ส.บอล ประกาศบทลงโทษ "เหตุปะทะท่าเรือ-เมืองทองฯ"
บทลงโทษของคณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาท สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประจำวันที่ 20 กันยายน 2559 กรณีการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้า ลีกคัพ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559 ระหว่าง สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี
ตามรายงานของผู้ควบคุมการแข่งขัน ภาพเหตุการณ์ที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ และ ข้อมูลการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตารวจ สภ. เมืองปากเกร็ด ในการแข่งขันฟุตบอล รายการโตโยต้า ลีกคัพ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559 ระหว่าง สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี สามารถลำดับเหตุการณ์ได้ ดังนี้
1.หลังจบการแข่งขัน สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด เข้ารอบชิงชนะเลิศด้วยประตูรวม 3-2 ต่อ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี มี จานวน กองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ประมาณ 8,300 คน และ จานวนกองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี จานวนประมาณ 540 คน โดยที่นั่งของกองเชียร์ทั้งสองสโมสร ถูกจัดแยกอยู่คนละอัฒจันทร์ มีช่องว่างเป็นพื้นที่ปลอดภัยห่างกันประมาณ 20-30 เมตร
2.หลังจบการแข่งขัน สโมสรการท่าเรือ เอฟซี เริ่มส่งเสียงด่าทอสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และมีการขว้างปาสิ่งของไปยัง อัฒจันทร์ฝั่งกองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่อยู่ติดกัน จนนางนวลพรรณ ล่าซา ประธานสโมสรการท่าเรือ เอฟซี ต้องเข้าไป ห้ามปราม เหตุการณ์จึงยุติลงชั่วคราว
3.เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนตามแผนรักษาความปลอดภัย ได้กาหนดให้ กองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ออกจากสนามก่อนเพื่อ เดินทางกลับ ส่วนกองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ให้รออยู่ในสนามก่อน จนกระทั่งกองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี เดินทาง กลับหมดแล้ว โดยตามแผนกาหนดเส้นทางกลับ ให้รถกองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี เลี้ยวขึ้นทางด่วนตรงแยกเดาใจ เพื่อให้กองเชียร์ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ออกจากสถานที่จัดการแข่งขัน และแยกจากกองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด โดยเร็วที่สุด หลังจากนั้น จึงจะให้กองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ออกจากสนามได้
4.ระหว่างการเดินทางออกจากสนามของกองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี มีการด่า ท้าทาย ตอบโต้กันระหว่างกองเชียร์ ทั้งสองฝ่าย กองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่เป็นกลุ่มฮาร์ดคอร์ฝ่าฝืนปีนรั้วออกจากสนามไปก่อน ไม่ยอมรอจนกองเชียร์ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี เดินทางขึ้นทางด่วนกลับออกไปจนหมดตามแผนรักษาความปลอดภัย ฝั่งกองกองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี รถยนต์ของกองเชียร์ซึ่งนาขบวน เมื่อเดินทางมาถึงทางขึ้นทางด่วนตรงแยกเดาใจ ก็หยุดรถ ไม่ยอมขึ้นทางด่วนไปต่อ ขณะนั้นกองเชียร์ สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ก็ตามไปบริเวณแยกเดาใจ รวมตัวกันอยู่ห่างจากกลุ่มกองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ที่ทางขึ้นทาง ด่วนประมาณ 20-30 เมตร กองเชียร์ทั้งสองฝ่ายมีการด่าทอและขว้างปาสิ่งของ ขว้างปาพลุ ใส่กัน ขณะนั้นกองเชียร์กลุ่มฮาร์ดคอรข์ อง ทั้งสองทีมก็ได้เข้าทาร้ายกันและกัน เจ้าหน้าที่ตารวจ รวมถึงเจ้าหน้าทที่ หาร จึงเข้าระงับเหตุ กาลังพลตารวจใช้โล่ผลักดัน มีการใช้เครื่อง ฉีดน้า โดยเหตุการณ์ต่อเนื่องอยู่ประมาณ 20 นาทีจึงสงบลง
5. ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีผู้บาดเจ็บที่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจานวน 4 ราย (บาดเจ็บสาหัส 1 ราย บาดเจ็บธรรมดา 3 ราย) และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยในเหตุการณ์อีกกว่า 20 ราย มีทรัพย์สินราชการเสียหาย คือ รถยนต์เจ้าหน้าที่ตารวจ 1 คัน และ รถจักรยานยนต์เจ้าหน้าที่ตารวจ 3 คัน
ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในฐานะสโมสรทีม เหย้า รวมถึง กองเชียร์ของสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และ กองเชียรสโมสรการท่าเรือ เอฟซี มีความผิดในเหตุการณ์ข้างต้น
จึงอาศัยความตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 2 เรื่อง การลงโทษการกระทาผิดกฎ กติกา และมารยาท ข้อ 4 บท ทั่วไป กาหนดว่า “หากโทษที่กาหนดไว้ในระเบียบการลงโทษนี้ไม่ครอบคลุมถึงความผิดในกรณีอื่นที่เกิดขึ้นในภายหลังที่ออกระเบียบนี้ เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทของ “สมาคม” จะกาหนดขึ้นโดยนาระเบียบของ“ฟีฟ่า”หรือ “เอเอฟซี” มาบังคับ ใช้โดยอนุโลม” ดังนั้น จึงอาศัยข้อบังคับฯของ FIFA Disciplinary Code section 9 ข้อ 65 Organisation of matches และ ข้อ 67 Liability for spectator conduct “กาหนดความรับผิดของสโมสรต้นสังกัดที่จะต้องรับผิดต่อพฤติกรรมของกองเชียร์สาหรับการกระทา ที่ไม่เหมาะสม อาจถูกปรับขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อาจมีการลงโทษเพิ่มเติมในกรณีของการก่อความวุ่นวายร้ายแรง” ซึ่งไม่ได้กาหนดเฉพาะ ว่าต้องเป็นการกระทาภายในสถานที่แข่งขันเท่านั้น
นอกจากนั้น จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์มีที่มาจากความไม่พอใจของกองเชียร์ทั้งสองสโมสรซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ยังอยู่บน อัฒจันทร์อันเกิดตั้งแต่ภายในสถานที่จัดการแข่งขันอย่างชัดเจน จุดเกิดเหตุ (แยกเดาใจ) ก็เป็นจุดเกิดเหตุจุดเดิมกับเมื่อ พ.ศ.2557 ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากสนามแข่งขัน และยังเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของสโมสร เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ตารวจ สภ.เมืองปากเกร็ด และ กาลังฝ่ายทหาร กาหนดไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยให้เป็นจุดเสี่ยง (แผนเผชิญเหตุ การแข่งขัน ฟุตบอล โตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2016-2017 ของ สภ.ปากเกร็ด) เพราะเป็นจุดที่เคยเกิดเหตุบ่อยครั้ง ดังนั้น เหตุการณ์ทา ร้ายร่างกายครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันตั้งแต่ในสนามแข่งขันไปจนถึงนอกสนามแข่งขันที่เป็นสถานที่เกิดเหตุ
1.ลงโทษ กองเชียร์สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และ กองเชียร์สโมสรการท่าเรือ เอฟซี
1.1 มีความผิดตามตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ ข้อ 4.10 ก่อการทะเลาะวิวาทกับกองเชียร์ทีมเหย้า หรือทีมเยือน ใน สถานที่จัดการแข่งขัน องค์กรสมาชิกต้นสังกัดของกองเชียร์ที่ก่อเหตุ จะถูกปรับเงินสโมสรละ 100,000 บาท เนื่องจากเป็นการแข่งขัน ฟุตบอลรายการโตโยต้า ลีกคัพ ค่าปรับลดเหลือหนึ่งในสาม คงเหลือจานวนสโมสรละ 33,333 บาท แต่เนื่องจากกองเชียร์ทั้งสองสโมสร กระทาการผิดซ้าซาก ไม่เข็ดหลาบและกลับมากระทาผิดซ้าอีก จึงเห็นควรพิจารณาเพิ่มโทษ ตามที่กาหนดไว้ในข้อ 4.10 ประกอบกับ บท กาหนดโทษในบทที่ 3 หมวดที่ 1 ข้อ 2 ลักษณะโทษของทีมหรือองค์กรสมาชิก ข้อ ข. ปรับเงิน จึงให้ปรับเงินเพิ่มอีกสโมสรละ 100,000 บาท รวมพิจารณาลงโทษปรับเงินสโมสรละ 133,333 บาท
1.2. มีความตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 1 ข้อ 2 ลักษณะโทษของทีมหรือองค์กรสมาชิก ข้อ ค. เล่นโดยไม่อนุญาตให้กองเชียร์ เข้าสนาม ประกอบกับข้อบังคับของฟีฟ่าฯ (FIFA Disciplinary Code) section 9 ข้อ 65 และ 67 พิจารณาลงโทษดังนี้
1.2.1 ห้ามกองเชียร์ทั้งสองสโมสร เข้าชมการแข่งขัน ในทุกนัดที่เหลืออยู่ที่สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จัดการแข่งขันของ ฤดูกาล 2559
1.2.2 ห้ามกองเชียร์ทั้งสองสโมสร เข้าชมการแข่งขัน ในทุกรายการที่สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จัดการแข่งขัน ในฤดูกาล 2560 เฉพาะนัดแข่งขันที่ สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แข่งขันกับ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ไม่ว่าจะทาการแข่งขันในสนามแข่ง ขันใดและรายการใดก็ตาม
2.ลงโทษ สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในฐานะสโมสรทีมเหย้า
2.1 มีความผิดตามระเบียบฯ ข้อ 5.3.17 ความบกพร่องด้านการรักษาความปลอดภัยในวันแข่งขัน เนื่องจากสโมสร เอสซี จี เมืองทอง ยูไนเต็ด มีความบกพร่องในการรักษาความปลอดภัย เพราะไม่สามารถดาเนินการให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยที่ กาหนดได้ ฝ่ายรักษาความปลอดภัยไม่สามารถควบคุมกองเชียร์ของสโมสรให้อยู่ในสนามจนกว่ากองเชียร์ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี เดินทางออกจากสนามจนขึ้นทางด่วนตามที่แผนกาหนด จนเป็นเหตุให้มีการทาร้ายร่างกายกันของกองเชียร์ทั้งสองสโมสร ดังนั้น จึงเห็น ว่า สโมสร เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด มีความผิดตามข้อ 5.3.17 ความบกพร่องด้านการรักษาความปลอดภัยในวันแข่งขัน ข้อ ข. “ไม่ สามารถป้องกันหรือระงับเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทาสถานที่จัดการแข่งขันไม่ว่ากรณีใด ๆก็ตามและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภาพลบ ต่อการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ องค์กรสมาชิกที่เป็นทีมเหย้า จะถูกปรับเงิน 100,000 บาท” เนื่องจากเป็นการแข่งขันฟุตบอล รายการ โตโยต้า ลีกคัพ ค่าปรับลดเหลือหนึ่งในสาม คงเหลือปรับเงินจานวน 33,333 บาท
2.2 มีความตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 1 ข้อ 2 ลักษณะโทษของทีมหรือองค์กรสมาชิก ข้อ ง. ประกอบกับข้อบังคับของฟีฟ่าฯ (FIFA Disciplinary Code) section 9 ข้อ 65 และ 67 เนื่องจากในการใช้สนามเอสซีจี สเตเดี้ยม เป็นสนามเหย้า ขาดมาตรฐาน ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย ทาใหม้ ีเหตุการณ์ทาร้ายร่างกายของกองเชียร์ในบริเวณสนามเอสซีจี สเตเดี้ยม เกิดขึ้นหลายครั้ง อาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ทาร้ายร่างกายของกองเชียร์ขึ้นได้อีก
จึงเห็นควรห้าม สโมสร เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ใช้ สนามเอสซีจี สเตเดี้ยม เป็นสนามเหย้า ในทุกรายการที่สมาคมกีฬา ฟุตบอลฯ จัดขึ้นเบื้องต้น เป็นจานวน 5 นัด ติดต่อกัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กันายน 2559 เป็นต้นไป (โดยให้สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด เสนอสนามแข่งขันอื่นมาให้ฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแทน) เพื่อให้ระหว่างระยะเวลานี้ สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไป ดาเนินการปรับปรุงมาตรการและแผนรักษาความปลอดภัยในการ ใช้สนามเอสซีจี สเดตี้ยม ให้ได้มาตรฐาน จัดทาแผนรักษาความ ปลอดภัยการใช้สนามเอสซีจี สเตเดียม ในฐานะสนามทีมเหย้า เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ และสมาคมกีฬาฟุตบอล แห่งประเทศไทยฯ พิจารณาตรวจสอบและรับรองแผนรักษาความปลอดภัยดังกล่าว หากคณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เห็นชอบตามแผนดังกล่าว จึงจะอนุญาตให้สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ใช้สนามเอสซีจี สเตเดียม ในฐานะทีมเหย้าตามปกติต่อไป
สรุปบทลงโทษแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
1. ห้ามกองเชียร์ทั้งสองสโมสรเข้าชมเกมตลอดฤดูกาล 2559 ทุกรายการ ที่ถูกจัดขึ้นโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
2. ฤดูกาล 2560 หากมีการพบกันระหว่างสโมสรเมืองทอง และ ท่าเรือ ห้ามกองเชียร์ทั้งสองทีมเข้าชมเกมการแข่งขัน
3. โทษปรับอยู่ในข้อบังคับ 4.1 ปรับได้สูงสุด 1 แสนบาท แต่เป็นบอลถ้วยให้ลดเหลือ 1 ใน 3 คือ 33,333 บาท แต่คณะกรรมการสามารถเพิ่มโทษให้อีกกรณีเกิดเหตุหลายครั้งแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท ฉะนั้นโทษปรับทั้งสองทีม 133,333บาท
4. ลงโทษเมืองทองห้ามใช้สนามของตัวเองจัดการแข่งขัน 5 นัด รวมทุกรายการ และให้เสนอแผนรักษาความปลอดภัยขึ้นมาใหม่ ถ้าผ่านเกณฑ์เกณฑ์สามารถกลับมาใช้ได้ หากไม่ผ่านต้องเสนอแผนใหม่ โดยจะเริ่มตั้งแต่การตัดสินในวันนี้ (ไม่รวมนัดที่เมืองทองพบกับบีบีซียู เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา)
5. ปรับเงินสโมสรเอสซีจี เมือทอง ยูไนเต็ด ในฐานะเจ้าบ้านอีก ปรับได้สูงสุด 1 แสนบาท แต่เป็นบอลถ้วยให้ลดเหลือ 1 ใน 3 คือ 33,333 บาท รวมแล้วสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ถูกปรับเงินจำนวน 166,666 บาท