คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมนักกีฬาถึงชอบ "กัดเหรียญ" โชว์กล้อง?

คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมนักกีฬาถึงชอบ "กัดเหรียญ" โชว์กล้อง?

คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมนักกีฬาถึงชอบ "กัดเหรียญ" โชว์กล้อง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงเวลาที่ความพยายามออกผลกลายเป็นความสำเร็จในฐานะนักกีฬา คือช่วงเวลาที่พวกเขาสามารถชนะรางวัลและได้ขึ้นยืนบนโพเดียม

เสียงเพลงชาติบรรเลง พร้อมเหรียญทองที่ห้อยคออย่างภาคภูมิใจ และทันใดที่เพลงชาติจบ นักกีฬาทุกคนจะต้องทำในสิ่งที่เรียกว่า "ท่าบังคับ"

ใช่เเล้ว พวกเขาโพสต์ท่ากับช่างภาพด้วยการ "กัดเหรียญ" รับรองว่า 9 ใน 10 ครั้ง ไม่เคยพลาดท่านี้แน่นอน

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เรื่องที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่กลับมีอะไรซ่อนอยู่ กับคำถามที่ว่า ทำไมนักกีฬาถึงต้องกัดเหรียญทอง?
gettyimages-2159759018-594x59คําตอบต้องย้อนกลับไปเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว สมัยที่การพิสูจน์ว่าทองคำที่ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนกันเป็นทองคำแท้หรือไม่ คนยุคนั้นจะใช้ฟันกัดที่ทอง เพราะทองคำแท้จะมีความแข็งไม่มาก ถ้าใช้ฟันกัดก็จะเกิดรอยฟัน

แต่ถ้าเป็นทองปลอม ทองผสมเหล็ก หรือผสมทองแดง หรือทองชุบ จะแข็งมาก กัดไม่เข้า ไม่เกิดรอย นักกีฬาที่ได้เหรียญทองที่ผ่านๆ มาจึงทำท่ากัดเหรียญทอง เป็นการล้อเลียนว่าต้องการพิสูจน์ว่าเหรียญทองโอลิมปิกว่าเป็นทองจริงหรือเปล่า

ประกอบกับวินาทีนั้นบรรดาช่างภาพที่ถ่ายรูปจะตะโกนขอให้นักกีฬาทำท่ากัดเหรียญทอง ซึ่งถือเป็นช็อตเด็ดที่ช่างภาพต้องการ นั่นคือที่มาของการกัดเหรียญทองของนักกีฬา

แล้ว เหรียญทองโอลิมปิก เป็นทองคำจริงหรือเปล่า? ... คำตอบคือ มีทั้งทองจริง และทองไม่จริง
gettyimages-2164171966-594x59โอลิมปิกสมัยโบราณ ที่ประเทศกรีก เมื่อหลายพันปีก่อน รางวัลที่นักกีฬาได้จากการแข่งขันนั้นไม่ใช่เหรียญรางวัล แต่เป็นใบมะกอกจากเมืองโอลิมเปีย (Olympia) สานเป็นวงกลมหรือทรงเกือกม้า สวมบนศีรษะของผู้ชนะเหมือนเป็นมงกุฎ โดยใบมะกอกสานนี้ให้กับนักกีฬาที่ได้ที่ 1 คนเดียวเท่านั้น เพราะสำหรับชาวกรีก มะกอกเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพและความหวัง

จนกระทั่งในการแข่งขันโอลิมปิกปี 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จึงมีการมอบเหรียญรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะเป็นครั้งแรก โดยมอบเหรียญรางวัลพร้อมกับมงกุฎใบมะกอกและประกาศนียบัตร

ที่น่าสนใจก็คือ นักกีฬาที่ได้ที่ 1 ตอนนั้น ได้เหรียญเงิน, ที่ 2 ได้เหรียญทองแดง, ที่ 3 ไม่ได้เหรียญรางวัล

ในการแข่งขันโอลิมปิกปี 1904 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิซซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเริ่มให้เหรียญทอง, เงิน และทองแดง ให้กับที่ 1, ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
gettyimages-1719785471-594x59มาในการแข่งขันโอลิมปิกปี 1904, 1908 และ 1912 เหรียญทองโอลิมปิกทำด้วยทองคำแท้ แต่เป็นเหรียญทองขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเหรียญ 10 บาทไทย และนับตั้งแต่โอลิมปิกปี 1916 เหรียญทองโอลิมปิกก็ไม่ได้ทำด้วยทองคำแท้อีกต่อไปเพราะต้นทุนสูงมาก

ดังนั้น เหรียญทองโอลิมปิกที่เห็นในปัจจุบันมีทองคำผสมอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ไม่มากนัก โลหะหลักที่ใช้ผลิตเหรียญทองโอลิมปิกคือโลหะเงิน ราคาโดยเฉลี่ยเหรียญทองมีมูลค่าราว 15,000-20,000 บาท

ย้อนกลับไปเรื่องที่ว่า ทำไมนักกีฬาต้องกัดเหรียญ? ถ้าเอาตามความจริงของยุคนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ว่าทองแท้หรือไม่แท้ มันก็น่าจะง่ายจนเหลือเชื่อ เพราะคำตอบก็คือ "เพราะมันเท่" แค่นั้นเลย

ครั้งแรกที่ปรากฏภาพ "กัดเหรียญ" นั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่เท่าที่เว็บไซต์อย่าง CNN ได้หาเจอ คือภาพทีมนักวิ่ง 4 คูณ 100 เมตรของสหราชอาณาจักร ที่กัดเหรียญของพวกเขาในรายการชิงแชมป์โลก (World Championships) เมื่อปี 1991 ที่กรุงโตเกียว
olympicmedalbite005เมื่อเราเอาช่วงเวลาของปี 1991 มาค้นให้ลึกและสืบไปถึงเรื่องของวงการกล้องและการถ่ายภาพ เราจะพบว่ามันมีความสัมพันธ์กัน เพราะในช่วงเวลานั้น บริษัท Kodak ได้นำกล้อง Kodak DCS-100 ออกวางจำหน่าย  Kodak ได้ให้การนิยามในการเรียกเม็ดสีแต่ละเม็ดของภาพดิจิทัลว่า "พิกเซล" (Pixel) โดยขนาดของไฟล์ภาพของกล้องรุ่นนี้อยู่ที่ 1.3 เมกะพิกเซล กล้องดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูงและมีเป้าหมายชัดเจนที่จะจำหน่ายให้กับช่างภาพมืออาชีพและนักข่าว

นั่นจึงทำให้เราสามารถไขรหัสได้ 1 ข้อเเล้วว่า ที่พวกเขากัดเหรียญ ก็เนื่องจากความเท่ในการโพสท่าให้กับตากล้องในยุคที่ภาพถ่ายกำลังเป็นของที่ไม่ได้มีกันทุกคน ดังนั้น ครั้งหนึ่งในชีวิตของนักกีฬาที่ชนะรางวัลแล้วได้รับเหรียญ การจะให้พวกเขายืนนิ่ง ยิ้มมุมปาก เหมือนถ่ายรูปทำบัตรประชาชน มันก็คงจะไม่เท่เท่าไรนัก การแอ็กชันด้วยท่ากัดเหรียญจึงถือเป็นการทำท่าให้ช่างภาพได้ภาพที่แตกต่าง และ "อาจจะ" สื่อความได้ว่า "พวกเขากำลังลิ้มรสชาติของชัยชนะ"

เดวิด วัลเลชินสกี สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ International Society of Olympic Historians บอกกับ CNN ไว้ในปี 2012 ถึงมุมมองของเขาว่า การกัดเหรียญไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการทำให้ตากล้องพอใจ และได้ภาพสวยๆเท่านั้นเอง
gettyimages-2164815592-594x59"มันเป็นความหลงใหลของภาพถ่ายมากกว่า ผมคิดว่าพวกเขาเข้าใจตรงกันว่านี่เป็นช็อตที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของความสำเร็จ มันเป็นภาพที่แปลกใหม่ยิ่งกว่าการยืนตัวตรงหรือเอาเหรียญคล้องคอ"

"ผมคิดว่าเรื่องขององค์ประกอบภาพจากมุมมองของตากล้องมีผลมากๆ และคิดว่านักกีฬาคงไม่อยู่ๆก็อยากจะทำท่านี้ขึ้นมาเองหรอก" วัลเลชินสกี กล่าว

สรุปโดยง่ายๆคือ นักีฬากัดเหรียญก็เพื่อที่จะให้ได้ภาพถ่ายสวยๆ ไปลงในหน้าข่าวกีฬา หรือหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการกัดเหรียญมันทำให้ภาพออกมาดูดีจริงๆ ทำให้ตอนนี้มันอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปแล้วว่า นักกีฬาต้องกัดเหรียญ หลังจากได้เหรียญรางวัลในการแข่งขันโอลิมปิกกันเป็นเรื่องปกติ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมนักกีฬาถึงชอบ "กัดเหรียญ" โชว์กล้อง?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook