ใจที่ไม่ยอมแพ้! "หมอเนตร" เผยเบื้องหลัง "ทัดดาว" ก่อนหายเจ็บคืนทีมชาติ (ภาพ)
ควันหลงหลังจากที่ "ทัพนักตบลูกยางสาวไทย" ต้องยุติเส้นทางในการแข่งขัน วอลเลย์บอลหญิง ชิงแชมป์โลก 2022 ไว้ที่รอบสอง ถือเป็นอีกหนึ่งทัวร์นาเมนต์ที่พวกเธอสร้างความสุข และรอยยิ้มให้กับแฟนๆ ชาวไทยเป็นอย่างมาก
ซึ่งกว่าที่พวกเธอจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนก้าวถึงอันดับ 13 ในการแข่งขัน รวมถึงปราบบรรดาทีมชั้นนำของโลกได้ ต้องบอกว่า "สาวไทย" ต้องทุ่มเทแรงกาย และแรงใจฝึกซ้อมอย่างหนัก
แถมในรายของ "แนน" ทัดดาว นึกแจ้ง นักวอลเลย์บอลสาวทีมชาติไทย ที่โชคร้ายได้รับบาดเจ็บหนักในการแข่งขัน วอลเลย์บอล เนชั่นส์ ลีก เมื่อเดือนมิถุนายน จนต้องพักรักษาตัว และกลับมาฟิตร่างกายจนสามารถหวนกลับมาลงเล่นในรายการชิงแชมป์โลกได้สำเร็จ
ซึ่งเรื่องนี้ "หมอเนตร" ทิพย์รัตน์ แก้วใส นักกายภาพประจำทีมวอลเลย์บอลสาวไทย ได้ออกมาเปิดใจถึงเรื่องนี้ว่า "โพสต์นี้ขอโพสต์ถึงนักกีฬาคนเก่ง คนแกร่ง อีกคนที่ฝ่าฟันทั้งปัจจัยการบาดเจ็บ ทั้งทางกายและทางใจ"
หลังจากที่ แนน ได้รับบาดเจ็บแบบ rare case กระดูก transverse process ของ lumbar spine ร้าวหลายระดับเพราะของกล้ามเนื้อ iliopsoas กระชากตรงจุดเกาะอย่างรุนแรง (mri and ct scan) แนน ได้พักฟื้นที่โรงพยาบาลปิยะเวทในการรักษาภาวะอักเสบ และการร้าวของกระดูก ขอบคุณทางโรงพยาบาลปิยะเวท และแพทย์ในทีมวอลเลย์บอลและผู้ใหญ่ทุกฝ่ายที่จัดการกานรักษาขั้นแรกให้ แนน เป็นอย่างดี
หลังจากออกโรงพยาบาลเรามีเวลา 6 อาทิตย์สำหรับการฟื้นฟูนักกีฬาให้ทันและพร้อมที่สุดในการแข่งขันชิงแชมป์โลกเดินทางวันที่ 20 ก.ย. 2022 โปรแกรมของ แนน แน่นไปด้วยโปรแกรมเวทเทรนนิ่งที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับภาวะบาดเจ็บที่หลัง,โปรแกรมฟื้นฟูฯเพื่อเตรียมซ้อม skill และระบบทีม ในโปรแกรมฟื้นฟู ประกอบด้วย mobility, flexibility, neuromuscular activity, core stability, strengthening - functional exercise และเข้าซ้อมสกิลพื้นฐานทางวอลเลย์บอล
2 week แรก แนน ต้องมี progress อะไรบ้าง, 4 week แนน ต้อง progress อะไรเพิ่ม, 6 week แนน ต้อง progress อะไรเพื่อเข้าสู่ performance ของนักกีฬาและสามารถนำตัวเองไปสู่ high performance ของตัวเอง
แทบทั้งวันที่ แนน ต้องเดินวนฝึกที่ตึกวิทย์ห้องกายภาพบำบัด, ห้องพยาบาล, ห้องเวท, ห้องสรีระ, ห้องซ้อมตัวเอง ต้องขอบคุณทุกงานทุกฝ่ายของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่เอื้อเฟื้อและดูแลนักกีฬาไปด้วยกันค่ะ
ในระหว่างทางที่ต้องเพิ่ม mobility ของ spine แนน ก็ติดโควิดก็ต้องทำออนไลน์กัน แนน ถึงได้รู้ว่าหลังแข็งมากและความยืดหยุ่นหายไปหมด เราปรับให้ แนน ฝึก isokinetic ของกล้ามเนื้อขาในช่วง 2 อาทิตย์แรกที่เวทเพราะไม่อยากให้การเวทช่วงล่างส่งผลต่อหลังที่ยังแข็งๆแน่นๆอยู่555 ช่วงที่พี่ไม่อยู่ก็ได้นักกายภาพท่านอื่นคอยช่วยในโปรแกรมที่พี่ให้ไว้ผ่านไปด้วยดีทั้งน้องป๊อบและน้องเฟิร์น รวมไปถึงงานกายภาพบำบัดของ กกท. ขอบคุณมากๆขอบคุณมากๆนะคะ
การฝึก mobility ช่วงแรกเราฝึก front-back line และ lateral line จนน้องทำได้ดี ส่วนที่ยากที่สุดของ แนน คือท่าที่ แนน บาดเจ็บมาคือ transvers plane หรือการ rotation ลำตัว การล้มหมุนตัวไปดีเฟนซ์บอล สมองมันจำว่าการเคลื่อนที่แบบนี้ทำให้เจ็บ ตัว แนน แข็งไปหมด หมุนตัวด้านซ้ายไม่ได้ เราต้องประคองและช่วยไกด์ให้จน แนน รู้ว่าทำได้ ไม่เจ็บแล้ว ใช้ท้องsuckเข้าตลอดเวลา
เราดีใจมากๆที่เห็น แนน เริ่มซ้อมระบบกับทีมทั้งรับและบุก จนมาข้อเท้าพลิกก่อนเดินทางอาทิตย์นิดๆ นักกายภาพบำบัดใจสลาย ทีมใจสลาย นักกีฬาก็ใจสลาย55555 เอาว่ะ...มาสู้ต่อเว้ย
โชคดีที่เป็นการบาดเจ็บgrade I ด้วยเครื่องมือที่ช่วยในเรื่อง healing processได้รวดเร็วกว่าเมื่อก่อนทำให้ แนน ลงน้ำหนักเต็มๆเท้าวันที่ 5 และก็เริ่มกระโดด(อีกครั้ง)ได้ภายหลังจากข้อเท้าพลิกแต่ยังมีข้อติด(จากหลังส่วนล่างที่ติดเพราะบาดเจ็บและนอนพักฟื้นเปลี่ยนมาข้อเท้าติดเพราะข้อเท้าพลิก555555) ตอนนั้นมันเห็นถึงความหนักแน่น, มั่นคง, แหละทะเยอทะยานของ แนน ว่าจะทำให้ได้ มันไม่มีข้อสงสัยในตัวเองเลยว่าทำไปทำไมวะ ทำไมอุปสรรคเยอะจังวะ " แนน มีแค่หนูไม่เจ็บมุมนี้แล้ว หนูขอกระโดดดูนะคะ วิ่งได้แล้วค่ะ...."
ข้อเท้า แนน เคลื่อนที่ได้เต็มช่วงจากทุกมุมวันที่ 13 หลังบาดเจ็บก่อนแข่งกับตุรกี 1 วัน คุณหมอมาตรวจร่างกายในส่วนที่บาดเจ็บทั้งหลังและข้อเท้าก่อนแข่ง วันที่แข่งใจก็ตุ๊บๆว่า แนน จะยืนระยะได้มั้ย และในที่สุด แนน ก็ทำได้และทำให้เห็นว่าร่างกายมันไม่ทรยศใคร การซ้อมมันไม่ทรยศใคร ทำอะไรไว้ก็ได้ในสิ่งที่ทำ ขอบคุณทุกความพยายามและความกล้าหาญของ แนน ต่อนักกายภาพบำบัดที่ทะเยอทะยานในโปรแกรมคนนี้นะคะ พี่รู้ว่าทั้งเหนื่อยทั้งยากแต่ แนน ทำได้จริงๆ หมดทุกข์หมดโศกแล้วนะคะ ต่อแต่นี้ขอให้เจอแต่สิ่งที่ดีและนิสัยที่เข้มแข็งนี้นำพา แนน ไปจุดหมายที่ตัวเองตั้งใจให้ได้ หนูเก่งมากๆเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
อัลบั้มภาพ 53 ภาพ