"ดิ อาบู ดาบี ซานติอาโก้ เบอร์นาบิว??!"

"ดิ อาบู ดาบี ซานติอาโก้ เบอร์นาบิว??!"

"ดิ อาบู ดาบี ซานติอาโก้ เบอร์นาบิว??!"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผมอ่าน “บีบีซี” พบข่าว เรอัล มาดริด เตรียมเปลี่ยนชื่อสนามแข่งขันตาม “สปอนเซอร์” รายใหม่แล้วแอบอุทานเบาๆ ในใจ “อืมมม...”

ไม่ได้แปลกใจครับ เพราะทราบดีว่า วันหนึ่งวันใด เรื่องแบบนี้จะหนีไม่พ้นทีมฟุตบอลโดยเฉพาะทีมใหญ่ มีศักยภาพสูง

เพราะทุกวันนี้ “อุตสาหกรรมฟุตบอล” เป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ และบริหารจัดการโดยมืออาชีพทาง “การตลาด” ที่แบ่งแยกชัดเจนแผนกต่างๆ และหน้าที่ในการทำงาน

แผนก “สปอนเซอร์ชิพ” หรือ Sponsorship Department เป็น 1 แผนกใน “ฝ่ายการตลาด” จะทำหน้าที่ในการหารายได้สู่สโมสร ซึ่งตามประสบการณ์ของผมแล้ว ถูกแบ่งเป็น 2 หัวข้อ: 1.เพิ่มรายรับ หรือ 2.ลดรายจ่าย

ทีมงานส่วนนี้จะ “ครีเอต” สิ่งที่เรียกว่า “แพ็กเกจ” ทั้งขนาดใหญ่ (ราคาสูง – สิทธิประโยชน์ตอบแทนมาก) ไล่เรียงไปที่ขนาดรองๆ ลงไปตาม “ศักยภาพ” ของคู่ค้า (พาร์ตเนอร์) ที่ได้ประเมินการ และเล็งเห็น

แพ็กเกจ ก็เช่น โฆษณาบนหน้าอกเสื้อ, ป้ายรอบสนาม, สิทธิในการขายสินค้า เช่น เครื่องดื่ม, สิทธิในการใช้โลโก้สโมสร กับตราสินค้าตัวเอง ฯลฯ

นั่นคือ แพ็กเกจ แบบเบสิก หรือมาตรฐานสุดๆ นะครับ

ทว่าในปัจจุบันนี้ นักการตลาด และนักขายได้มีความพยายามในการแบ่งซอย “แพ็กเกจย่อย” ต่างๆ ออกไปอีกมากมายชนิดที่ต้องอุทาน หรือร้อง “ว้าว” ตกใจเอาได้

ล่าสุด ผมเห็นป้ายบิลบอร์ด ธนาคารกรุงเทพ กับนักเตะสโมสรเชลซี ในฐานะ “พาร์ตเนอร์” เฉพาะในประเทศไทย เป็นต้น

คำถาม คือ ใครจะคิดครับว่า ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยจะไปเป็นพาร์ตเนอร์กับสโมสรฟุตบอลอังกฤษได้

หรือในทางการตลาด คือ ไปหา “ตัวเชื่อม” มาลิงก์กันได้อย่างไร!?

นี่แหละครับ คือ ความ “มหัศจรรย์” ของการตลาดกีฬา!!!

ดังนั้นจึงไม่แปลกครับโดยเฉพาะในเกาะอังกฤษที่สโมสรฟุตบอลส่วนใหญ่ล้วนมี “ชื่อสนาม” เป็นชื่อสปอนเซอร์กันมากมาย

เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม, เอติฮัด สเตเดี้ยม ฯลฯ

อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์โดยทีมการตลาดที่สุดท้ายต้องหาเส้นกั้นให้ได้ระหว่างความพอดีทางธุรกิจ และวัฒนธรรมสโมสรฟุตบอล

ซึ่งสำหรับประเด็นของผมในวันนี้ เรอัล มาดริด กำลังเตรียมแลกเงิน 500 ล้านยูโร กับชื่อสนาม “ซานติอาโก้ เบอร์นาบิว”


โดยบริษัทลงทุนน้ำมัน แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ตกลงดีลไว้แล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และปรับชื่อใหม่เป็น ดิ อาบู ดาบี ซานติอาโก้ เบอร์นาบิว (The Abu Dhabi Santiago Bernabeu)

ซึ่งยังคงชื่อเต็ม ซานติอาโก้ เบอร์นาบิว เอาไว้

เงินที่ได้จะนำไปปรับความจุสนามจาก 81,000 ที่นั่ง เป็น 90,000 ที่นั่ง รวมสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เป็นสนามที่ดีที่สุดในโลก

ซึ่งต้องแลกด้วยศักดิ์ศรี ประวัติศาสตร์ยาวนานนับจาก 1947

คุ้ม ไม่คุ้ม...วัดยากครับ เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ แต่ที่แน่ๆ นี่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่ “บิ๊กทีม” ยุโรปเปลี่ยนชื่อสนามแข่งขันครับ

ไข่มุกดำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook