"ยูเมะพลัส" เปิดตัวสุดยิ่งใหญ่ วิ่งฮาล์ฟมาราธอนไทย
เตรียมปั้น 3 เส้นทางสุดยอดการแข่งขันวิ่งฮาล์ฟมาราธอนไทย ทั้งในกรุงเทพ, ลำพูน และเชียงราย สู่มาตรฐานโลก คาดมีนักวิ่งกว่า 2 หมื่นรายเข้าร่วมงานUmay+ Thailand RING 21.1 Series 2022 สร้างเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท
ยูเมะพลัส จับมือ 3 เมือง ร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้แก่จังหวัดเชียงราย, กรุงเทพมหานคร และจังหวัดลำพูน เตรียมปั้นเทศกาลวิ่ง Umay+ Thailand RING 21.1series ชูซีรีส์ 3 เส้นทางเอกลักษณ์ สู่มาตรฐานโลก เพื่อยกระดับปั้นการแข่งขันวิ่งฮาล์ฟมาราธอนระยะทาง 21.1 กม. และระยะทาง 10 กม. สู่รายการวิ่งระดับโลกชิงเงินรางวัลรวมทั้ง 3 สนาม มูลค่าเกือบ 1 ล้านบาท
โดยในงานได้รับเกียรติจาก มร.ทาเคโอะ โนดะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก, พลตรีอาณัติ รัตนพล ประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และ การท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร, คุณจักรกฤษณ์ เอ่งฉ้วน ท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดลำพูน และ ร่วมแถลงข่าวเตรียมความพร้อมในการจัดงาน
ภายในงานแถลงข่าว มีนักวิ่งชื่อดังของไทย และนักวิ่งจากเมืองเจ้าภาพ ให้เกียรติร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อาทิ “เฟิร์น ศุภนารี” อินฟลูเอ็นเซอร์และยูทูปเบอร์ ชื่อดังระดับประเทศ ที่มียอดฟอลกว่าครึ่งล้าน ผันตัวสู่นักวิ่งมาราธอนหน้าใหม่ พร้อมด้วย “สายฝน” ณัฐธยาน์ ธนรณวัฒน์ ไอคอนหญิงปอดเหล็ก อดีตนักวิ่งมาราธอน ชุดโอลิมปิก Rio Game 2016, “แม่อี๋” ยอดนักวิ่งหญิงไอดอลเชียงราย วัย 60 ปี ผู้พิชิต Berlin Marathon ปีล่าสุด ด้วยเวลา 4:25 ชั่วโมง และ นักวิ่งอินฟลูเอนเซอร์ดังอีกมากมาย
พลตรีอาณัติ รัตนพล ประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เปิดเผยว่า สมาคมกีฬากรีฑาฯ ได้เข้ามาร่วมกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและเทคนิคการแข่งขันรายการนี้ ซึ่งยังรวมไปถึงตัดสินการแข่งขัน และภาพรวมของการแข่งขันประเภทแชมเปี้ยนชิพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับสนามแข่งขันในรูปแบบ Mass Participation (กีฬามวลชน) ที่มีนักวิ่งจำนวนมาก อันจะเป็นการต่อยอดการสร้างรายได้เชิงเศรษฐกิจให้แก่เมืองเจ้าภาพในการจัดงาน
พลตรีอาณัติ รัตนพล ประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าวต่อไปว่า ทั้ง 3 สนามถือว่าเข้าเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งทางสมาคมฯ มีส่วนร่วมในการส่งเสริม และพัฒนาการการแข่งขันทั้ง 3 สนามมาตั้งแต่ปี 2560 ที่สำคัญเวลานี้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานของสมาพันธ์กรีฑาเอเชีย ดังนั้นจะถือได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบในการนำเสนอการแข่งขันทั้ง 3 สนามนี้ รวมถึงสนามอื่นๆในประเทศ ให้เข้าสู่มาตรฐานของเอเชีย ส่วนโอกาสยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ ทั้ง 3 สนามมีการปฎิบัติตามขั้นตอน โดยมีกระบวนการวัดเส้นทางตามระเบียบของสหพันธ์ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มการสร้างมาตรฐานโลกจากเส้นทางระยะ 21.1 กม. ซึ่งก็แน่นอนว่าจะมีโอกาสยกระดับไปสู่การแข่งขันระดับโลกได้ด้วยเช่นกันในอนาคต
ด้านจังหวัดเชียงราย เผยว่า เชียงรายมีความพร้อมทุกด้าน หลังจากได้ฟื้นฟูมิติการต้อนรับแขกผู้มาเยือนต่างๆทั้งในและต่างประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง และด้วยระบบพื้นฐานที่ได้มาตรฐานสากล ทั้งสนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร และบริการต่างๆ ทำให้สามารถการันตีได้เลยว่าเชียงรายพร้อมรับทุกกิจกรรมและเทศกาลที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงการแข่งขัน Umay+ Chiangrai 21.1 Marathon 2022 ในวันที่ 20 พ.ย.65
“ส่วนไฮไลท์ของสถานที่สำคัญ ที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของเมืองบนเส้นทางการแข่งขันวิ่ง Umay+ Chiangrai 21.1 Marathon 2022 ที่ไม่ควรพลาดคือจุดปล่อยตัวของนักวิ่ง วัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญและเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกของเชียงราย รวมถึงเส้นทางวิ่งที่ผ่านวัดห้วยปลากั้ง, อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย, หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติเชียงราย และจุดเส้นชัยที่บริเวณสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา ที่เป็นไฮไลท์สุดท้ายที่เมืองเชียงรายมีความภูมิใจในการนำเสนอ เพื่อเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา” ผู้บริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าว
คุณจักรกฤษณ์ เอ่งฉ้วน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน เผยว่า ลำพูน เป็นเมืองสงบ เมืองสะอาด และเมืองแห่งวัฒนธรรมล้านนาที่ พร้อมต้อนรับนักวิ่งทั่วประเทศในเข้ามาสัมผัส และซึมซับความเป็นเมืองลำพูนที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปีประกอบกับในห้วงเวลาของการแข่งขัน เป็นช่วงฤดูหนาว และเป็นช่วงที่มีอากาศดีที่สุดในช่วงปี จึงขอเชิญชวนให้นักวิ่งทั่วประเทศได้เข้าร่วมในงานนี้ซึ่งถือเป็นสนามฮาล์ฟมาราธอนระะดับประเทศ ซึ่งก็เป็นความภาคภูมิใจของเมืองลำพูนอย่างยิ่ง
“ส่วนไฮไลท์ของการวิ่งในสนามที่ลำพูน จะเริ่มจากจุดปล่อยตัว และจุดเส้นชัย ที่หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย ถือเป็นไฮไลท์ที่สุดของงานนี้ รวมถึงในเส้นทางการวิ่งจะพาดผ่านไปยังสถานที่สำคัญๆเชิงประวัติศาสตร์ อาทิ สะพานดำ (รถไฟ), กู่ช้างกู้ม้า, วัดมหาวัน, วัดพระยืน, วัดสันป่ายางหลวง, วัดช่างฆ้อง, วัดศรีบุญเรือง, วัดหัวขัว, คูเมือง, อนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี เป็นต้น ซึ่งถือวิ่งเป็นเส้นทางการแข่งขันวิ่งที่มีอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาของเมืองลำพูน เป็นตำนานที่ไม่เหมือนใครในโลก รวมถึงชุมชนระหว่างทางที่จะออกมาต้อนรับนักวิ่งจากทั่วประเทศตลอดทาง ก็ถือว่าเป็นเส้นทางการแข่งขันเอกลักษณ์ที่ผนวกการแข่งขันวิ่งมาราธอนแบบสากลกับความเป็นล้านนา” คุณจักรกฤษณ์ เอ่งฉ้วน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน กล่าว
คุณสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และ การท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เผยว่า พื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีความพร้อมให้การต้อนรับนักวิ่งจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสถานที่สำคัญบริเวณพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว), สนามหลวง, วัดราชนัดดา, วัดสระเกศ,ถนนราชดำเนิน, เวทีมวยราชดำเนิน, สะพานมัฆวาน, สะพานพระราม 8, ศาลหลักเมือง, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และอื่นๆซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดระดับโลก ที่นักวิ่งจากทั่วประเทศ และทั่วโลกจะได้มีโอกาสดื่มด่ำประวัติศาสตร์ของเมืองหลวง ที่ชื่อว่ากรุงเทพมหานครที่งานวิ่ง Umay+ Bangkok Midnight Marathon 21.1 2022 ที่ได้เป็นสื่อในการถ่ายทอดความสวยงามของกรุงเทพมหานครในทุกๆปี
“อยากจะขอเชิญนักวิ่งทั่วไทย และทั่วโลกได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์บนพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ และพื้นที่ใกล้เคียงของกรุงเทพมหานครที่เป็นสถานที่สำคัญของโลก มาช่วยกันถ่ายทอดภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผ่านงานวิ่ง Umay+ Bangkok Midnight Marathon 21.1 2022ในปีที่ 5 ในวันอาทิตย์ที่ 11 ธ.ค.นี้ ตามรายงานพยากรณ์อากาศ สำหรับในคุณสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และ การท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เผยทิ้งท้าย