พ่อแม่หย่าร้าง ลูกสาว ม.1 แชทขอค่าเรียน "บุพการี" ตอบมาสั้นๆ อ่านแล้วสิ้นหวัง จุกไปทั้งใจ
Thailand Web Stat

พ่อแม่หย่าร้าง ลูกสาว ม.1 แชทขอค่าเรียน "บุพการี" ตอบมาสั้นๆ อ่านแล้วสิ้นหวัง จุกไปทั้งใจ

พ่อแม่หย่าร้าง ลูกสาว ม.1 แชทขอค่าเรียน "บุพการี" ตอบมาสั้นๆ อ่านแล้วสิ้นหวัง จุกไปทั้งใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผปค.หย่าร้าง ลูกสาว ม.1 ส่งข้อความขอค่าเรียน คำตอบจากพ่อทำทุกคนอึ้งไปหมด อ่านแล้วจุก!

สำหรับหลายๆ คู่สมรส การหย่าร้างไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะก่อนที่จะตัดสินใจนั้นย่อมมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง และแยกทางอาจเป็นหนทางสุดท้ายที่จำเป็นเมื่อชีวิตคู่ไม่สามารถกู้คืนได้และที่สำคัญที่สุดคือทุกคนก็รู้ดีว่า โดยเฉพาะลูกๆ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อเผชิญกับการแตกแยกในชีวิตคู่ที่ไม่สุขสมหวัง มันก็เป็นเรื่องยากที่ใครจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและความเสียใจเหล่านั้น แม้ว่าผู้ใหญ่จะมีความแข็งแกร่งพอที่จะก้าวผ่านมันไปได้ แต่สำหรับเด็กๆ บางครั้งมันอาจเป็นการสะเทือนใจครั้งใหญ่ และเป็นบาดแผลที่ยากจะหายได้ ซึ่งต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างมากจากผู้ปกครอง

ทว่า มีกรณีหนึ่งที่น่าสะเทือนใจ แทนที่จะเยียวยาบรรเทาความเจ็บปวดให้กับลูกๆ ผู้เป็นพ่อกลับมีการตอบสนองที่ไม่น่าชื่นชมเลย โดยตามรายงานของเว็บไซต์ข่าว SOHA ผู้หญิงคนหนึ่งในประเทศเวียดนาม ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับท่าทางและพฤติกรรมของลูกสาวที่กำลังเรียนอยู่ในชั้น ม.1 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการหย่าร้างของพ่อแม่

ผู้เป็นแม่แชร์ว่า "การเป็นพ่อแม่ที่ไม่ได้มอบชีวิตที่มีความสุขให้ลูก ตอนนี้แม้แต่ความรักที่มีน้อยนิดก็ยังไม่ได้ให้ลูกได้สัมผัสเลย ฉันพยายามดูแลลูกให้ดีตลอด แต่เดือนนี้อาจจะทำให้ลูกเห็นแม่ลำบากเพราะของขายไม่ดี และลูกค้าก็เร่งให้ปิดยอดก่อนสิ้นปี จึงทำให้ลูกต้องขอเงินเรียนพิเศษจากพ่อ แต่พ่อกลับพูดแบบนี้

ปีนี้ลูกสาวอยู่มัธยมต้น ยิ่งโตก็ยิ่งเก็บตัว พูดคุยกับคนอื่นน้อยลง ครอบครัวก็เริ่มแตกแยก ความรักจากพ่อก็ไม่มีจริงๆ ถึงฉันจะพูดกี่ครั้งว่ารักเธอ แต่สำหรับเธอ ความทรงจำในวัยเด็กยังคงแย่มาก"

ทั้งนี้ คุณแม่ยังได้แชร์ภาพข้อความที่แลกเปลี่ยนระหว่างพ่อกับลูกสาว โดยลูกสาวได้ส่งข้อความขอเงินพ่ออย่างสุภาพ พร้อมกับอีโมจิที่น่ารักมาก "พ่อคะ เดือนนี้หนูขอเงินค่าเรียนภาษาอังกฤษได้ไหมคะ? ของหนู 3 ล้าน 7 ร้อยดอง ส่วนของน้องบี 3 ล้าน 3 ร้อยดองค่ะ"

แต่คำตอบที่กลับมาจากข้อความเหล่านั้น คือคำพูดที่เย็นชาและแฝงไปด้วยการทำร้ายจิตใจจากพ่อ "พ่อจะส่งเงินให้แคน้องงเท่านั้น ตามปกติแล้วพ่อจะต้องเป็นคนดูแลน้อง ส่วนแม่ดูแลลูก แต่แม่ขอเลี้ยงทั้งสองคนเอง ดังนั้นพ่อจะจ่ายแค่ค่าเรียนของน้อง ส่วนค่าเทอมของลูกแม่จะเป็นคนจ่ายนะ บอกให้แม่ใช้จ่ายอย่างประหยัดนะ อย่าฟุ่มเฟือยจนถึงเวลาที่ต้องการเงินจะไม่สามารถหาทางออกได้แบบนี้"

Advertisement

หลังจากเรื่องนี้ถูกแชร์ออกไป ก็ได้รับความคิดเห็นที่แตกต่างจากชุมชนออนไลน์ หลายคนแสดงความไม่พอใจเมื่ออ่านข้อความของพ่อ เพราะมันทำให้เด็กๆ ได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจ และมีความแตกต่างระหว่างพี่น้อง โดยเห็นว่าเรื่องของผู้ใหญ่ควรจะแก้ไขกันเอง ไม่ควรนำความเครียดมาใส่เด็กจนทำให้พวกเขาได้รับความเจ็บปวดและปัญหาทางจิตใจ

"ฉันไม่สนใจว่าความสัมพันธ์ของพ่อแม่จะเป็นยังไง แต่ถ้าไม่อยากให้ลูกสาวเรียนต่อโดยใช้เงินพ่อ ก็ยังมีหลายวิธีที่สามารถพูดให้ลูกเข้าใจได้ ถ้าคิดดีๆ เขาควรจะพูดว่า 'พ่อมีเงิน 4 ล้าน พ่อจะจ่ายให้ลูกคนหนึ่งก่อน แล้วถ้าพ่อได้เงินเดือนหรือหารายได้เพิ่มมา พ่อจะช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนต่ออีก' แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยไปพูดคุยกับแม่ของเด็กๆ เรื่องการแบ่งปันค่าใช้จ่าย ค่าเล่าเรียนก็ไม่สายเกินไป การพูดแบบนี้เหมือนเป็นการด่าว่าแม่ และบอกว่าแม่เป็นคนที่ต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกทั้งหมด ฉันสงสารเด็กๆ ที่ต้องเติบโตในสภาพครอบครัวที่แตกแยกแบบนี้"

"ไม่รู้สถานการณ์ทางการเงินของพ่อเป็นยังไง แต่พูดแบบนี้กับลูกตัวเองมันไม่ดีเลย คนที่เสียใจที่สุดคือเด็กๆ! มีบางเรื่องที่ต้องคิดอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ แต่สิ่งเดียวที่ควรปกป้องและรักษาให้ดีคือลูกๆ ฉันเชื่อว่าความรักของแม่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น และจะเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปจากพ่อที่ไม่สนใจลูกเลย หวังว่าเด็กๆ จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม..."

“ในการปฏิเสธลูก ผู้ใหญ่ควรจะมีวิธีพูดอย่างละเอียดอ่อน ในกรณีนี้ควรจะพูดกับแม่ของเด็กแทนที่จะพูดตอกหน้ากับลูกสาวตัวน้อยแบบนี้ แม้ว่าเธอจะยังเรียนแค่ชั้นมัธยมปีที่ 1 แต่คำพูดของพ่อคงมีผลกระทบอย่างมากต่อความคิดของเธอ ว่าพ่อแม่แยกทางกันแล้ว ความรักและความเอาใจใส่จากพ่อก็ลดลง ห่างเหิน และไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้