ศอฉ.รับหนังสือ วีระ ยื่นเสนอ 3ข้อปรองดอง

ศอฉ.รับหนังสือ วีระ ยื่นเสนอ 3ข้อปรองดอง

ศอฉ.รับหนังสือ วีระ ยื่นเสนอ 3ข้อปรองดอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วีระ มุสิกพงศ์ ส่งหนังสือถึง ยื่น 3 ข้อเสนอแผนปรองดอง ขณะ ศอฉ.ยันทำไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงผลการประชุม ศอฉ.ว่า นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. โดยเสนอแนวทางการปรองดอง 3 ข้อ คือ
1.แผนการปรองดองควรได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย และดำเนินการอย่างรวดเร็ว
2. การปล่อยให้กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ เป็นผลเสียมากกว่าผลดี จึงควรให้คำแนะนำเพื่อเป็นไปตามหลักที่ถูกต้อง และ
3. ควรแยกแยะกลุ่มบุคคล ที่เคลื่อนไหวอย่างสันติ ออกจากกลุ่มเคลื่อนไหวรุนแรง และให้มีการประกันตัวแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเรื่องดังกล่าว ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า การดำเนินการควบคุมผู้ต้องหา เป็นไปตามขั้นตอน
ของกฎหมายอาญา ไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับ ศอฉ. หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ดังนั้นรัฐบาลและศอฉ. คงไม่สามารถเข้าไปก้าวก่าย และทำตามที่ นายวีระ ร้องขอได้เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจในการดำเนินการ

นอกจากนี้ พ.อ.สรรเสริญ ยังกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้สรุปเหตุการณ์ระเบิด ที่สมานเมตตาแมนชั่น ให้ที่ประชุมรับทราบว่า จากการตรวจสอบดีเอ็นเอของ แขน ตัว และลายนิ้วมือ ตรงกับลายนิ้วมือของนายสมัย วงศ์สุวรรณ์ ผู้เสียชีวิต ซึ่งเคยเก็บข้อมูลเก่าบันทึกไว้

พร้อมกันนี้ ศอฉ.ยังได้ขอบคุณผู้ชุมนุมจัดกิจกรรมช่วงเดือน ต.ค.สงบเรียบร้อย พร้อมสั่งตรวจสอบเรือนจำทั่วประเทศ ค้นหาผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมไม่เป็นธรรม

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. แถลงว่า ที่ประชุมได้หารือและทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัย ในการจัดกิจกรรมทางการเมือง ช่วงเดือน ต.ค. พร้อมขอบคุณกลุ่มผู้ชุมนุม ที่จัดกิจกรรมอยู่ในกรอบของกฎหมาย และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งหวังว่าการจัดกิจกรรมในวันที่ 10 ต.ค.จะมีการปฏิบัติตามกรอบที่กฎหมายวางไว้เช่นเดิม ขณะเดียวกันฝากเตือนกลุ่มผู้ชุมนุม เรื่องข้อความที่ใช้ในแผ่นป้าย เพราะอาจมีลักษณะหมิ่นเหม่ต่อการจาบจ้วงสถาบัน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ โฆษกศอฉ. ยังกล่าวด้วยว่า ผอ.ศอฉ. ได้ชี้แจงถึงการหารือกับผู้ว่าฯ กทม. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมอบหมายให้ กทม. เป็นผู้ดูแลเรื่องติดตั้งกล้อง CCTV ในพื้นที่เสี่ยงตามที่ สตช. เป็นผู้กำหนด รวมทั้งให้มีการประสานงานระหว่าง สตช.กับ กทม. ในการใช้กำลังพลป้องกันการก่อเหตุ ขณะที่อธิบดีดีเอสไอ ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า นายกฯ ได้สั่งให้กรมราชทัณฑ์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และดีเอสไอ ดำเนินการตรวจสอบเรือนจำ 17 แห่งทั่วประเทศ ว่ามีผู้ต้องหาคนใดบ้าง ที่ถูกจับกุมในช่วงการชุมนุม แบบไม่ถูกต้อง ตามกระบวนการยุติธรรม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook