้หมด

นอกจากนี้ การปัสสาวะบ่อยๆ ในปริมาณน้อยจะทำให้ความยืดหยุ่นของกระเพาะปัสสาวะลดลง และความสามารถในการเก็บปัสสาวะลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาปัสสาวะบ่อยในที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook