"กษิต" ยอมให้รัฐสภาพิจารณาบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ อย่างเปิดเผย

"กษิต" ยอมให้รัฐสภาพิจารณาบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ อย่างเปิดเผย

"กษิต" ยอมให้รัฐสภาพิจารณาบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ อย่างเปิดเผย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยอมให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณาบันทึกการประชุม JBC 3 ฉบับ อย่างเปิดเผย ยกเว้นเรื่องเกี่ยวกับการทหารและชายแดน เพราะเกรงกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ช่วงบ่ายวันนี้ (26 ต.ค.53) มี นายประสพสุข บุญเดช รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีการพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา หรือ JBC รวม 3 ฉบับ และรายงานผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย - กัมพูชา หรือ GBC ครั้งที่ 6 ซึ่งก่อนเข้าสู่การพิจารณา นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกรัฐสภา ขอให้ที่ประชุมอภิปรายในประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดยไม่จำกัดเวลา และให้ที่ประชุมโดยเปิดเผยไม่ให้มีการประชุมลับ หากจะมีการประชุมลับขอให้พิจารณาเป็นกรณีไป รวมทั้งให้คณะรัฐมนตรีให้คำมั่นกับรัฐสภาว่า บันทึกการประชุมดังกล่าวจะเป็นเพียงการรับรองข้อบันทึกการประชุมที่ผ่านไปแล้วเท่านั้น ส่วนเอกสารแนบข้อตกลงระหว่างไทย - กัมพูชา หากมีการตกลงกันได้ขอให้นำรายละเอียดกลับมาขอมติจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอีกครั้ง
ขณะที่ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่า จะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง แต่ที่ต้องให้เป็นการประชุมลับ เพราะไม่ต้องการให้ประเด็นต่างๆ เป็นประเด็นการเมืองและไม่ต้องการให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการดำเนินการจะยึดประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตาม จากข้อเสนอดังกล่าวทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เนื่องจากสร้างความไม่พอใจให้กับ นายคำนูณ สิทธิสมาน และสมาชิกรัฐสภา ที่เห็นว่าไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริง ประธานจึงต้องสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 5 นาที ก่อนที่จะตกลงกันได้โดยนายกษิต ยอมให้ประชุมแบบเปิดเผยได้ แต่ขอให้ประชุมลับในประเด็นที่เกี่ยวกับแนวชายแดน และด้านการทหาร ที่อาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ นายคำนูญ กล่าวว่า คัดค้านเรื่องนี้มาเกือบ 2 ปีเต็ม โดยเรียกร้องให้ยกเลิก MOU ปี 2543 และขอคืนพื้นที่ของไทยทั้งหมด พร้อมกับห้ามให้ชาติอื่นมาสร้างถาวรวัตถุในเขตประเทศไทย ขณะเดียวกันเรียกร้องให้ชักชวนประเทศกัมพูชา มาทำ MOU ร่วมกันใหม่เพื่อทำหลักเขตแดน โดยยึดหลักเขตแดนตามสันปันน้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook