ลูกสาว 6 ขวบ เห็นถุงยางอนามัย "ถามละเอียด" กลางซุปเปอร์ฯ แม่ไม่เลี่ยงแต่ตอบฉลาด!

ลูกสาว 6 ขวบ เห็นถุงยางอนามัย "ถามละเอียด" กลางซุปเปอร์ฯ แม่ไม่เลี่ยงแต่ตอบฉลาด!

ลูกสาว 6 ขวบ เห็นถุงยางอนามัย "ถามละเอียด" กลางซุปเปอร์ฯ แม่ไม่เลี่ยงแต่ตอบฉลาด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตบมือให้! ลูกสาวถาม "คำถามละเอียดอ่อน" เรื่องถุงยางอนามัย กลางซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่ตอบฉลาดมาก

สำหรับเด็กเล็ก โลกภายนอกมักเต็มไปด้วยสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และในช่วงอายุ 3-5 ปี เด็กมักจะถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวอยู่เสมอ นี่คือวิธีที่พวกเขาค้นหาความรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ แต่บางครั้งก็ทำให้พ่อแม่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าอึดอัด และอยากที่จะหาคำตอบที่เหมาะสมมาตอบลูกๆ

เช่นเดียวกับกรณีของ "เสี่ยวมี่" เด็กหญิงวัย 6 ขวบ ในประเทศจีน ซึ่งกำลังเตรียมตัวเข้าชั้นประถม 1 วันหนึ่งแม่ได้พาเธอไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต หลังจากเดินดูสินค้าจนครบและเลือกของที่ต้องการเสร็จแล้ว ทั้งคู่เดินไปที่เคาน์เตอร์เพื่อจ่ายเงินและเตรียมกลับบ้าน ขณะนั้นลูกสาวเห็นชั้นวางสินค้าตรงเคาน์เตอร์ที่มี "ถุงยางอนามัยจาก" หลากหลายยี่ห้อ เนื่องจากมันมีลักษณะคล้ายกับกล่องลูกอม จึงหยิบกล่องหนึ่งขึ้นมาลองถือและเริ่มอ่านชื่อผลิตภัณฑ์นั้น

เมื่อเห็นคำว่า "ถุงยางอนามัย" ที่เขียนอยู่บนบรรจุภัณฑ์ เธอก็สงสัยและเริ่มถามแม่คำถามมากมาย "ถุงยางอนามัยคืออะไรคะแม่? มันกินได้ไหม? ทำไมใช้ได้แค่ครั้งเดียว? ทำไมมันถึงอยู่ที่เคาน์เตอร์จ่ายเงินเลยคะแม่?" เสียงเจื้อนแจ้วเรียกความสนใจให้คนรอบข้างเริ่มหันมามองเสี่ยวมี่ ทำให้ผู้เป็นแม่อดไม่ได้ที่จะเขินอายแทนลูกสาว แต่ในขณะเดียวกันก็คิดว่าในวัยนี้ที่ความอยากรู้อยากเห็นทำให้เด็กต้องการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้ การหลีกเลี่ยงหรือปกปิดคำถามเหล่านี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี

ดังนั้น ผู้เป็นแม่จึงเลือกอธิบายอย่างอ่อนโยนว่า "นี่คือตัวถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ เด็กๆ อย่างลูกยังไม่สามารถใช้ได้ แต่สิ่งนี้จะช่วยให้ประเทศของเราควบคุมการเติบโตของประชากรได้!" หลังจากที่เสี่ยวมี่ได้ฟังคำตอบจากแม่ ก็เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ จึงนำสินค้านั้นกลับไปวางที่เดิม

วิธีรับมือที่ชาญฉลาดของคุณแม่ทำให้หลายคนชื่นชม เพราะคำตอบนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพมาก ทั้งช่วยอธิบายความสงสัยของลูกได้ ตรงประเด็นแต่ไม่เจาะลึกจนเกินไป ซึ่งเหมาะสมกับวัยของลูกสาวด้วย ที่สำคัญคือแม้เผชิญกับคำถามที่ชวนกระอักกระอ่วน เธอไม่พยายามที่จะหลีกเลี่ยงอย่างที่ผู้ปกครองหลายคนทำ เพราะอาจจะยิ่งกระตุ้นความอยากรู้ของเด็ก และทำให้เด็กอยากหาคำตอบในทางอื่นที่พ่อแม่ไม่สามารถควบคุมได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook