มหกรรม"ฟุตบอลโลก" ฟีฟ่ารับเละ เหนาะๆ1แสนล้านบาท ฝ่ายเจ้าภาพหนี้บานเบอะ

มหกรรม"ฟุตบอลโลก" ฟีฟ่ารับเละ เหนาะๆ1แสนล้านบาท ฝ่ายเจ้าภาพหนี้บานเบอะ

มหกรรม"ฟุตบอลโลก" ฟีฟ่ารับเละ เหนาะๆ1แสนล้านบาท ฝ่ายเจ้าภาพหนี้บานเบอะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฟุตบอลโลกเป็นมหกรรมกีฬาที่ใช้เม็ดเงินมหาศาล ทั้งยังเป็นโอกาสทองทางธุรกิจของผู้สนับสนุน ธุรกิจรับพนันฟุตบอล ที่พัก ร้านอาหาร และร้านค้าต่างๆ

ปัจจุบันรายได้ร้อยละ 90 ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า มาจากการจัดแข่งขันฟุตบอลโลก เช่น ในฟุตบอลปี 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ฟีฟ่าได้รับเงินจากการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด และสินค้าฟุตบอลโลก เป็นเงินถึง 3.5 พันล้านบาท หรือ ราว 1.1 แสนล้านบาท

ฟีฟ่ามีแต่รายรับ ขณะที่ประเทศเจ้าภาพกลับมีรายจ่ายมากมหาศาล

การจัดฟุตบอลโลกมีแต่จะเพิ่มขึ้นในทุกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศบราซิลทุ่มงบประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.1 แสนล้านบาท ในการสร้างสนามใหม่ และบูรณะสนามเก่า

สำหรับกาตาร์ที่จะเป็นเจ้าภาพในปี2022คาดว่าจะทุ่มงบถึง 1.4 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 4.4 ล้านล้านบาท สร้างระบบขนส่งมวลชน รองรับฟุตบอลโลก

ทุ่มไปขนาดนี้ ไม่รู้ "กาตาร์"จะได้สิทธิเป็นเจ้าภาพหรือเปล่า เนื่องจากมีข่าวอื้อฉาวกรณีมีการให้สินบนประเทศสมาชิกของฟีฟ่าเพื่อลงโหวตเสียงให้กาตาร์

นอกจากนี้ประเทศเจ้าภาพมักประสบปัญหาการเงินเนื่องจากการจัดงาน เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ ติดหนี้จากการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 เป็นเงินเกือบ 3 พ้นล้านดอลลาร์ หรือ ราว 9.6 หมื่นล้านบาท

แฟนบอล จะมีค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เช่น ห้องพักทั่วไปราคา 460 ดอลลาร์ หรือราว 14,720 บาท สำหรับตั๋วชมฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายราคา 1,000 ดอลลาร์ หรือ ราว 32,000 บาท

ในส่วนของนักฟุตบอล ทีมชาติที่เข้าแข่งขัน จะมีค่าใช้จ่ายในของส่วนนักฟุตบอล เช่น ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ ค่าใช้จ่ายสำหรับทีมรักษาความปลอดภัย และที่พักรวมถึงบริการชั้นหนึ่งสำหรับนักฟุตบอล

สำหรับทีมชาติที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก จะได้รับเงินรางวัลอย่างน้อย30ล้านดอลลาร์หรือราว960 ล้านบาทจากฟีฟ่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook