วิเคราะห์แนวทางการทำทีมของ "พ็อตเตอร์" กุนซือ เชลซี คนใหม่ [OPINION]

วิเคราะห์แนวทางการทำทีมของ "พ็อตเตอร์" กุนซือ เชลซี คนใหม่ [OPINION]

วิเคราะห์แนวทางการทำทีมของ "พ็อตเตอร์" กุนซือ เชลซี คนใหม่ [OPINION]
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถือเป็นข่าวช็อกวงการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ สำหรับบอร์ดบริหาร เชลซี ที่ตัดสินใจปลดฟ้าผ่าไล่ โธมัส ทูเคิล กุนซือมือพระกาฬที่เคยพาทีมคว้าแชมป์ยุโรปเมื่อปี 2021 จากการที่ผลงานของสโมสรไม่เป็นไปตามเป้าในช่วงต้นฤดูกาลที่ผ่านมา

อดีตก็คืออดีต จะพร่ำเพ้อไปมันก็คงไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะเพียงหนึ่งวันหลังจากนั้น สิงห์บลูส์ก็เปิดตัวนายใหญ่คนใหม่อย่าง เกรแฮม พ็อตเตอร์ เข้ามานั่งเก้าอี้กุนซือคนต่อไปเป็นที่เรียบร้อยชนิดที่ยังไม่ทันได้ทำใจ ก็ต้องมูฟออนก้าวต่อไปทั้งน้ำตาเลยก็ว่าได้
vเส้นทางการคุมทีม

ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษรายนี้เริ่มต้นอาชีพกุนซือกับการคุม ออสเตอร์ซุนด์ ทีมดังในลีกสวีเดนเมื่อปี 2011 ซึ่งในขณะนั้นยังเล่นอยู่ในระดับดิวิชั่น 3 ของประเทศ ซึ่งภายในฤดูกาลเดียวก็สามารถพาทีมเลื่อนชั้นมาเล่นในดิวิชั่น 2 ได้สำเร็จ และสามารถขึ้นสู่ลีกสูงสุดได้เมื่อปี 2016

กระทั่งปี 2018 โอกาสกับฟุตบอลอังกฤษก็มาถึงและเป็น สวอนซี ซิตี้ ที่ ณ เวลานั้นค้าแข้งอยู่ใน เดอะ แชมเปียนชิพ จัดการคว้าตัวมาคุมทีม ซึ่งผลงานก็ไม่ดีไม่แย่ พาทีมจบอันดับ 10

แต่แล้วช่วงซัมเมอร์ปี 2019 ไบรท์ตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน ที่เพิ่งจะแยกทางกับ คริส ฮิวตัน ก็มาทาบทามไปคุมทีมในลีกสูงสุดเมืองผู้ดีเป็นครั้งแรก ซึ่งนับตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงปัจจุบัน พ็อตเตอร์ ได้วางรากฐานจนผลผลิตของทัพนกนางนวลกำลังแบ่งบานได้ที่ในซีซั่นนี้ ด้วยผลงานยอดเยี่ยม รั้งอันดับ 4 ของตาราง แต่ก็ถูก เชลซี โฉบเอาตัวไปในที่สุด
cปรัชญาของ พ็อตเตอร์

อย่างที่หลายๆคนทราบกันดีว่า เขาคนนี้มีสไตล์การคุมทีมแบบค่อนข้างโมเดิร์นพอสมควร เน้นเกมรุก เน้นครองบอล มีการเข้าทำที่สวยงาม หลากหลาย และที่สำคัญ เป็นกุนซือที่ใช้แนวทางการเล่นแบบ 3 เซ็นเตอร์มาตั้งแต่สมัยที่คุมทีมใหม่ๆในลีกสวีเดนอีกด้วย ซึ่งนั่นอาจจะเป็นข้อดี เพราะนักเตะ เชลซี ที่ค่อนข้างคุ้นเคยกับระบบแบบนี้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนในแผนเกมรุกก็จะใช้วิงแบ็ก 2 ฝั่งซ้าย-ขวาทำหน้าที่เติมเกมริมเส้น ซึ่งที่นี่เขาจะได้ร่วมงานกับลูกมือที่คุ้นเคยอย่าง มาร์ค คูคูเรญา ที่ปลุกปั้นขึ้นมากับมือเมื่อซีซั่นก่อนอีกครั้ง ขณะที่กองกลางและกองหน้าค่อนข้างจะยืดหยุ่นพอสมควร เล่นได้หมดทั้งหน้า 3 กลาง 2 หรือกลาง 3 หน้า 2 แม้แต่หน้า 1 กลาง 4 ก็มีให้เห็นบ่อยๆ ซึ่งก็คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปรับใช้ตามความเหมาะสม
bแดนกลางคือหัวใจสำคัญ

แม้ว่า ไบรท์ตัน จะต้องเสียกำลังหลักไปถึง 3 รายในช่วงซัมเมอร์ทั้ง อีฟส์ บิสซูมา, มาร์ค คูคูเรญา และ นีล โมเปย์ แต่ พ็อตเตอร์ ก็สามารถสลับตำแหน่งการยืนภายในทีมให้สามารถทดแทนได้อย่างเหมาะสมและลงตัว เลอันโดร ทรอสซาร์ด และ ซอลลี่ มาร์ช ถูกขยับไปเป็นวิงแบ็ก และถอย อเล็กซิส แม็ค อัลลิสเตอร์ มาเป็นตัวปั้นเกมแบบดีพไลน์ เพลย์เมกเกอร์ คอยออกบอลกลางสนาม โดยมี ปาสกัล กรอสส์ และ มอยเซส ไซเซโด เป็นบ็อกซ์ทูบ็อกซ์ วิ่งขึ้นลงประสานงานเติมเกมรุกและรับ แถมยังมักจะให้ อดัม ลัลลานา และ เอน็อค เอ็มวีปู ลงมาช่วงแพ็กแดนกลาง

และเมื่อสามารถคุมจังหวะได้ทั้งรุกและรับ วิงแบ็กสองข้างก็แทบจะอิสระในการเติมเกม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ตำแหน่งถนัดของทั้ง มาร์ช และ ทรอสซาร์ด แต่ด้วยระบบที่ลงตัว ทำให้ผลงานของทั้งคู่โดดเด่นขึ้นมาจากการได้เติมเข้าไปลุ้นกรอบเขตโทษบ่อยๆ ซึ่งนี่ดูเหมือนจะเป็นไม้เด็ดที่ทำให้เกมของพวกเขาไหลลื่นจนสามารถโกยแต้มเป็นกอบเป็นกำได้ในช่วง 6 เกมที่ผ่านมา
dการขึ้นเกมที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร

ในขณะที่ทีมใหญ่ๆมีเทรนด์ในการสร้างสรรค์เกมจากหน้าปากประตูตัวเอง จะไม่มีการเปิดบอลยาวสาดจากหลังไปหน้า แต่จะค่อยๆต่อบอลออกบอลสั้นๆ ขึ้นจากผู้รักษาประตูมาที่กองหลัง หลังก็ผ่านไปกลาง กลางไปหน้าต่อ แต่ไม่ใช่สำหรับ พ็อตเตอร์ เพราะตั้งแต่เริ่มฤดูกาลใหม่ พลพรรคนกนางนวลเป็นทีมที่มีอัตราการเปิดบอลยาวมากเป็นอันดับที่ 4 จนถึง ณ เวลานี้ ซึ่งคิดเป็น 60% ของการผ่านบอลทั้งหมดเลยทีเดียว

แต่ .. เปิดยังไงให้มีประสิทธิภาพ นี่ต่างหากคือประเด็นสำคัญ ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่การเซ็ตเกมจากกองหลังซึ่ง 4 ประสานทั้ง ลูอิส ดังค์, โจเอล เวลต์มัน, แดัม เว็บสเตอร์ และ แม็ค อัลลิสเตอร์ ที่ถอยลงมารับบอล ยืนเป็นไดมอนด์เชปในแดนตัวเองคอยมองหาเพื่อนและออกบอล ยิ่งคู่แข่งเข้าบีบสูงก็ยิงเปิดพื้นที่ในแดนหลัง ซึ่งกองกลางคนอื่นๆโดยเฉพาะวิงแบ็กสองฝั่งจะสลับกันสอดขึ้นไปหน้าพื้นที่ว่าง แต่หากเป็นสถานการณ์ที่คู่แข่งยืมคุมโซน พวกเขาก็สามารถต่อบอลสั้นขึ้นเกมตามสไตล์พิมพ์นิยมได้เช่นเดียวกัน
mเกมรับที่เริ่มจากแดนศัตรู

อย่างที่เราเห็นๆว่า ไบรท์ตัน ฤดูกาลนี้มักจะเริ่มตั้งรับตั้งแต่แดนของคู่แข่ง แต่พวกเขาไม่ใช้การวิ่งมาร์กตัวไล่เพรสส์แบบที่หลายๆทีมชอบทำกัน พวกเขาจะใช้วิธียืนตั้งโซนในแดนศัตรู ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะยืนสูงแค่ไหนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยไม่จำเป็นต้องไล่ตั้งแต่หน้าเขตโทษ แต่ทุกคนจะประจำโซนปิดพื้นที่ของตัวเอง หากคู่แข่งเข้ามาในพื้นที่เมื่อไหร่ค่อยเข้าไปประกบและไล่กดดัน นั่นทำให้คู่แข่งที่พยายามขึ้นเกมจากแดนหลังทำได้อย่างยากลำบาก แต่การตั้งรับแบบนี้ก็อาจจะมีจุดอ่อนกับทีมที่วางบอลยาวแม่นๆและมีตัวเก็บบอลในแดนหน้าดีๆ เหมือนที่พวกเขาโดน ฟูแลม เล่นงานนั่นเอง

น่าสนใจว่าปรัชญาของ พ็อตเตอร์ ที่ได้วิเคราะห์ไปจะสามารถนำมาปรับใช้กับสิงโตน้ำเงินครามได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เวลาและดูกันไปยาวๆ โดยเหยื่อรายแรกของกุนซือคนใหม่จะเป็น เรด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก กลางสัปดาห์หน้า หลังจากเกมลีกเสาร์-อาทิตย์นี้ที่ตามโปรแกรมพวกเขาจะต้องบุกไปเยือน ฟูแลม ถูกเลื่อนออกไป

ก็คงต้องลุ้นกันว่าภารกิจกู้ชีพสิงห์บลูส์จะเปิดหัวได้ดีแค่ไหน แต่บอกได้เลยว่า ทูเคิล เคยสร้างมาตรฐานเอาไว้ค่อนข้างสูง และแน่นอนว่า พ็อตเตอร์ เองจะต้องถูกโยงมาเปรียบเทียบแน่นอน อย่างไรก็ตาม ในโลกของฟุตบอล ผลงานคือตัวชี้วัดทุกอย่าง ตราบใดที่เขาทำให้ทีมชนะได้ จะถูกวิจารณ์หนักแค่ไหน มันก็ไม่มีปัญหา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook