ประวัติการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์

ประวัติการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์

ประวัติการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก (อังกฤษ: Paralympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (International Paralympic Committee; IPC) โดยในปัจจุบัน กีฬาพาราลิมปิกจะจัดขึ้น หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลง และประเทศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น ก็จะเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกด้วย
 
ในปี ค.ศ. 1948 ดอกเตอร์ลุดวิก กูทมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ ได้มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจ ของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2[1] และจัดแข่งขันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1952 ที่อังกฤษเช่นกัน แต่ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก

นับแต่นั้นมา ก็มีการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นกิจจะลักษณะต่างกรรมต่างวาระ มาเป็นระยะๆ จนถึงปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงโรมของอิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็ปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ” ด้วยการจัดในเมืองเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า

จนถึงปี ค.ศ. 1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว กล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่ม
 
สัญลักษณ์ของพาราลิมปิกเกมส์ เป็นแถบโค้งสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว สามแถบคล้องกัน สำหรับธงพาราลิมปิกเกมส์ เป็นพื้นสีขาว มีสัญลักษณ์พาราลิมปิกอยู่กลางผืนธง ทั้งสองเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 และใช้กับการแข่งขันครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นคราวแรก

สำหรับผลงานของนักกีฬาไทย ในพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ผ่านมา เมื่อปี 2016 ที่ประเทศบราซิล สามารถคว้ามาได้รวมทั้งสิ้น 18 เหรียญ แบ่งเป็น 6 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน และ 6 เหรียญทองแดง จาก กรีฑา (4 ทอง 3 เงิน 2 ทองแดง) , บอคเซีย (2 ทอง 1 เงิน 2 ทองแดง) , ธนู (1 เงิน) , ฟันดาบ (1 เงิน) , เทเบิลเทนนิส (2 ทองแดง) จบอันดับ 23 จากทั้งหมด 176 ชาติที่เข้าร่วม ซึ่งนับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญรางวัลมากที่สุดตั้งแต่เข้าร่วมการแข่งขัน
 
สรุปนักกีฬาที่ได้เหรียญรางวัล ประกอบด้วย
เหรียญทอง : ประวัติ วะโฮรัมย์ 2 เหรียญ (วีลแชร์เรซซิ่ง 5000 และ 1,500 เมตร) , พงศกร แปยอ 2 เหรียญ (วีลแชร์เรซซิ่ง  400 เมตร และ 800 เมตร) , วัชรพล วงษา (บอคเซีย) , บอคเซีย ทีมผสม (พัทธยา เทศทอง, วรวุฒิ แสงอำภา, วัชรพล วงษา, สุบิน ทิพย์มณี)

เหรียญเงิน : พงศกร แปยอ (วีลแชร์เรซซิ่ง) , สายสุนีย์ จ๊ะนะ (วีลแชร์ฟันดาบหญิง) , หาญฤชัย เนตรศิริ (ธนู) , สายชล คนเจน (วีลแชร์เรซซิ่ง), วรวุฒิ แสงอำภา (บอคเซีย) , วีลแชร์เรซซิ่ง 4X400 เมตร (สายชล คนเจน, เรวัตร์ ต๋านะ, พงศกร แปยอ, ประวัติ วะโฮรัมย์)

เหรียญทองแดง : สายชล คนเจน (วีลแชร์เรซซิ่ง) , พิชญา คูรัตนศิริ (วีลแชร์เรซซิ่ง) , รุ่งโรจน์ ไทยนิยม (เทเบิลเทนนิส) , พรโชค ลาภเย็น (บอคเซีย) , เทเบิลเทนนิสทีมชาย (ยุทธจักร กลิ่นบานชื่น, อนุรักษ์ ลาววงษ์) , บอคเซีย คู่ผสม (เฉลิมพล ตันบุตร, พรโชค ลาภเย็น, นวลจันทร์ พลศิลา)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook