เจอที่ไหนใส่ที่นั่น : ขุดจุดกำเนิดความบาดหมางฮูลิแกน "อังกฤษ vs รัสเซีย"

เจอที่ไหนใส่ที่นั่น : ขุดจุดกำเนิดความบาดหมางฮูลิแกน "อังกฤษ vs รัสเซีย"

เจอที่ไหนใส่ที่นั่น : ขุดจุดกำเนิดความบาดหมางฮูลิแกน "อังกฤษ vs รัสเซีย"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ถ้าพวกแกอยากจะได้สงครามเราจะจัดให้ เรามันพวกเลือดนักสู้อยู่แล้ว ถึงเดือนมิถุนายนนี้เมื่อไหร่สงครามจะไม่ได้เป็นแค่บทเพลงแน่นอน" กลุ่มฮูลิแกนรัสเซียโพสต์ข้อความต้อนรับแกมข่มขู่ผู้มาเยือนจากอังกฤษในฟุตบอลโลก 2018 อันเป็นเหตุที่ทำให้ฟีฟ่าเจ้าหน้าที่เพ่งเล็งความเคลื่อนไหวของพวกเขาเป็นพิเศษ

ประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลฟุตบอลมีแฟนฟุตบอลที่ขึ้นชื่อลือชาในด้านความอริเจอกันเมื่อไหร่ใส่กันเมื่อนั้นนั่นคือ รัสเซีย กับ อังกฤษ ทั้งสองฝั่งอยู่ในความสัมพันธ์แบบ "ต่อยก่อนถามทีหลัง" และบางครั้งก็เล่นกันถึงตาย

เหตุใดที่ 2 ประเทศที่นานๆจะเจอกันในสนามสักครั้งต้องคับอกแค้นใจกันถึงเพียงนี้ มันมีจุดเริ่มต้นมากจากจุดไหน ติดตามพร้อมกับ Main Stand ที่นี่

พวกข้ามาจากประวัติศาสตร์
ฮูลิแกน คือกลุ่มอันธพาลที่มีเวลาและมีเงินมากพอที่จะตามทีมชาติของพวกเขายามไปแข่งขันตามที่ต่างๆ พวกเขามักจะตั้งธงการไปดูฟุตบอลอย่างชัดเจนว่าจะเป็นการประกาศศักดา มากกว่าการไปเชียร์ทีมรักเหมือนกับคนส่วนใหญ่

เดนิน นิคิติน กลุ่มแฟนบอลหัวรุนแรงชื่อว่ากลุ่ม "นีโอรัสเซีย" เผยว่าเขาใช้เวลาไปเชียร์ฟุตบอลนัดหนึ่งคิดเป็นระยะเวลาเกือบ 1 วันเต็ม และเรื่องที่แปลกคือเขาเข้ากลุ่มนี้มาเป็น 10 ปี แต่กลับเคยเข้าไปชมเกมในสนามเพียงแค่ 5 ครั้งเท่านั้น อีกทั้งแทบจะไม่เคยซื้อตั๋วเข้าชมด้วยเงินของตัวเองเลย นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนว่าพวกเขามาเพื่ออะไร

ขณะที่ประเทศอังกฤษนั้น มีฟุตบอลเคียงคู่กับสังคมมาอย่างยาวนาน ดังนั้นประวัติศาสตร์ของกลุ่มแฟนบอลอันธพาลจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคปี 1880 หรือสมัยเริ่มแรกฟุตบอลลีกอาชีพ จากฟุตบอลท้องถิ่นที่มีความขัดแย้งกันอยู่แล้วจึงทำให้มีความรุนแรงนับตั้งแต่วันนั้น ทว่าส่วนใหญ่มักไม่เกิดขึ้นระหว่างแฟนบอล ปะทะ แฟนบอล เพราะในยุคนั้นการเดินทางยังลำบาก หากจะต้องมีใครเจ็บตัวจากความไม่พอใจของฮูลิแกนก็มักจะเป็นกรรมการและผู้เล่นฝั่งทีมเยือนมากกว่า

www_thenational_ae
อย่างไรก็ตาม ฮูลิแกน เป็นเหมือนลัทธิที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แฟนบอลของแต่ละสโมสรล้วนมีกลุ่มที่เรียกว่า ฮูลิแกน อยู่เสมอและทวีความเข้มข้นและสร้างชื่อในต่างแดนมากขึ้นในยุค '70 เป็นต้นมา เหตุการณ์ที่สามารถนำมาอ้างอิงได้คือเหตุที่แฟนบอลของ ลีดส์ ยูไนเต็ด ที่เดินทางไปยัง ปารีส เพื่อชมเกมชิงชนะเลิศยูโรเปี้ยน คัพ ในปี 1975 ที่พบกับ บาเยิร์น มิวนิค แต่พวกเขากลับก่อจราจลหลังการแข่งขันจบ จนลีดส์โดนแบนจากสโมสรยุโรปไปหนึ่งปี ถัดมาอีกสองปี ถึงคราวแฟนบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ไปอาละวาดทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขันกับ แซงต์-เอเตียน ในศึกคัพ วินเนอร์ส คัพ 1977-78 และปีศาจแดงก็โดนแบนไปอีกเช่นกัน

เหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่ฮูลิแกนอังกฤษก่อขึ้นคือเมือปี 1985 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "โศกนาฎกรรมเฮย์เซล" ณ เฮย์เซล สเตเดี้ยม ประเทศเบลเยียม โดยในเกมนั้นเป็นเกมชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ ที่ ลิเวอร์พูล จะต้องเจอกับ ยูเวนตุส

เรื่องดังกล่าวขึ้นเพราะสภาพสนามที่แสนทรุดโทรม นอกจากนี้ยังมีมาตรการการป้องกันที่ติดลบ ฝ่ายจัดมีเจ้าหน้าที่มาคอยกั้นระหว่างแฟนบอลสองฝั่งเพียงหลักสิบเท่านั้น นอกจากนี้สิ่งที่ช่วยกันชั้นที่สองยังเป็นเพียงลูกกรงที่แค่พร้อมใจกันเขย่าก็พร้อมจะหักคามือแล้ว ในเกมนั้นแฟนลิเวอร์พูลไปเยอะกว่ายูเวนตุส และเมื่อพวกเขาถูกขว้างปาสิ่งของข้ามฝั่งมาใส่ ก็ได้เวลาที่จะฉายแสงความเป็นขาใหญ่และมีประวัติศาสตร์ในหมู่กองเชียร์ทั่วยุโรป

พวกเขาฝ่าด่านเจ้าหน้าที่และเข้าไปรุมสกรัมใส่แฟน ยูเวนตุส และชาวอิตาเลี่ยนอื่นๆที่เข้ามาเชียร์ต้องวิ่งหนีตายจนสุดท้ายก็มีภาพการหนีเอาชีวิตรอดด้วยการวิ่งมากระจุกเบียดเสียดกันจนอัฒจรรย์ถล่มลงมาและทำให้มีแฟนบอลถึง 39 ชีวิตที่ต้องจากไปอย่างไม่มีวันกลับ

000_arp2457445
หลังจากเกิดเหตุสลดทางการเบลเยี่ยมได้มีการจับกุมและตัดสินจำคุกแฟนบอลลิเวอร์พูล 14 คนเป็นเวลา 3 ปี โทษฐานก่อเหตุรุนแรงในนัดนี้ ส่วนทางยูฟ่าและฟีฟ่า ตัดสินใจลงโทษแบนสโมสรฟุตบอลจากอังกฤษ ไม่ให้ลงแข่งขันในเกมยุโรปแบบไม่มีกำหนด ขณะที่ลิเวอร์พูลจะถูกแบนมากกว่าทีมอื่นอีกสามปี ก่อนที่ยูฟ่าชี้ขาดสุดท้ายในเดือนเมษายน 1990 ให้ทีมจากอังกฤษโดนแบนไปทั้งสิ้น 5 ฤดูกาล นับจากวันที่ก่อเหตุ ส่วนลิเวอร์พูลทีมต้นเหตุโดนแบนไป 6 ซีซั่นด้วยกัน

แม้จะโดนปรับและลงโทษรุนแรงจนข้ามเรื่องของกีฬา ทว่าลัทธิฮูลิแกนยังคงถูกปลูกฝังและไม่ได้หายไปไหนเลย กลุ่มฮูลิแกนยังมีความเชื่อว่าพวกเขาคือผู้แข็งแกร่งที่สร้างความน่าเกรงขามให้กับคู่แข่งจึงทำให้มีการสืบทอดกันไปแบบรุ่นต่อรุ่น ไม่ว่าจะไปที่ไหนพวกเขาจะโดนเจ้าหน้าที่จับตาอยู่เสมอ

แฟนฮูลิแกนจากหลากหลายสโมสรมีความภาคภูมิใจในความดุดันของตัวเอง พวกเขาจะรวมตัวกันเมื่อมีเกมทีมชาติเพื่อแสดงพลังและแนวคิด หากเจอคู่แข่งที่ไม่มีเรื่องมีราวก็ดีไป แต่ถ้าเจอกับคู่แข่งที่ฮึดฮัดก็ต้องถือว่าเข้าทางกลุ่มฮูลิแกนของอังกฤษ พวกจะคิดในใจเสมอเมื่อมีใครที่อยากจะลองของว่า ... ก็มาดิครับ!

ผู้ท้าทาย
ฝั่งรัสเซียแผ่นดินใหญ่นั้น แม้จะมีกลุ่มฮูลิแกนมาตั้งแต่สมัยยังเป็นสหภาพโซเวียต แต่การก่อตัว “กลุ่มฮูลิแกนระดับประเทศ” อย่างเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนเพิ่งจะมีขึ้นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จุดกำเนิดของแฟนบอลกลุ่มอันธพาลนี้มาจากเมืองหลวงอย่าง มอสโก โดยมีการรวมตัวกันของฮูลิแกนจากหลายสโมสร อย่าง สปาร์ตัก มอสโก, โลโกโมทีฟ มอสโก, CSKA มอสโก, ดินาโม มอสโก และ ตอร์ปีโด มอสโก เป็นต้น

000_arp2457442
พวกรัสเซียมีดีเอ็นเอความเป็นนักสู้อยู่ในตัว ถึงแม้หลังจากการล่มสลายของโซเวียตในยุค '90 ทีมฟุตบอลของพวกเขาจะไม่เก่งกาจหากเทียบกับทีมหัวแถวอย่างสเปน, ฝรั่งเศส, เยอรมัน หรือ อังกฤษ แต่เรื่องศักยภาพการเชียร์ของแฟนบอลรัสเซียนั้นถือว่ามีความโหดดุดันไม่แพ้ใคร

ที่แดนหมีขาวการไปเชียร์ฟุตบอลนั้นจริงจังมากโดยเฉพาะในเกมทีมชาติหรือตามทัวร์นาเม้นต์ใหญ่ระดับทวีป พวกเขาจะรวมพลังกันแสดงจุดยืนของความแข็งแกร่ง ฟังดูอาจจะคล้ายแนวคิดของกลุ่มฮูลิแกนอังกฤษ แต่ว่าที่แห่งนี้เอาจริงเอาจังมากกว่า การออกไปประกาศศักดาแต่ละครั้งพวกเขาไม่ได้ไปแบบไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์รุนแรงเลย ฮูลิแกน ของรัสเซียพึงระลึกเสมอว่าจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ตลอด จนถึงขั้นก่อตั้งเป็นสมาคมแฟนบอลที่ชื่อว่า All-Russian Fans Association

วัฒนธรรมการเชียร์บอลระดับเข้าเส้นดังกล่าว ถูกเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมรองของ รัสเซีย ที่ถูกเรียกในวงการว่า "Okolofutbola" หรือแปลได้ว่า "เรื่องอื่นที่นอกเหนือจากแค่ฟุตบอล" โดยกลุ่ม "ARFA" นั้นจะมีการคัดเลือกเด็กหนุ่มสายเลือดใหม่เข้าร่วมตลอดเวลา มีกฏที่ชัดเจน และมีตำแหน่งที่ทรงเกียรติ โดยจะมีการเข้าแคมป์ฝึกฝนการต่อสู้ทั้งในป่าและยิม ซึ่งเป็นการฝึกจัดวางกำลังพลอย่างเข้มข้น  และทุกคนในกลุ่มนี้รู้ว่าพวกเขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง

“ไม่สำคัญเลยว่าคุณจะมาจากเมืองไหน หรือเชียร์ทีมอะไร แต่ที่สำคัญคือ เราทั้งหมดมาจาก รัสเซีย" วลาดิเมียร์ ผู้ไม่ประสงค์บอกนามสกุล แสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของกลุ่มแฟนบอลแดนหมีขาวกลุ่มนี้

000_19q0be
เอ็งแจ๋วเหรอ?
ชื่อเสียงของ ฮูลิแกนรัสเซีย เริ่มโด่งดังขึ้นในฐานะนักเลงมืออาชีพ มีคลิปวีดีโอการปะทะการของแฟนฮูลิแกนของแต่ละสโมสรในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพวกเขามีสไตล์การเข้าปะทะที่แตกต่างกับอันธพาลที่อื่นๆอย่างชัดเจน

สไตล์ที่ว่าคือการรวมกลุ่มกันเป็นทีมก่อน และระหว่างทั้งสองทีมจะมีการนัดแนะสถานที่ที่จะเข้าปะทะกัน และเมื่อมีการบวกกันแล้วหากมีใครก็ตามในกลุ่มที่ล้มลงพวกเขาจะไม่ซ้ำเด็ดขาด และการต่อสู้จะดำเนินต่อไปจนกว่าคนสุดท้ายของฝั่งจะล้มลง ซึ่งนี่คือวิธีการที่แฟนบอลสายหัวรุนแรงต่างชื่นชอบในความ "แมน" ของกลุ่ม ARFA นี้

นั่นคือสิ่งที่ฮูลิแกนอังกฤษไม่ค่อยสบอารมณ์นัก พวกเขาคิดว่าตัวเองคือต้นตำรับความเป็นฮูลิแกน และมันอยู่ในกมลสันดานของเบอร์ 1 ของทุกวงการ นั่นคือเมื่อมีใครก้าวเข้ามาเทียบรัศมีมันก็ถึงช่วงเวลาที่พวกเขาจะแสดงจุดยืนว่า "อย่ามาซ่า ข้าคือเบอร์ 1" โอกาสดีเดินทางมาถึงจนได้ในฟุตบอลยูโร 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศส ที่มือดีเจ้ากรรมจับฉลากมาให้ อังกฤษ จะต้องเจอกับ รัสเซีย ในเกมนัดเปิดสนามของทั้งสองทีม

hooligan
ณ ลานเบียร์แห่งหนึ่งที่ประเทศฝรั่งเศส แฟนบอลจากอังกฤษแห่แหนกันมาแบบมืดฟ้ามัวดินเพราะ อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส มีพรมแดนติดกันใกล้เพียงนิดเดียว และเป็นธรรมดาที่เมื่อคนหมู่มากมารวมตัวกันพวกเขารู้สึกมีพลังมากขึ้น

กองเชียร์อังกฤษ พฤติกรรมเป็นเอกลักษณ์ก็คือ ต้องเมา และเมาหนักเยอะมาก พวกเขาแทบจะดื่มตลอดเวลาตั้งแต่ก่อนเชียร์บอล พออยู่รวมกลุ่มกันแล้วก็ร้องเพลงเต้นกันอย่างสนุกสนานโดยไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่ว่าจะไปนั่งร้านไหนก็ยึดร้านนั้นเป็นสถานที่ของตนเอง และมันเริ่มกันตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน เมื่อแฟนบอลอังกฤษก่อเรื่องวิวาทตามคาด เพียงแต่พวกเขาไม่ได้วิวาทกับแฟนบอลทีมไหน แต่เป็นการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของฝรั่งเศส จนทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการรุนแรงทั้ง สเปรย์พริกไทย,แก๊สน้ำตา และรถฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อทลายกลุ่มฮูลิแกนเลือดร้อนเหล่านี้

000_bo5uo
เช้าวันถัดมาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ทั่วยุโรปบ่งชี้ไปทิศทางเดียวกันว่า "ฮูลิแกนอังกฤษก่อเรื่องอีกแล้ว" แม้มันจะเป็นเรื่องที่น่าเอือมระอาของคนหมู่มากที่ต้องการมาดูฟุตบอล และอาจจะโดนสังคมต่อว่ากล่าวขาน แต่มันกลับทำให้กลุ่มฮูลิแกนแดนผู้ดีรู้สึกว่าตัวของพวกเขานั้นได้ประกาศศักดาในยูโร 2016 เป็นชาติแรก ราวกับจะบอกให้โลกรู้ว่า "ทีมชาติอังกฤษ" มาเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการแล้ว

วันเช็คบิล
3 วันหลังจากการป่วนการแข่งขันยูโร 2016 ของทีมชาติอังกฤษ ก็เป็นช่วงเวลาที่อังกฤษจะต้องเจอกับ รัสเซีย แล้ว กลุ่มแฟนบอลปกติทั่วไปต่างตื่นเต้นที่จะได้ไปเยือนเกมเปิดสนามของชาติตัวเอง เพียงแต่ว่าสำหรับบางกลุ่มเกมเปิดสนามนัดนี้เป็นเหมือนระฆังยกแรกต่างหาก

7503174-3x2-940x627
แฟนหัวรุนแรงของรัสเซียจะมาแปลกเหมือนกับพวกตัวละครลับ คนกลุ่มนี้จะไม่ใส่เสื้อเชียร์หรือชุดที่มีสัญลักษณ์ของทีมชาติรัสเซีย พวกเขาจะโผล่มาในชุดสบายๆอย่างเสื้อยืดและกางเกงขาสั้น ไม่สังเกตไม่รู้ว่ามีจุดประสงค์อะไร แต่พวกเขารู้ดีแก่ใจว่างานนี้มาเพื่อเก็บโจทก์

"พวกอังกฤษบอกตัวเองอยู่เสมอว่าตัวเอง คือ ฮูลิแกนของแท้ และเบอร์ 1 ของวงการฟุตบอล แต่เราจะไปทักทายพวกเขาเพื่อบอกให้รู้ว่าแฟนบอลอังกฤษ มันก็แค่พวกแก๊งที่รวมตัวกันของพวกเก่งกับผู้หญิงเท่านั้นแหละ” วลาดิเมียร์ กล่าวกับสื่อ AFP

เกมนัดแรกที่ เวโลโดรม เริ่มได้ไม่นานแฟนรัสเซียก็ประกาศสงครามด้วยการจุดแฟลร์ และกระโดดข้ามฝั่งเข้าไปซัดกับแฟนบอลอังกฤษอย่างถึงลูกถึงคน ภาพที่ปรากฎคือแฟนบอลรัสเซียทั้งวางแข้ง และใช้อุปกรณ์หลายรูปแบบอัดใส่แฟนบอลอังกฤษจนแตกฮือ เหตุการณ์ดำเนินไปจนครบสูตรทั้งก่อนเกม,ระหว่างเกม และหลังเกม ณ ตอนนี้ฮูลิแกนรัสเซียประกาศตัวตนอย่างชัดเจนว่าพวกเขาก็มาถึงฝรั่งเศสแล้วเช่นกัน ด้วยการไล่ซัดกับฮูลิแกนของอังกฤษถึง 2 คืนติดๆ ณ กรุงมาร์กเซย

7503000-3x2-940x627
"จลาจลที่มาร์กเซยคืนนั้นรุนแรงที่สุดในชีวิตการทำงาน 10 ปีของผม" มาร์ค โรเบิร์ต เจ้าหน้าที่พัวพันกับการปราบจลาจลยืนยันถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2016

ณ เมืองลีลล์ แฟนบอลอังกฤษนับร้อย รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว บริเวณผับแห่งหนึ่ง ร้องตะโกนว่า "เราเกลียด รัสเซีย" และถ้อยคำที่ทำให้จี๊ดใจแบบไม่หยุดหย่อน เมื่อนั้นก็ได้เวลาที่ ฮูลิแกน รัสเซีย จะต้องออกโรงตามไปติดๆ พวกเขาจัดการสั่งสอนแฟนอันธพาลของอังกฤษ ทว่าผลที่ตามคือทั้งสองฝั่งต่างโดนเจ้าหน้าที่กวาดล้างและใช้มาตรการรุนแรงจนเลือดตกยางออก  

เหตุการณ์บานปลายขึ้นจนกระทั่งสหพันธ์ฟุตบอลยุโรปหรือ ยูฟ่า ออกมาตรการขั้นเด็ดขาดว่าหากทั้งสองฝ่ายต่างยังดื้อดึงที่จะแสดงความรุนแรงละปั่นป่วนการแข่งขัน ทั้งอังกฤษและรัสเซียก็จะโดนขับออกจากทัวร์นาเม้นต์ดังกล่าวทันที เรื่องดังกล่าวจึงเบาบางลงไปมาก และการแข่งขันก็ดำเนินได้ต่อไป

คู่กัดตลอดกาล
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ฮูลิแกนอังกฤษและรัสเซียกลายเป็นคู่ปรับเบอร์ 1 ของกันและกันตั้งแต่นั้นมา และแปรเปลี่ยนไปไม่ใช่แค่เรื่องกีฬาอีกแล้ว

england-v-russia-fans-4
ฝั่ง บีบีซี ของอังกฤษ จัดการทำสารคดีสาวไส้ฮูลิแกนรัสเซีย ด้วยการให้ฮูลิแกน 2 คนใส่ผ้าปิดหน้าและสวมหมวกเพื่อเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนบอลกฤษกว่า 100 ชีวิตต้องได้รับบาดเจ็บที่ยูโร 2016 นอกจากนี้ยังมีแฟนบอลที่ถึงขั้นโคม่าอีก 2 คนด้วย พวกเขานำเสนอความรุนแรงของฝั่งรัสเซียออกมาอย่างเต็มทีและกล่าวอ้างถึงว่า รัฐบาลรัสเซียให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง อันมีจากสาเหตุการเมืองระหว่างทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

เหตุการณ์ดูจะน่าสงสัยเข้าไปอีกเพราะการทะเลาะวิวาทครั้งนั้นดันมีความเห็นจาก อิกอร์ เลเบเดฟ หนึ่งในบอร์ดบริหารของสมาคมลูกหนังรัสเซีย ที่ให้สัมภาษณ์ว่าเขาชื่นชมการกระทำของแฟนรัสเซียและมองว่าแฟนบอลกลุ่มนี้ปกป้องศักดิ์ศรีของชาติ

"ผมไม่เห็นอะไรเลวร้ายในการต่อสู้ของแฟนบอลนะ ตรงกันข้าม คนของเราทำได้ดีมาก จงทำต่อไป" เลเบเดฟ โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ ในช่วงปี 2012

จากนั้น เลเบเดฟ ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ผ่าน www.life.ru ว่า "แฟนบอลของเรายังห่างไกลกับคำว่าเลวร้าย ผมไม่เข้าใจที่สื่อหลายสำนักพยายามทำลายชื่อเสียงของเราจากการกระทำของแฟนบอล เราต้องมองเรื่องนี้อย่างยุติธรรมแฟนของเราคงไม่มีส่วนกับการยกพวกตีกันบนอัฒจันทร์ หากพวกเขาไม่ถูกแฟนบอลอังกฤษยั่วยุก่อน"

000_bq9zk
การนำเสนอของ บีบีซี ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่พอใจสำหรับแฟนบอลของรัสเซียที่มองว่าเอนเอียงและใช้คำว่า "ความรุนแรงอยู่คู่กับแฟนบอลรัสเซียมาอย่างยาวนาน" ซึ่งคำนี้ทำให้รู้สึกถึงความไม่เป็นกลางเพราะ บีบีซี คือสื่อของอังกฤษเองด้วย

กลุ่มฮูลิแกนรัสเซียตอบโต้ด้วยการทำการขู่การนำเสนอเรื่องราวด้านเดียวของ บีบีซี ด้วยการลุยทำแบนเนอร์ขนาดใหญ่ขึ้นขู่ในเกมลีกของสโมสร สปาร์ตัก มอสโกโดยเป็นแบนเนอร์ชายถือมีดขู่ ทำให้นักข่าว BBC ค่อนข้างเสียขวัญ จนบางส่วนตัดสินใจสละสิทธิ์ไปทำข่าวฟุตบอลโลกที่รัสเซียแล้ว นอกจากนี้ยังออกโรงขู่แฟนบอลอังกฤษที่จะมาเยือนรัสเซียในช่วงซัมเมอร์ปี 2018 จนที่ทางการอังกฤษต้องขอความร่วมมือกับแฟนบอลว่าหากไม่จำเป็นจงอย่าไปฟุตบอลโลกที่รัสเซีย หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ควรทำตัวให้โดดเด่นจนดึงดูดการปะทะจากเจ้าถิ่น

และอย่างที่เราได้ทราบกัน ฟุตบอลโลก 2018 ผ่านไปอย่างราบรื่นไร้เหตุจราจลที่หนักหนาจนถึงขั้นมีการเสียชีวิตระหว่างแฟนบอลของทั้งสองทีม เนื่องจากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างถึงที่สุดทั้งฝ่ายจัดที่ระดมเจ้าหน้าที่มากกว่าเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสมากกว่า 5 เท่า อีกทั้งทางฟีฟ่า ได้ออกกฎและบทลงโทษอย่างแรงกับเหล่าแฟนบอลอันธพาล อาทิ ก่อความวุ่นวาย มีโทษจำคุก 15 วัน, ตั้งตัวเป็นกลุ่มฮูลิแกน มีโทษจำคุก 5 ปีขึ้นไป, ก่อความโกลาหล มีโทษจำคุก 8 ถึง 15 ปี, ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีโทษจำคุก 10 ปีขึ้นไป และ ลักลอบจำหน่ายบัตร มีโทษปรับเงิน 20,600 ยูโรขึ้นไปต่อบัตรหนึ่งใบ

000_17c1mo
เรื่องแนวคิดนั้นห้ามกันไม่ได้ ทั้งสองฝั่งต่างเชื่อว่าความรุนแรงคือคำตอบของการครองความยิ่งใหญ่นอกสนาม แต่กระนั้นเมื่อพวกเขาอาศัยอยู่ที่ใด พวกเขาก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฎิตามกฎอย่างเคร่งครัด และถ้าหากทำไม่ได้ก็มีบทลงโทษรออยู่ตามที่ได้กล่าว

มาถึงตรงนี้ทุกคนต่างมีทางเลือกเป็นคนตัวเอง แม้จะรู้ว่าผิดเต็มประตูโดยไม่ต้องขอความเห็นจากใคร แต่หากพวกเขาคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ถูกต้อง พวกเขาก็จงรับให้ได้ในวันที่โดนจับ, ปรับ หรือดำเนินคดี ถึงตอนนั้นคำว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่อาจใช้ในศาลได้อย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook