แถลงการณ์จาก สหพันธ์แบดมินตันโลก "น้องเมย์" รัชนก "เคลียร์และคลีน"

แถลงการณ์จาก สหพันธ์แบดมินตันโลก "น้องเมย์" รัชนก "เคลียร์และคลีน"

แถลงการณ์จาก สหพันธ์แบดมินตันโลก "น้องเมย์" รัชนก "เคลียร์และคลีน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF)  ได้ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ "bwfbadminton.com"  ถึงผลการตัดสินกรณีการตรวจพบสารกระตุ้นของ "น้องเมย์" รัชนก อินทนนท์  

โดยประกาศดังกล่าวมีข้อความว่า

18 ก.ค. 2558  

คณะกรรมการการไต่สวนการใช้สารต้องห้าม (BWF Doping Hearing Panel) พิจารณาให้ รัชนก อินทนนท์ พ้นจากข้อกล่าวหาการละเมิดกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สารต้องห้าม (Anti-Doping Rule Violation) และ BWF ได้เพิกถอนคำสั่งในการระงับการร่วมกิจกรรมทางกีฬาแบดมินตันของ "รัชนก อินทนนท์" เป็นการชั่วคราว ตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อ 4 วันก่อน โดยให้มีผลในทันที

คำตัดสินให้พ้นจากข้อกล่าวหานี้ มีขึ้นหลังจากที่มีการพิจารณาโดยเร่งด่วน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เพื่อพิจารณาว่า "รัชนก อินทนนท์" กระทำความผิดในการละเมิดกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับการใช้สารต้องห้ามหรือไม่ หลังจากตรวจพบสารต้องห้ามในปัสสาวะของ รัชนก อินทนนท์ ที่ได้เก็บตัวอย่าง ไปเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2559 ในการแข่งขันแบดมินตัน "โธมัส คัพ และ อูเบอร์ คัพ" ที่เมือง คุนซาน ประเทศจีน

โดยมีการตรวจพบสาร Triamcinolone Acetonide is a Class S9. Glucocorticoid  ในตัวอย่างปัสสาวะของ รัชนก อินทนนท์

ซึ่งสารดังกล่าวนี้เป็นสารต้องห้ามใน WADA Prohibited Substance List 2016  ที่ องค์กรนานาชาติเพื่อต่อต้านการใช้สารกระตุ้นในวงการกีฬา (WADA) ไม่อนุญาตให้ใช้ในช่วงแข่งขัน ถ้าสารนี้ไม่ถูกให้โดยผ่านทางปาก ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ฉีกเข้ากล้ามเนื้อ และทางทวารหนัก

ประวัติทางการแพทย์ และบันทึกจากการรักษาของ รัชนก อินทนนท์ ถูกส่งต่อให้คณะกรรมการไต่สวนพิจารณาในการไต่สวนเร่งด่วนทางวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

โดยหลักฐานเหล่านี้ ประกอบกับคำให้การจากพยานผู้เชี่ยวชาญ ทำให้คณะกรรมการไต่สวนแล้ว มีความเห็นว่า สารนี้ถูกนำมาใช้รักษาอาการบาดเจ็บนักกีฬา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 ก่อนการแข่งขัน ซึ่งเป็นการรักษาต่อเนื่อง และสารนี้ได้ถูกฉีดเข้าเส้นเอ็น เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของนักกีฬา

ดังนั้นคณะกรรมการไต่สวนได้ประชุมปรึกษา และมีความเห็นพ้องต้องกันว่า "การฉีดสารนี้เข้าทางเอ็นเป็นการรักษาอาการบาดเจ็บของ รัชนก อินทนนท์ ซึ่งเป็นวิธีการให้สารที่ไม่ต้องห้าม จึงไม่เป็นการผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้สารต้องห้าม"

รัชนก อินทนนท์ และสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการตรวจสอบบพสารต้องห้าม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 นักกีฬาถูกสั่งห้ามทำกิจกรรมใดทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับแบดมินตันเป็นการชั่วคราว ตามกฎข้อบังคับของ BWF Anti-Doping มาตรา 7.9.3 จึงเป็นที่มาของกระบวนการไต่สวน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook