ส.ขนไก่ไทยลดโทษผจก.แกรนด์นูลาร์-บดินทร์

ส.ขนไก่ไทยลดโทษผจก.แกรนด์นูลาร์-บดินทร์

ส.ขนไก่ไทยลดโทษผจก.แกรนด์นูลาร์-บดินทร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมาคมขนไก่ไทย มีมติลดโทษ ผจก.สโมสร แกรนนูล่าร์ แค่ภาคทัณฑ์ พร้อมยกโทษให้ บดินทร์ อิสสระ

คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในที่ประชุมฝ่ายพิจารณา
โทษทางวินัย ของสมาคมฯ เกี่ยวกับกรณีอุทธรณ์คำสั่งลงโทษของสมาคมฯจากกรณี นายเจน ปิยะทัต ผู้จัดการ
และผู้ฝึกสอนของสโมสรแบดมินตันแกรนนูล่าร์ หลังจากบทลงโทษ ในกรณีชกต่อยของนัก 2 แบดมินตันชายไทย มณีพงศ์ จงจิตร และ บดินทร์ อิสสระ ที่ทำเรื่องงามหน้า ต่อยกันกลางสนามแข่งในเกมนัดชิงชนะเลิศ แคนาดา โอเพ่น 2013 ที่ประเทศแคนาดา โดยห้ามควบคุมนักกีฬาไปแข่งขันทุกรายการ เป็นเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ในฐานะความผิดไม่สามารถควบคุมนักกีฬาในสังกัดของตน จากนั้นมีการอุทธรณ์ในบทลงโทษด้วยสาเหตุ การตัดสิทธิ์ในการเป็นผู้ฝึกสอนเป็นเวลาหกเดือน เป็นเวลาที่ยาวนานมากเกินไป

ล่าสุด มติในที่ประชุมสรุปข้อพิจารณาการอุทธรณ์มีดังนี้

1. คำสั่งลงโทษของสมาคม ไม่ได้มีคำสั่งลงโทษห้ามเป็นผู้ฝึกสอน แต่มีคำสั่งห้ามเป็นผู้ควบคุมทีมไปแข่งทุกรายการ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นเวลา 6 เดือน ข้ออุทธรณ์ไม่ตรงกับคำสั่งลงโทษ คำว่าผู้ควบคุมทีม กับผู้ฝึกสอน มีความหมายไม่เหมือนกัน และมีสถานะแตกต่างกัน หากพิจารณาคำสั่งของสมาคมฯ ตามตัวอักษรและตามเจตนารมณ์ นายเจน ยังสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนได้ ทั้งยังสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาของตนในต่างประเทศได้ด้วย แต่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมทีมไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม แปลเจตนาของผู้อุทธรณ์ได้ว่า ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษการห้ามเป็นผู้ควบคุมทีมด้วย คณะกรรมการจึงเห็นควรรับวินิจฉัยให้


2. คำสั่งลงโทษของสมาคมรุนแรงหรือหนักเกินไปหรือไม่ โดยหลักการ ผู้ใดเป็นผู้ลงมือกระทำความผิด ผู้นั้นต้องได้รับโทษหรือผลของการกระทำนั้น นายเจน ไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด ตามหลัก ไม่ควรต้องได้รับโทษ แต่ถูกลงโทษเพราะเหตุไม่สามารถควบคุมนักกีฬาในสังกัดของตนได้ จึงต้องพิจารณาว่า นายเจน ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นหรือไม่ เมื่อพิจารณาเหตุผลในอุทธรณ์แล้ว นายเจน ยอมรับว่าก่อนการแข่งขันทราบดีว่า นักกีฬาในสังกัดมีปัญหาส่วนตัวกับคู่กรณีมาก่อน แสดงว่า นายเจน ทราบความขัดแย้งของนักกีฬาทั้งสองมาก่อนเกิดเหตุ แต่มีข้ออ้างว่าใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว คือก่อนการแข่งขันอบรมนักกีฬาให้ตั้งสติอยู่ในเกมการแข่งขันให้มากเป็นพิเศษระหว่างแข่งขัน

-พูดจาให้สติแก่นักกีฬาตลอดเวลา
-พยายามเดินประกบอยู่ข้างหลังนักกีฬาตลอดเวลา
-เหตุการณ์เกิดขึ้นเร็วมาก ตั้งตัวไม่ทัน
-เมื่อเกิดเหตุ พยายามระงับเหตุและยับยั้งนักกีฬาของตนด้วยการคว้าแขนในจังหวะแรกที่นักกีฬา ฝ่ายตนจะเหวี่ยงหมัดใส่นักกีฬาอีกฝ่าย ทำให้หมัดพลาดเป้าไป แต่นักกีฬาฝ่ายตนแข็งแรง ทำให้ไม่สามารถจับตัวไว้ได้ จึงมีภาพการไล่ทำร้ายกัน แต่ในที่สุดตนก็ใช้ความพยายามจับตัวนักกีฬาไว้ได้ เหตุการณ์จึงยุติ

ทั้งนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาเหตุผลในอุทธรณ์ที่ยกขึ้นอ้างประกอบภาพบันทึกเหตุการณ์ ในขณะเกิดเหตุ เห็นว่ามีความสอดคล้องกัน และเห็นว่า นายเจน ได้ใช้ความพยายามที่จะระงับเหตุอย่างยิ่งยวดจริง แต่มีข้อติงคือ เมื่อทราบว่า นักกีฬาทั้งสองฝ่ายมีความขัดแย้งกัน ก็น่าจะเชิญนักกีฬาทั้งสองฝ่าย ตลอดจนผู้จัดการ ผู้ควบคุม ผู้ฝึกสอนมาพูดคุยปรับความเข้าใจกัน ก็จะเป็นหนทางที่ป้องกันเหตุไม่ให้เกิดขึ้นได้ จึงเห็นว่า นายเจน มีส่วนบกพร่องตรงนี้ แต่เมื่อพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว คณะกรรมการเห็นว่า นายเจน ได้ใช้ความระมัดระวังแล้ว แต่ยังใช้ไม่เพียงพอตามวิสัยและพฤติการณ์ ประกอบกับได้รับโทษมาบางส่วนแล้ว จึงเห็นควรให้ภาคทัณฑ์ไว้ เพื่อเป็นการปรามหรือคาดโทษไว้ว่า อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

ส่วนกรณีของ บดินทร์ อิสสระ ที่บทลงโทษ ห้ามแข่งขันทุกรายการ ทั้งในและต่างประเทศเป็นเวลาสองปี นับแต่
วันที่ 27 ก.ค. เป็นต้นไป ในความผิด 5 ข้อหา (ข้อหาร้ายแรงที่สุดคือทำร้ายร่างกาย) และมีการยื่นอุทธรณ์ว่า การตัดสิทธิ์ห้ามแข่งขันเป็นเวลา 2 ปี ยาวนานมากเกินไปห รือลงโทษหนักเกินไป ทางสมาคมได้สรุปข้อพิจารณาดังนี้

1. การกระทำของ นายบดินทร์ อันเป็นเหตุให้ถูกสมาคมฯ ลงโทษ ปรากฎว่า BWF ได้ลงโทษ นายบดินทร์ มีสาระสำคัญเช่นเดียวกัน คือห้ามลงแข่งขันเป็นเวลา 24 เดือน นับแต่วันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นวันเกิดเหตุเป็นต้นไป และถูกลงโทษโดยสโมสรที่ตนสังกัดอีกทางหนึ่ง โดยสรุป นายบดินทร์ ถูกลงโทษเพราะเหตุการกระทำเดียวกันถึง 3 ครั้ง และ 3 องค์กรคือ สมาคมฯ BWF และสโมสร

2. หลักการพิจารณาและตัดสินโทษแก่บุคคลผู้กระทำความผิด มีหลักการอันเป็นสาระสำคัญว่า "การกระทำความผิดครั้งเดียว ต้องได้รับการพิจารณาและถูกลงโทษเพียงครั้งเดียว" หลักนี้เป็นหลักสากล มีอยู่ในหลักกฎหมายของทุกประเทศ ไม่ว่าประเทศนั้น ๆ จะใช้ระบบกฎหมายในระบบ Common Law หรือ Civil Law ก็ตาม

3. เมื่อหลักการการพิจารณาและลงโทษแก่การกระทำความผิดเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการจึงเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปวินิจฉัยเนื้อหาในอุทธรณ์ของ นายบดินทร์ และโทษที่สมาคมฯ ลงไปนั้นหนักเกินไปหรือไม่

4. เมื่อคำสั่งลงโทษขัดกับหลักการดังกล่าว คือทั้งคำสั่งของสมาคมฯ และของ BWF ซ้ำซ้อนกัน และโทษที่ลง
เหมือนกัน ประกอบกับสมาคมฯ ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกเพิกถอนคำสั่งลงโทษของ BWF
ได้ ทางแก้ไขของสมาคมฯ เท่าที่สามารถทำได้ก็คือ "งดการบังคับโทษ" ตามคำสั่งลงโทษของสมาคมฯ ไว้ คือไม่บังคับโทษตามคำสั่งลงโทษ “ก็จะคงเหลือโทษที่นายบดินทร์ที่จะต้องรับ เพียงคำสั่งลงโทษของ BWF” เท่านั้น ก็จะสอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

5. ผลของการงดการบังคับโทษ ตามคำสั่งลงโทษของสมาคมฯ คือ คำสั่งลงโทษยังคงอยู่ ไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอนไป เพียงแต่ไม่นำมาบังคับเท่านั้น เพื่อรักษาหลักการไม่ให้มีการลงโทษที่ซ้ำซ้อนกัน และที่ไม่ยกเลิกเพิกถอน เพราะกระบวนการพิจารณาและตัดสินโทษของสมาคมฯไม่มีการกระทำอะไรที่เป็นความผิด เป็นการกระทำตามขั้นตอน และตามข้อบังคับของสมาคมฯ ทั้งเป็นการพิจารณาและตัดสินก่อน BWF อีกด้วย และเพื่อเป็นการยืนยันว่า สมาคมฯ ก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ นายบดินทร์ และเห็นว่าการกระทำนี้เป็นความผิด จึงให้คงคำสั่งลงโทษไว้ แต่ไม่นำมาบังคับ เพราะขัดกับหลักการดังกล่าวข้างต้น ขณะที่ มณีพงศ์ ไม่ได้ยื่นอุทรณ์ จึงโดนโทษแบนจากสมาคมแบดมินตันฯ เป็นเวลา 3 เดือน ตามนั้น

อนึ่ง สำหรับบทลงโทษของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ที่ได้ยืนบทลงโทษแบนตามสมาคมแบดมินตันของไทย โดย บดินทร์ จะถูกโทษแบนเป็นเวลา 2 ปี ขณะที่ มณีพงศ์ โดนโทษแบนเป็นเวลา 3 เดือน นอกจากนี้ ทาง BWF ยังได้ยึดคะแนนอันดับโลก พร้อมเรียกคืนเงินรางวัลรองแชมป์ แคนาดา โอเพ่น ของ บดินทร์ คืน




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook