คนไข้ติด "น้ำอัดลม" เลิกดื่ม 2 เดือน หมอเฉลยผลตรวจเลือด สิ่งที่เซอร์ไพรส์ไม่ใช่ค่าน้ำตาลลดลง

คนไข้ติด "น้ำอัดลม" เลิกดื่ม 2 เดือน หมอเฉลยผลตรวจเลือด สิ่งที่เซอร์ไพรส์ไม่ใช่ค่าน้ำตาลลดลง

คนไข้ติด "น้ำอัดลม" เลิกดื่ม 2 เดือน หมอเฉลยผลตรวจเลือด สิ่งที่เซอร์ไพรส์ไม่ใช่ค่าน้ำตาลลดลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนไข้ติด "น้ำอัดลม" เลิกดื่ม 2 เดือน หมอมาเฉลยความเปลี่ยนแปลงของผลตรวจเลือด สิ่งที่เซอร์ไพรส์ไม่ใช่ค่าน้ำตาล 

เจียง กวนอวี้ แพทย์แผนบูรณาการ แชร์เคสผ่านเฟซบุ๊ก 姜冠宇醫師 ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงที่ดื่มน้ำอัดลมทุกมื้อ หลังจากเลิกดื่มเพียง 2 เดือน คอเลสเตอรอลรวมลดลงถึง 36% และ ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 67% แม้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) ยังคงต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-C) ลดลงอย่างชัดเจน จนอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย สะท้อนถึงความสำคัญของการลดน้ำตาลและพลังงานส่วนเกินต่อการควบคุมไขมันในเลือด

เจียง กวนอวี้ โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก ระบุว่า ผู้ป่วยรายนี้เคยตรวจพบความผิดปกติของการทำงานของตับระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล ต่อมาหลังกลับไปตรวจซ้ำ พบว่าไขมันในเลือดสูง แม้ได้รับยาลดไขมันแต่ก็ทานยาไม่สม่ำเสมอ และหยุดยาเอง 1 เดือน เนื่องจากลืมไปรับยาต่อ หลังจากนั้นได้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเลิกดื่มน้ำอัดลมทุกมื้อ และลดอาหารที่มีรสจัดหรือไขมันสูง โดยไม่ได้ออกกำลังกายเพิ่ม

ผลการเปลี่ยนแปลงใน 2 เดือน

  1. คอเลสเตอรอลรวม (Cholesterol): ลดจาก 245 mg/dL เหลือ 157 mg/dL ลดลงถึง 36% ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงปกติ
  2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides, TG): ลดจาก 360 mg/dL เหลือ 119 mg/dL ลดลงถึง 67% และเข้าสู่ช่วงค่ามาตรฐาน หมอเจียงอธิบายว่า ไตรกลีเซอไรด์ตอบสนองต่อการลดน้ำตาลและพลังงานส่วนเกินได้รวดเร็วมาก
  3. คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C): เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 33 mg/dL เป็น 36 mg/dL แม้ยังต่ำกว่าค่ามาตรฐาน (>40 mg/dL) แต่มีแนวโน้มดีขึ้น
  4. คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-C): ลดจาก 141 mg/dL เหลือ 98 mg/dL อยู่ในช่วงค่าที่ปลอดภัย (
Advertisement

เจียง กวนอวี้ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าต่าง ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ อาจทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของผลตรวจ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแนวโน้มโดยรวม การเปลี่ยนแปลงค่าคอเลสเตอรอลทั้งหมด, TG, LDL, และ HDL เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งไม่น่าจะเกิดจากความผิดพลาดในการตรวจ

การลดน้ำตาลและพลังงานส่วนเกิน โดยเฉพาะการเลิกดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง มีผลดีต่อการลดไขมันในเลือด นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น ลดอาหารมัน-หวาน-พลังงานสูง ร่วมกับการออกกำลังกายและควบคุมอาหารเพิ่มเติม จะช่วยเพิ่ม HDL และลด TG ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรตรวจติดตามสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่มั่นคงในระยะยาว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้