วิเคราะห์ ข้อดี-ข้อเสีย การแข่งข้ามรุ่นของ "เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ

วิเคราะห์ ข้อดี-ข้อเสีย การแข่งข้ามรุ่นของ "เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ

วิเคราะห์ ข้อดี-ข้อเสีย การแข่งข้ามรุ่นของ "เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทควันโดชิงแชมป์เอเชีย 2022 ประเภทต่อสู้จะเริ่มแข่งพรุ่งนี้ (24 มิ.ย.) เป็นวันแรก "เทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ แชมป์โอลิมปิก รุ่น 49 กิโลกรัม จะลงแข่งตั้งแต่วันแรก

แต่ครั้งนี้เธอจะลงเล่นในรุ่น 53 กิโลกรัม ซึ่งในปีนี้เธอเคยลงแข่งรุ่นดังกล่าวมาแล้วที่สเปน ทั้งๆ ที่โอลิมปิก 2024 เทควันโดไม่มีรุ่น 53 กิโลกรัม แต่ทำไม "เทนนิส" ถึงขยับขึ้นรุ่นนี้ จะพาไปดูเหตุผลและข้อดี-ข้อเสีย ของการแข่งข้ามรุ่น

 ข้อดี

- ลดความเครียด

"เทนนิส" อายุ 24 แล้วถือว่าไม่น้อยเลยสำหรับเทควันโด ยิ่งอายุมากขึ้น การจะคุมน้ำหนักให้อยู่ในเวทเดิมได้ตลอดนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากมาก ดังนั้นการปล่อยๆ น้ำหนักไปบ้างจะช่วยให้นักกีฬารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

- เปลี่ยนบรรยากาศ

นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา "เทนนิส" แข่งในรุ่น 49 กิโลกรัมมาตลอด 7 ปี คู่แข่งก็หน้าซ้ำๆ เดิมๆ รู้ทางกันเป็นอย่างดี แถมเธอเองก็ไม่แพ้ใครมา 3 ปีครึ่งแล้วด้วย ดังนั้นการขยับรุ่นขึ้นมาจะทำให้เธอได้เปลี่ยนบรรยากาศไปพบเจอคู่แข่งหน้าใหม่ๆ บ้าง ขณะเดียวกันก็ยังเป็นโอกาสได้พิสูจน์อีกครั้ง เพราะยิ่งคว้าแชมป์ได้หลายรุ่น ก็ยิ่งดูยิ่งใหญ่ แบบที่แมนนี่ ปาเกียว เคยได้แชมป์โลก 8 รุ่นกับการชกมวยสากลอาชีพ

- ลดโอกาสถูกคู่แข่งโอลิมปิกจับทาง

รอบชิงฯโอลิมปิก 2020 เราได้เห็นแล้วว่า อาเดรียนา เซเรโซ อิเกลเซียส (สเปน) สร้างความหนักใจให้ "เทนนิส" ได้มากขนาดไหน ซึ่งเธอคนนี้แหละจะเป็นคู่แข่งคนสำคัญแย่งเหรียญทองโอลิมปิก 2024 คงจะดีไม่น้อยหากว่าสิงห์ 2 ตัวไม่ต้องดวลกันบ่อย แต่ต่างฝายต่างทำสงครามเย็นเก็บข้อมูลกันไปเรื่อยๆ แล้วไปวัดกันในแมตช์สำคัญเลยทีเดียว เพราะอย่าลืมว่า หากดวลกันบ่อย ผู้แพ้มีโอกาสสูญเสียความมั่นใจ เพราะฉะนั่นปล่อยให้สถิติการพบกันต้อนนี้เป็นเราชนะ 1 แพ้ 0 ดีกว่า

-  ไม่กดดันต้องชนะ

ในรุ่น 49 กิโลกรัม "เทนนิส" แบกคำว่าไร้พ่ายและแชมป์โอลิมปิกมาตลอด แม้จะดูยิ่งใหญ่ แต่อีกมุมนั่นสร้างความกดดันให้เธอไม่น้อยว่าต้องชนะ แพ้เมื่อไหร่อาจถุูกตั้งคำถามว่าหมดแล้วหรือไม่ ดังนั้นการข้ามรุ่นขึ้นมาเท่ากับว่าเธอทิ้งความสำเร็จและชื่อเสียงเก่าๆ ไว้ข้างหลัง แล้วเริ่มพิสูจน์ตัวเองใหม่ซึ่งช่วยลดความกดดันให้เธอได้น้อย

- เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ได้โชว์ฟอร์ม

นอกจากจะเป็นผลดีกับ "เทนนิส" แล้ว ยังเป็นผลดีกับวงการเทควันโดด้วย เพราะเท่ากับว่าเราจะได้เห็นเด็กๆ เยาวชนรุ่นใหม่ก้าวขึ้นมาแข่งในรุ่น 49 กก. บ้าง จะได้เห็นกันไปเลยว่าใครมีดีพอที่จะก้าวขึ้นมาทดแทนเธอหรือไม่ ถ้าเจอเพชรก็เป็นผลดีที่จะให้เด็กๆ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์บ้าง แต่ถ้าหากยังไม่เจอก็มีเวลาไปปลุกปั้นกันต่อไป เพราะอย่างน้อยในรุ่นนี้ 49 กก. ยังมีเทนนิสเป็นเบอร์ 1 ของโลก


ข้อเสีย

- เสียเปรียบแรงปะทะ

การแบกน้ำหนักขึ้นแน่นอนว่าจะต้องเจอพวกที่เรียกใหญ่ธรรมชาติ หรือพูดง่ายๆ คือพวกที่หนัก 53-57 ซึ่งเรื่องแรงปะทะจะหนักกว่าคนแบกน้ำนักขึ้นไปอยู่แล้ว รวมไปถึงรวมร่างจะมีความสูงใหญ่และขนขายาวกว่าที่เคยเจอ ซึ่ง "เทนนิส" แม้จะมีรูปร่างสูงที่ได้เปรียบรุ่น 49 แต่ก็ยังถือว่าผอมบางเกินไปเมื่อต้องข้ามรุ่น นี่คือผลกระทบที่ต้องเจอแน่นอน และหากป้องกันตั้วไม่ดีอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บด้วย

- คุมน้ำหนักไม่ดี อาจลดกลับมาไม่ได้

ในวงการกีฬาต่อสู่ ไม่ว่าจะมวยหรือเทควันโด มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว ที่ปล่อยน้ำหนักตัวไปแล้วไม่สามารถลดกลับลงมาได้ แต่ก็มีหลายปัจจัยประกอบกันเช่น วินัย การซ้อม โภชนาการ เรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นอะไรที่ควรระวัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook