รู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 พระชนมายุ 26,469 วัน เท่ารัชกาลที่ 1

รู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 พระชนมายุ 26,469 วัน เท่ารัชกาลที่ 1

รู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 พระชนมายุ 26,469 วัน เท่ารัชกาลที่ 1
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จัก "พระราชพิธีสมมงคล" โบราณราชประเพณี เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10 พระชนมายุ 26,469 วัน เท่ากับรัชกาลที่ 1

รัฐบาล เตรียมพร้อมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในวันที่ 14 มกราคม 2568 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่

1. พิธีสืบพระชะตาหลวง ณ สวนสราญรมย์ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระหว่างวันที่ 13 – 20 ม.ค.68
2. บูรณปฏิสังขรณ์ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี
3. จัดแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ณ ลานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในวันที่ 14 ม.ค.68
4. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ
5. จัดพิธีทางศาสนา และ กิจกรรมถวายพระราชกุศล ณ ศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
6. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระราชกุศล
7. จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ความสำคัญของพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

การบําเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระบรมราชบูรพการี เป็นราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาช้านาน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะทรงอนุสรณ์คํานึงถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชบูรพการี ในวาระต่างๆ เช่น ในวันที่ตรงกับการครองราชย์ มีทั้งโอกาสที่เวียนมาเป็นครั้งแรกมักเรียกว่า “สมมงคล” (สะ-มะ-มง-คน) หมายถึง เสมอกัน หรือ “สมภาคา” บ้าง

ถ้าเวียนมาเป็นครั้งที่สองก็เรียกว่า “ทวิภาคา” บ้าง หรือ “ทวีธาภิเษก” บ้าง จะปรากฏแนวปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชพิธีลักษณะนี้ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระราชกุศลที่บําเพ็ญถวายแด่สมเด็จพระบรมราชบูรพการีของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์

นอกจากโอกาสวันดํารงสิริราชสมบัติเวียนมาพ้องกับวันสําคัญดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพระราชประเพณีที่ทรงถือปฏิบัติในอีกหลายวาระ และวาระหนึ่งที่สําคัญ คือ วันที่พระชนมพรรษาเวียนไปเสมอเท่ากัน และวันที่พระชนมพรรษามากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งในรัชกาลที่ล่วงไปแล้วด้วย 

ถือเป็นการแสดงวัฒนธรรมที่ดีงามของพระมหากษัตริย์ของชาติไทยในการที่ทรงสร้างแบบอย่างความกตัญญูกตเวทิตา แสดงความเคารพรําลึกถึงบรรพชนปู่ย่าตายายที่ประกอบคุณความดีไว้แก่บ้านเมืองให้ราษฎรยึดถือเป็นแบบแผน

การจัดพระราชพิธีสมมงคลครั้งที่ผ่านมา

ตามโบราณขัตติยราชประเพณี พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงบําเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระมหากษัตริย์ในวาระสําคัญๆ เสมอมา ซึ่งแสดงถึงพระราชจริยาวัตรและวัฒนธรรมอันดีงามของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีเทิดทูนพระราชกรณียกิจของพระบรมราชบูรพการีที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ นําความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่อาณาประชาราษฎร์และความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้านเมือง พระบรมราชวงศ์จึงยั่งยืนมั่นคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์นี้เป็นพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีในลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว 4 วาระ คือ 

  • การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508
  • การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2528  
  • การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 
  • การพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งนับพระชนมวารได้ 26,467 วัน โดยครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง 

ทรงพระราชอุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตดำรงรัฐสีมาอาณาจักร เพื่อทรงทำนุบำรุงความสุขให้แก่ประเทศและประชาชนชาวไทยสืบไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook