ประวัติกีฬาซีเกมส์ SEA GAMES

ประวัติกีฬาซีเกมส์ SEA GAMES

ประวัติกีฬาซีเกมส์ SEA GAMES
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประวัติกีฬาซีเกมส์

กีฬาซีเกมส์: กำเนิดมาจาก "กีฬาแหลมทอง" (SEAP GAMES) และ กีฬาแหลมทอง ได้เกิดขึ้นที่ไทยโดยคนไทย และสิ้นสุดที่ไทยก่อนจะกลายเป็น "ซีเกมส์ (SEA GAMES)” ในปัจจุบัน

กีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES) กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปลายปี 2500 ด้วยการริเริ่มของ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ โดยในระยะนั้นประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้มีการติดต่อทางการกีฬากันเป็นประจำ โดยเฉพาะพม่าได้มีสาส์นเชิญประเทศไทยให้ส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขัน ฟุตบอล รักบี้ แบดมินตัน เทนนิส มวยสากล บาสเกตบอล กรีฑา เป็นประจำเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเพณีก็ว่าได้

ด้วยเหตุนี้ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการ โอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ จึงได้เกิดความคิดขึ้นมาว่า "น่าจะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง" ขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับ "เอเชี่ยนเกมส์" หรือ "โอลิมปิกเกมส์" เพราะประชาชาติที่อยู่ในภาคพื้นนี้มีความเป็นอยู่ อากาศและรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการกีฬาของชาติในกลุ่มแหลมทองให้สูงขึ้นเพื่อเตรียมเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมส์ใหญ่ ๆ เช่น เอเชี่ยนเกมส์ และ โอลิมปิกเกมส์ และเพื่อให้นักกีฬาของแต่ละประเทศในแถบนี้ได้มีความสามารถฝึกฝนสมรรถภาพของตนให้มีมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมส์ใหญ่ ๆ และข้อสำคัญ คือ เป็นการสร้างสรรค์ความสัมพันธไมตรีและความร่วมมือระหว่างชาติเพื่อนบ้านในภาคพื้นแหลมทองด้วยกัน

ปี 2501 คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ได้นำความคิดเห็นของท่านฝากไปกับ ม.ร.เดฟ คิชเตอร์ ผู้ฝึกสอนกิตติมศักดิ์ของสมาคมกรีฑาไทยที่จะเดินทางไปประเทศเขมร เวียดนาม เป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2501 เพื่อได้ปรึกษาและซาวเสียงต่างประเทศเหล่านั้น

ปรากฏว่าทั้งเขมร เวียดนาม ในสมัยนั้นได้สนับสนุนความคิดริเริ่มของ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อย่างเต็มที่ ต่อมาคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ จึงได้นำความคิดเห็นของท่านที่จะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง รวมทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติเพื่อนบ้านเสนอเป็นการปรึกษาต่อที่ประชุมคณะกรรมการโอลิมปิคฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วรับหลักการเห็นควรให้จัดการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2501 พร้อมกับได้มอบให้คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้ดำเนินการวางโครงการและรายละเอียดต่อไป และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อมา

ในระหว่างการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 3 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2501 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ , นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้แทนไทยเดินทางนำข้อเสนอแนะ การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มแหลมทองไปปรึกษาหารือกับประเทศในภาคพื้นแหลมทองที่โตเกียว ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมคือ ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เขมร และเวียดนาม ที่ประชุมได้เห็นชอบและมีมติให้ใช้ชื่อในการแข่งขันว่า "กีฬาแหลมทอง" (SEAP GAMES - SOUTH EAST ASIA PENINSULAR GAMES) และเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยจึงกำหนดจัดให้มีการแข่งขันครั้งแรกที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2502

ต่อมาได้มีการแต่งตั้งให้ พล.ท.ประภาส จารุเสถียร (ยศในสมัยนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานมนตรีสหพันธ์กีฬาแหลมทองคนแรก และคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันครั้งที่ 1

ชาติสมาชิกที่ร่วมแข่งในกีฬาซีเกมส์

  • BRU    บรูไน
  • CAM    กัมพูชา
  • INA    อินโดนีเซีย
  • LAO    ลาว
  • MAS    มาเลเซีย
  • MYA    เมียนมา
  • PHI    ฟิลิปปินส์
  • SIN    สิงคโปร์
  • THA    ไทย
  • TLS    ติมอร์ เลสเต
  • VIE    เวียดนาม

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) องค์กรการกีฬา ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาในระดับภูมิภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย ไทย ประเทศไทย สหพันธรัฐมาลายา มลายา เวียดนาม เวียดนามใต้ ลาว ราชอาณาจักรลาว ประเทศพม่า พม่า และ ประเทศกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (หลังจากนั้น สิงคโปร์ สิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย) โดยตกลงร่วมกันว่า จะจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างภูมิภาคขึ้นในทุกสองปี คือกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครของไทย ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬา จากประเทศไทย มลายา สิงคโปร์ เวียดนามใต้ ลาว และพม่า เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด รวมทั้งสิ้น 527 คน สำหรับกัมพูชา เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ซีเกมส์ ดังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งมีมติให้ อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ และ บรูไน บรูไน เข้าเป็นสมาชิกและกรรมการสมาพันธ์อย่างเป็นทางการ จึงได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 9 ที่กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เป็นครั้งแรกด้วย และในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมาพันธ์ฯ มีมติให้ ประเทศติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่ฮานอยของเวียดนาม

สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 154 กรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ในวาระครบรอบ 48 ปีของซีเกมส์ โดยนับตั้งแต่การแข่งขันกีฬาแหลมทองเป็นต้นมา

ประเทศเจ้าภาพซีเกมส์

เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุด 3 ครั้งคือ

  • กรุงเทพมหานคร ของไทย ในปี พ.ศ. 2502, 2510 และ 2518


นครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้งมี 2 เมืองคือ

  • กรุงย่างกุ้ง ของพม่า ในปี พ.ศ. 2504 และ 2512
  • กรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2508 และ 2514

ส่วน กรุงพนมเปญ ของกัมพูชา เคยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2506 แต่เนื่องจากปัญหาภายในประเทศ ก่อนแข่งขันจึงต้องประกาศยกเลิกไป

 
เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุดถึง 4 ครั้งคือ

  • กรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2520, 2532, 2544 และ 2560

นครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 1 ครั้ง คือ

  • กรุงเทพมหานคร ของไทย (พ.ศ. 2528)
  • กรุงจาการ์ตา ของอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2522, 2530, 2540 และ 2554 ร่วมกับเมืองปาเล็มบัง)
  • สิงคโปร์ (พ.ศ. 2526, 2536 และ 2558)
  • กรุงฮานอย ของเวียดนาม (พ.ศ. 2564 ร่วมกับเมืองนครโฮจิมินห์)
  • กรุงมะนิลา ของฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2524, 2534, 2548 และ 2562)
  • ส่วน กรุงย่างกุ้ง ของพม่า เคยเป็นเจ้าภาพมาสองครั้ง ตั้งแต่ส่วนการแข่งขันในปี พ.ศ. 2556 เมียนมายังคงจัดที่นครหลวง แต่หลังจากประกาศย้ายไปยังกรุงเนปยีดอ และเปลี่ยนชื่อประเทศไปเมื่อปี พ.ศ. 2553
  • ขณะที่เวียดนามให้ กรุงฮานอย และ นครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2546
  • กรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวัน ของบรูไน (พ.ศ. 2542)
  • กรุงพนมเปญ ของกัมพูชา (พ.ศ. 2566)
  • นครหลวงเวียงจันทน์ ของ สปป.ลาว (พ.ศ. 2552) เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วเมืองละหนึ่งครั้ง

สำหรับกรณีประเทศไทย การแข่งขันในปี พ.ศ. 2538 จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งแรก ที่จัดแข่งขันนอกนครหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2550 จัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งที่สอง

การแข่งขันครั้งล่าสุด

  • กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29  ผลการแข่งขันปรากฏว่า

  1. "เจ้าภาพ" มาเลเซีย โกยเหรียญทองไปมากที่สุด ด้วยจำนวนถึง 154 เหรียญทอง

  2. ส่วนทัพนักกีฬาไทยของเรา จบด้วยอันดับที่ 2 ด้วยการทำไปทั้งสิ้น 72 เหรียญทอง 86 เหรียญเงิน 88 เหรียญทองแดง  

  3. อันดับที่ 3 เวียดนาม (58 เหรียญทอง) ที่เฉือน สิงคโปร์ (57 เหรียญทอง) ไปเพียง 1 เหรียญทอง

  • กีฬาซีเกมส์ 2019 ครั้งที่ 30

ส่วนการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 30  จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 540 เหรียญทอง ใน 59 กีฬา โดยครั้งนี้ เป็นการจัดการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 30 เป็นการจัดการแข่งขันที่มีนักกีฬาทั้งหมดจาก 11 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมแข่งขัน จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-11 ธันวาคม พ.ศ. 2562

โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ของประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากที่เป็นเจ้าภาพในปี 1981, 1991 และ 2005 ตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการจัดการแข่งขันในรอบ 14 ปี ของประเทศฟิลิปปินส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook